รายงานการประชุมภาคีจัดการความรู้ในท้องถิ่น ครั้งที่ ๑๗ (ต่อ)


รายงานการประชุมภาคีจัดการความรู้ในท้องถิ่น - ภาคประชาชน  - ประชาสังคม (ครั้งที่ 17)
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม  2548   เวลา 9.00- 12.00 น.

(ต่อ)

ณ  ห้องประชุม สกว. 2  ชั้น 14   อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ตรงข้าม ททบ. 5 สนามเป้า

ถนนพหลโยธิน  สามเสนใน  กรุงเทพฯ

วาระที่ 3.        เรื่องเพื่อพิจารณา

วาระที่ 3.1        กระบวนการจัดการความรู้ของเครือข่ายแผนแม่บท และความร่วมมือเพื่อพัฒนานักจัดการความรู้ท้องถิ่น (วิทยาลัยการจัดการทางสังคม)

          ดร. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นำเสนอผลการดำเนินงานของวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) ในระยะที่ผ่านมา สรุปได้ว่า ในปี 2547 เกิดชุมชน/เครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีรูปธรรมของการจัดการความรู้ที่เป็นการสืบทอดหลักสูตรท้องถิ่นและเกิดห้องเรียนชุมชนทั้งหมด 40 พื้นที่ โดยมีนักจัดการความรู้เป็นผู้คอยช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้    จากนั้นนำไปเผยแพร่ให้กับสังคม โดยสื่อสารผ่านคน, วิทยุชุมชน และเว็บไซต์ www.thaiknowledge.org  เพื่อการขยายผลต่อไป
ในปี 2548 เกิดความร่วมมือระหว่าง วจส./พอช./เครือข่ายแผนฯ เพื่อนำไปสู่ศูนย์การเรียนรู้แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 3 ภาค คือ ภาคกลาง, ภาคอีสาน และภาคเหนือ เพื่อแก้ปัญหาสังคม ลดความยากจนด้วยวิถีชุมชน ทั้งหมด 36 ตำบล รวมทั้งการได้ชุดความรู้ 3 ชุด   ได้แก่ การถอดองค์ความรู้, ทักษะนักจัดการความรู้ และการจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ซึ่งเมื่อนำไปใช้ก็จะเกิดการขยายผลในแนวราบ
                   สำหรับในปี 2549 จะทำแผนฟื้นฟูชีวิตชุมชน ประมาณ 40 ตำบล เพื่อให้เกิด        นักพัฒนารุ่นใหม่ที่ทำงานบนฐานความรู้ เช่น ความรู้ท้องถิ่น, ความรู้เรื่องโลกาภิวัตน์,   ความรู้รากเหง้าของตัวเองและสังคม และสร้างทางเลือกในการพัฒนา เป็นต้น
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการทำงานของชุมชนเป็นหลัก ชาวบ้านนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้เลย ไม่ต้องรอให้มีข้อสรุปเป็นรูปเล่ม ประกอบกับ วจส. มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ หากต้องการเงินงบประมาณมาทำงานต้องทำโครงการเสนอแหล่งทุน  ซึ่งมีการสนับสนุนงบประมาณเป็นรายปี อย่างไรก็ตาม วจส. จะพยายามเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่ายการทำงานอย่างต่อเนื่อง      
คุณวีระ นิจไตรรัตน์ นำเสนอเพิ่มเติม สรุปได้ว่า วจส. ได้เข้าไปสนับสนุนการสร้างพื้นที่รูปธรรม (ศูนย์การเรียนรู้) 36 ตำบล ใน 3 ภาค คือ ภาคกลาง, ภาคอีสาน และภาคเหนือ โดยใช้โจทย์ว่า ทำอย่างไรให้ 36 ตำบล มีความชัดเจนในเรื่องของการแก้ปัญหาสังคม และลดความยากจนด้วยวิถีชุมชน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ใช้วิธีการถอดความรู้สร้างชุดองค์ความรู้หลักสูตรท้องถิ่น, กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการถ่ายทอด และสร้างนักจัดการความรู้จากแกนนำตำบลอย่างน้อยพื้นที่ละ 5 คน
สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น คือ เกิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแผนแม่บทตำบล เพื่อสร้างนักจัดการความรู้ 180 คน, แผนชุมชน/แผนท้องถิ่นบูรณาการ, ปัจเจก/กลุ่ม/เครือข่ายกิจกรรมลดความยากจน, สื่อเพื่อการเรียนรู้, กระบวนการเรียนรู้สำหรับศูนย์การเรียนรู้, หลักสูตรท้องถิ่นสำหรับสถานศึกษา และชุดองค์ความรู้ลดความยากจน 28 ชุด รวมทั้งเกิดความร่วมมือ และความเชื่อมโยงกับ อบต. 36 แห่ง, โรงเรียน 14 แห่ง ข้าราชการครู และผู้ประสานงาน 17 คน
บทเรียน/ข้อค้นพบจากการดำเนินงานโครงการ คือ องค์ความรู้ชุมชน เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของแต่ละตำบลมีความหลากหลายและมีจำนวนมาก, ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจะเข้มแข็งต้องได้รับการสนับสนุนให้ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง, ชุดความรู้ชุมชนแก้ปัญหาความยากจนเป็นองค์ความรู้เชิงเทคนิค ที่หากร่วมมือกับสถานศึกษา ก็จะสามารถพัฒนาให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นใช้ในการเรียนการสอนได้ โดยชาวบ้าน/แกนนำชุมชนเป็นเจ้าของเรื่อง, เป็นผู้ดำเนินการ, เป็นนักจัดการความรู้, เป็นนักจัดกระบวนการทางสังคม ที่มีทักษะเฉพาะในการจัดการความรู้ชุมชน
ความเห็นที่ประชุมคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ให้ความเห็นว่า นักจัดการความรู้รุ่นใหม่ควรทำงานเป็นเครือข่าย จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น   นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่สำคัญ คือ อาจารย์ที่อยู่ในสถาบันการศึกษาที่ให้ความสนใจและต้องการสนับสนุนให้สร้างนักจัดการความรู้รุ่นใหม่ขึ้นมา   นอกจากนี้ ควรร่วมมือกับ อบต. เพื่อออกแบบหลักสูตรให้มุ่งไปสู่การสร้างคนให้กลับมาพัฒนาท้องถิ่นให้ได้ และจำเป็นต้องมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาเสริมด้วย เช่น มูลนิธิข้าวขวัญ และ มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร เป็นต้น
                ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช  ให้ความเห็นว่า จากประเด็นนักพัฒนาในท้องถิ่นนั้น ทำให้เกิดคำถามว่า นักพัฒนาท้องถิ่นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว กับนักพัฒนาในขณะนี้หรืออีก 5 ปีข้างหน้า ควรจะต่างกันอย่างไร   และได้เสนอว่า นักพัฒนาท้องถิ่นสมัยใหม่ต้องเป็น “คุณอำนวย” เข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้ของชาวบ้าน ไม่ใช่ผู้ที่นำโครงการไปให้ชาวบ้านทำ และคุณอำนวยต้องสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ของชาวบ้านกับสังคมภายนอกได้ โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้เลือกความรู้นั้นเอง
                สำหรับพื้นที่ตะโหมด ไม้เรียง ให้คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด เป็นผู้ประสานงานนัดหมาย และให้ ดร. เพิ่มศักดิ์ ติดต่อกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ. หาดใหญ่ และ มหาวิทยาลัยราชมงคล เพื่อมาร่วมหารือกันในครั้งต่อไป

          นายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง ให้ความเห็นว่า แหล่งทุนต้องปรับแผนการสนับสนุนในเรื่องการให้เงินเดือนเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ รวมทั้งให้เกิดการบูรณาการทำงานในพื้นที่และมุ่งสร้างคุณรุ่นใหม่ไปพร้อมๆ กัน  นอกจากนี้ ต้องมีผู้นำหลายๆ แบบ และต้องมีกลไกกลางในการประสานงานด้วย

                             คุณจันทนา หงษา ให้ความเห็นว่า การพัฒนาคนเป็นเรื่องใหญ่ ต้องคุยกันอย่างจริงจัง และต้องมีแผนระยะสั้น, ระยะกลาง และระยะยาว โดยมีจุดมุ่งหมายว่า จะต้องกลับมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
         
วาระที่ 3.3        เครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ จังหวัดพิจิตร กับการแก้ปัญหาความยากจน
คุณสุรเดช  เดชคุ้มวงศ์ เสนอกรอบแนวคิดพึ่งพาตนเอง เมืองพิจิตร 3 ปี (2548-2550) สรุปได้ว่า จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดมาสู่การพึ่งตนเองพึ่งพากันเอง เพื่อให้เกิดความสมดุลและความสุข โดยใช้หลักอปริหานิยธรรม คือ ให้มีการรวมตัวด้วยความรัก, เอื้ออาทร, เรียนรู้และจัดการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมในการคิด การทำ และการแสดงออก เพื่อนำไปสู่ทุนทางปัญญา, ทุนทางสังคม, ทุนสิ่งแวดล้อม,ทุนสุขภาพ, ทุนทางการเมือง (อบจ./อบต.) และทุนทางเศรษฐกิจ จนทำให้ 3,000 ครอบครัว ปลอดสารเคมี และปลอดหนี้
สำหรับแนวทางที่ชาวบ้านจากเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษร่วมกันระดมความคิดจากการจัดตลาดนัดความรู้ ณ วัดท่าหลวง อ.เมือง จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา สามารถแบ่งได้เป็น 5 ปัจจัยหลัก คือ
1. ทุนทางสังคม ประกอบด้วย ชุมชนนักปฏิบัติ, แกนนำ, กลุ่ม/เครือข่าย/ผู้บริโภค, ประเพณี/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ขบวนการชาวนา และแผนที่คนดี (Human mapping)
2. กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การฝึกอบรมแกนนำวิทยากรกระบวนการเพื่อการพึ่งตนเองและพึ่งกันเอง (วปอ. ภาคประชาชน), เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/เวทีสัญจร, ศูนย์เรียนรู้ 2 แห่ง/อำเภอ, การจัดการความรู้/รวบรวมองค์ความรู้, ตลาดนัดความรู้ 2 ครั้ง/ปี และการศึกษาภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน
3. การผลิตวิธีการใหม่ ประกอบด้วย สารชีวภาพ, เกษตรปลอดภัย Good Agriculture Practice (GAP), เกษตรอินทรีย์, ลด ละ เลิก สารเคมี และระบบนิเวศน์
4. การตลาด ประกอบด้วย ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์, โรงสีชุมชน, การแปรรูป และวิสาหกิจชุมชน (SMEs)
5. การบริหารจัดการ ประกอบด้วย วางแผน-ประเมินผล-ติดตาม, ทำงานเป็นทีม กศน./สาธารณสุข/ราชการ/ธกส./อบจ./เทศบาล/อบต. และกลไกประสานงาน-พหุภาคี
ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การลดหนี้, ลดสารเคมี, สุขภาพแข็งแรง, พึ่งตนเอง, เพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, พออยู่พอกิน และครอบครัวเป็นสุข 
นอกจากนี้ จังหวัดพิจิตร ได้มีโครงการเครือข่ายข้าวสะอาด ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นจำนวนเงิน 113,600 บาท เพื่อการพัฒนาศักยภาพแกนนำ, รวบรวมองค์ความรู้ และสร้างแนวทางพึ่งตนเอง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 10 ตำบล รวมประมาณ 100 คน  มีคณะกรรมการ แบ่งเป็น
1. ทีมบริหาร ประกอบด้วย
คุณมนูญ         มณีโชติ          เป็นผู้ประสานงาน/คุณอำนวย
คุณสินชัย        บุญอาจ          เป็นผู้นำเสนอข้อมูล/ผลงาน/ประชาสัมพันธ์
คุณผดุง          เครือบุษผา      เป็นคุณกิจ/ฝ่ายเทคนิค/วิชาการ
คุณชานนท์      มาตะภาพ       เป็นคุณอำนวย
ผศ. นิวัฒน์      ฉิมพาลี           เป็นคุณลิขิต
คุณจรัล          ติ้งฉิ่น            เป็นคุณลิขิต 
2. ที่ปรึกษา ประกอบด้วย มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร, กศน. และ อบจ.
          3. ทีมแกนนำพื้นที่/ตำบลๆ ละ 1 คน รวม 10 คน
สำหรับในส่วนของกิจกรรม ประกอบด้วย เวทีสร้างกระแสอนุรักษ์พันธุ์ข้าว, แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายข้าวสะอาด, พัฒนาพื้นที่เกษตรต้นแบบ/แปลงสาธิต, ประชุมทีมบริหาร, ติดตามการดำเนินการ และร่วมถอดบทเรียนจากชุมชนนักปฏิบัติ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ แผนต่อยอดในตำบล, ชุดความรู้จากแปลงสาธิต, สื่อสิ่งพิมพ์, VCD, รูปเล่ม, แผ่นพับ, ข้อมูลสถานการณ์ที่มีผลต่อเกษตรกร และแนวทางรองรับสถานการณ์
ความเห็นที่ประชุม
คุณวริฏฐา  แก้วเกตุ ให้ความเห็นว่า น่าจะดึงคนหรือสมาชิกของโรงสี หรือคนที่มีความรู้ความสามารถและสนใจที่อยู่ในพื้นที่ ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นนักจัดการความรู้ในชุมชน
คุณจันทนา หงษา ให้ความเห็นว่า  เป็นการทำงานที่กว้างมาก และไม่ได้ลงลึกไปในความถนัดของคนทำงานโดยเฉพาะ และสิ่งที่อยากจะฝาก คือ ต้องคำนึงถึงเรื่องการตลาด และการบริหารจัดการ/การเมืองเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ถ้าพื้นที่ฐานการผลิตไม่แน่นหรือกองกำลังไม่แน่นพอ การสร้างเครือข่าย ซึ่งกว้างและมีคนจำนวนมาก อาจจะเกิดปัญหาได้ ดังนั้น ถ้าเริ่มจากจุดที่เล็กที่สุดและให้แน่นที่สุดก่อน แล้วค่อยขยับขึ้นไป  รวมทั้งมีการสรุปบทเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาข้อดีและข้อเสีย เพื่อปรับปรุงและแก้ไขให้เกิดความชัดเจน น่าจะช่วยให้การขยายเครือข่ายเกิดความเข็มแข็งและมั่นคงขึ้น  
              สำหรับกรณีคุณอำนวยในจังหวัดพิจิตร จากที่สังเกตจะมี 2 บทบาท คือ              บทบาทคนทำงานและชาวบ้าน เพราะฉะนั้นจะทำ       อย่างไร ให้คุณอำนวยที่รับ 2 บทบาท มีความเข้าใจและเข้มแข็งพอ ที่จะเป็นได้ทั้งตัวอย่างและผู้คอยช่วยเหลือแนะนำคนอื่นๆ โดยที่ไม่เกิดปัญหา
 
 วาระที่ 4         เรื่องอื่น ๆ                               
                             กำหนดการประชุมครั้งต่อไปเป็นวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2548 
เวลา 9.00-14.00 น.
ปิดประชุมเวลา 12.00 น.
นางสาวสุภาภรณ์ ธาตรีโรจน์                                 
ผู้สรุปการประชุม                  
                              
คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ให้ความเห็นว่า นักจัดการความรู้รุ่นใหม่ควรทำงานเป็นเครือข่าย จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น   นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่สำคัญ คือ อาจารย์ที่อยู่ในสถาบันการศึกษาที่ให้ความสนใจและต้องการสนับสนุนให้สร้างนักจัดการความรู้รุ่นใหม่ขึ้นมา   นอกจากนี้ ควรร่วมมือกับ อบต. เพื่อออกแบบหลักสูตรให้มุ่งไปสู่การสร้างคนให้กลับมาพัฒนาท้องถิ่นให้ได้ และจำเป็นต้องมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาเสริมด้วย เช่น มูลนิธิข้าวขวัญ และ มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร เป็นต้นศ.นพ. วิจารณ์ พานิช  ให้ความเห็นว่า จากประเด็นนักพัฒนาในท้องถิ่นนั้น ทำให้เกิดคำถามว่า นักพัฒนาท้องถิ่นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว กับนักพัฒนาในขณะนี้หรืออีก 5 ปีข้างหน้า ควรจะต่างกันอย่างไร   และได้เสนอว่า นักพัฒนาท้องถิ่นสมัยใหม่ต้องเป็น “คุณอำนวย” เข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้ของชาวบ้าน ไม่ใช่ผู้ที่นำโครงการไปให้ชาวบ้านทำ และคุณอำนวยต้องสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ของชาวบ้านกับสังคมภายนอกได้ โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้เลือกความรู้นั้นเองสำหรับพื้นที่ตะโหมด ไม้เรียง ให้คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด เป็นผู้ประสานงานนัดหมาย และให้ ดร. เพิ่มศักดิ์ ติดต่อกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ. หาดใหญ่ และ มหาวิทยาลัยราชมงคล เพื่อมาร่วมหารือกันในครั้งต่อไป                              คุณจันทนา หงษา ให้ความเห็นว่า การพัฒนาคนเป็นเรื่องใหญ่ ต้องคุยกันอย่างจริงจัง และต้องมีแผนระยะสั้น, ระยะกลาง และระยะยาว โดยมีจุดมุ่งหมายว่า จะต้องกลับมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง          คุณสุรเดช  เดชคุ้มวงศ์ เสนอกรอบแนวคิดพึ่งพาตนเอง เมืองพิจิตร 3 ปี (2548-2550) สรุปได้ว่า จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดมาสู่การพึ่งตนเองพึ่งพากันเอง เพื่อให้เกิดความสมดุลและความสุข โดยใช้หลักอปริหานิยธรรม คือ ให้มีการรวมตัวด้วยความรัก, เอื้ออาทร, เรียนรู้และจัดการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมในการคิด การทำ และการแสดงออก เพื่อนำไปสู่ทุนทางปัญญา, ทุนทางสังคม, ทุนสิ่งแวดล้อม,ทุนสุขภาพ, ทุนทางการเมือง (อบจ./อบต.) และทุนทางเศรษฐกิจ จนทำให้ 3,000 ครอบครัว ปลอดสารเคมี และปลอดหนี้ สำหรับแนวทางที่ชาวบ้านจากเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษร่วมกันระดมความคิดจากการจัดตลาดนัดความรู้ ณ วัดท่าหลวง อ.เมือง จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา สามารถแบ่งได้เป็น 5 ปัจจัยหลัก คือ 1. ทุนทางสังคม ประกอบด้วย ชุมชนนักปฏิบัติ, แกนนำ, กลุ่ม/เครือข่าย/ผู้บริโภค, ประเพณี/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ขบวนการชาวนา และแผนที่คนดี (Human mapping)2. กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การฝึกอบรมแกนนำวิทยากรกระบวนการเพื่อการพึ่งตนเองและพึ่งกันเอง (วปอ. ภาคประชาชน), เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/เวทีสัญจร, ศูนย์เรียนรู้ 2 แห่ง/อำเภอ, การจัดการความรู้/รวบรวมองค์ความรู้, ตลาดนัดความรู้ 2 ครั้ง/ปี และการศึกษาภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน 3. การผลิตวิธีการใหม่ ประกอบด้วย สารชีวภาพ, เกษตรปลอดภัย Good Agriculture Practice (GAP), เกษตรอินทรีย์, ลด ละ เลิก สารเคมี และระบบนิเวศน์4. การตลาด ประกอบด้วย ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์, โรงสีชุมชน, การแปรรูป และวิสาหกิจชุมชน (SMEs) 5. การบริหารจัดการ ประกอบด้วย วางแผน-ประเมินผล-ติดตาม, ทำงานเป็นทีม กศน./สาธารณสุข/ราชการ/ธกส./อบจ./เทศบาล/อบต. และกลไกประสานงาน-พหุภาคี ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การลดหนี้, ลดสารเคมี, สุขภาพแข็งแรง, พึ่งตนเอง, เพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, พออยู่พอกิน และครอบครัวเป็นสุข  นอกจากนี้ จังหวัดพิจิตร ได้มีโครงการเครือข่ายข้าวสะอาด ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นจำนวนเงิน 113,600 บาท เพื่อการพัฒนาศักยภาพแกนนำ, รวบรวมองค์ความรู้ และสร้างแนวทางพึ่งตนเอง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 10 ตำบล รวมประมาณ 100 คน  มีคณะกรรมการ แบ่งเป็น 1. ทีมบริหาร ประกอบด้วย คุณมนูญ         มณีโชติ          เป็นผู้ประสานงาน/คุณอำนวย คุณสินชัย        บุญอาจ          เป็นผู้นำเสนอข้อมูล/ผลงาน/ประชาสัมพันธ์คุณผดุง          เครือบุษผา      เป็นคุณกิจ/ฝ่ายเทคนิค/วิชาการ คุณชานนท์      มาตะภาพ       เป็นคุณอำนวย ผศ. นิวัฒน์      ฉิมพาลี           เป็นคุณลิขิตคุณจรัล          ติ้งฉิ่น            เป็นคุณลิขิต  2. ที่ปรึกษา ประกอบด้วย มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร, กศน. และ อบจ.          3. ทีมแกนนำพื้นที่/ตำบลๆ ละ 1 คน รวม 10 คน สำหรับในส่วนของกิจกรรม ประกอบด้วย เวทีสร้างกระแสอนุรักษ์พันธุ์ข้าว, แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายข้าวสะอาด, พัฒนาพื้นที่เกษตรต้นแบบ/แปลงสาธิต, ประชุมทีมบริหาร, ติดตามการดำเนินการ และร่วมถอดบทเรียนจากชุมชนนักปฏิบัติผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ แผนต่อยอดในตำบล, ชุดความรู้จากแปลงสาธิต, สื่อสิ่งพิมพ์, VCD, รูปเล่ม, แผ่นพับ, ข้อมูลสถานการณ์ที่มีผลต่อเกษตรกร และแนวทางรองรับสถานการณ์คุณวริฏฐา  แก้วเกตุ ให้ความเห็นว่า น่าจะดึงคนหรือสมาชิกของโรงสี หรือคนที่มีความรู้ความสามารถและสนใจที่อยู่ในพื้นที่ ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นนักจัดการความรู้ในชุมชนคุณจันทนา หงษา ให้ความเห็นว่า  เป็นการทำงานที่กว้างมาก และไม่ได้ลงลึกไปในความถนัดของคนทำงานโดยเฉพาะ และสิ่งที่อยากจะฝาก คือ ต้องคำนึงถึงเรื่องการตลาด และการบริหารจัดการ/การเมืองเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ถ้าพื้นที่ฐานการผลิตไม่แน่นหรือกองกำลังไม่แน่นพอ การสร้างเครือข่าย ซึ่งกว้างและมีคนจำนวนมาก อาจจะเกิดปัญหาได้ ดังนั้น ถ้าเริ่มจากจุดที่เล็กที่สุดและให้แน่นที่สุดก่อน แล้วค่อยขยับขึ้นไป  รวมทั้งมีการสรุปบทเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาข้อดีและข้อเสีย เพื่อปรับปรุงและแก้ไขให้เกิดความชัดเจน น่าจะช่วยให้การขยายเครือข่ายเกิดความเข็มแข็งและมั่นคงขึ้น                สำหรับกรณีคุณอำนวยในจังหวัดพิจิตร จากที่สังเกตจะมี 2 บทบาท คือ              บทบาทคนทำงานและชาวบ้าน เพราะฉะนั้นจะทำ       อย่างไร ให้คุณอำนวยที่รับ 2 บทบาท มีความเข้าใจและเข้มแข็งพอ ที่จะเป็นได้ทั้งตัวอย่างและผู้คอยช่วยเหลือแนะนำคนอื่นๆ โดยที่ไม่เกิดปัญหา                                กำหนดการประชุมครั้งต่อไปเป็นวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2548  เวลา 9.00-14.00 น.
คำสำคัญ (Tags): #km#ท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 8419เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2005 03:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท