รายงานการประชุมภาคีจัดการความรู้ในท้องถิ่น ครั้งที่ ๑๗


วันที่ ๑๘ ตค. ๔๘
รายงานการประชุมภาคีจัดการความรู้ในท้องถิ่น - ภาคประชาชน  - ประชาสังคม (ครั้งที่ 17)
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม  2548   เวลา 9.00- 12.00 น.

ณ  ห้องประชุม สกว. 2  ชั้น 14   อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ตรงข้าม ททบ. 5 สนามเป้า

ถนนพหลโยธิน  สามเสนใน  กรุงเทพฯ


ผู้เข้าร่วมประชุม                     

1.      นครสวรรค์ฟอรั่ม
นายแพทย์สมพงษ์  ยูงทอง       นายแพทย์ศัลยกรรมประสาท รพ. สวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
2.      คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏนครสวรรค์
อาจารย์พรรณภัทร  ใจเอื้อ        อาจารย์ประจำโปรแกรมพัฒนาชุมชน
          3.  กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร 
                   คุณสำราญ  สาราบรรณ์           นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 8ว                  
4.  โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น
คุณทรงพล  เจตนาวณิชย์         หัวหน้าโครงการ
          5.  สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม
                   คุณสรณพงษ์  บัวโรย             นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว
          6.  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน
                   คุณวริฏฐา  แก้วเกตุ               เจ้าหน้าที่ส่วนประเมินผลและพัฒนาองค์ความรู้
          7.  วิทยาลัยการจัดการทางสังคม
                   ดร. เพิ่มศักดิ์  มกราภิรมย์        ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
                   คุณวีระ  นิจไตรรัตน์               ผู้อำนวยการภาคอีสาน
          8.  มูลนิธิข้าวขวัญ
                   คุณจันทนา หงษา                  ผู้จัดการ
          9.  สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพิจิตร
                   คุณสุรเดช  เดชคุ้มวงศ์            หัวหน้ากลุ่มสนับสนุนวิชาการ
          10. โครงการจัดการความรู้ระดับชุมชน
                   ดร. พงศ์ธร  โพธิ์พูลศักดิ์         คณะกรรมการอำนวยการ                                       
         
          11. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
ศ.นพ. วิจารณ์   พานิช            ผู้อำนวยการ
คุณธวัช          หมัดเต๊ะ         เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
คุณวรรณา       เลิศวิจิตรจรัส    เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
                        คุณจิราวรรณ    เศลารักษ์        ฝ่ายประชาสัมพันธ์
คุณอุรพิณ        ชูเกาะทวด      เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
คุณสุภาภรณ์    ธาตรีโรจน์       เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
เริ่มประชุม 9.00 น.     

วาระที่ 1.        เรื่องเพื่อทราบ

วาระที่ 1.1        ความคืบหน้าการพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ชุมชน
                        (โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น)
 คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ หัวหน้าโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบัน    จัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา สรุปได้ว่า โครงการฯ ได้วางเป้าหมายในการเข้าไปสนับสนุนองค์กร    ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และสหกรณ์ ก็เพื่อต้องการเห็นสถาบันจัดการความรู้เกิดขึ้น ซึ่งโครงการฯ ได้นำแนวคิดและหลักการการ จัดการความรู้ไปใช้พัฒนาสมาชิกและฝ่ายบริหารของ อบต. โดยพยายามเชื่อมแผนงานและวิสัยทัศน์ของ อบต. และบทบาทของสมาชิก อบต. ให้สามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นนักจัดการความรู้ท้องถิ่น (นจท.) และให้ตระหนักเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของตนเองขึ้น ภายใต้ความร่วมมือทั้ง ของคนภายในและนอกท้องถิ่น
นอกจากดำเนินการอยู่ใน 17 อบต. ใน 5 จังหวัด ภาคกลาง คือ สุพรรณบุรี, อ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท และอุทัยธานี แล้ว  ยังได้ขยายไปยังจังหวัดลำพูน, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช และตราด
สำหรับภาพรวมในการดำเนินการจัดการความรู้มี 3 ระดับ คือ
1. ระดับเครือข่าย ใช้วิธีการจัดตลาดนัดความรู้ ใช้พลังของเรื่องเล่าความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ความก้าวหน้าของงาน เป็นตัวเดินเรื่อง ในขณะเดียวกันก็จะพัฒนา “คุณเอื้อ” “คุณอำนวย” และ “คุณลิขิต” ไปในตัว
2. ระดับองค์กร เป็นการใช้แนวคิดและเครื่องมือการจัดการความรู้เสริมการทำงานของฝ่ายบริหารและฝ่ายดำเนินการของ อบต. และสหกรณ์   โดยจะเริ่มจาก อบต. หรือ สหกรณ์ ที่มีความสนใจที่จะพัฒนาตนเองก่อน
3. ระดับพื้นที่ชุมชน โดยปรับยุทธศาสตร์ให้สมาชิก อบต. พัฒนาขึ้นมาเป็น นจท. (นักจัดการความรู้ท้องถิ่น)  และทำหน้าที่ในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนของตนเอง
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการจัดตลาดนัดความรู้ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นนั้น ได้มีการดำเนินการไปแล้วใน 5 จังหวัดภาคกลาง     รวมทั้งหมด 24 อบต. โดยแบ่งกลุ่มย่อยตามตำแหน่ง คือ นายก อบต., รองนายกฯ, เลขานายก, ประธานสภา, รองประธาน, เลขาสภา, ปลัด อบต. และสมาชิก อบต.    กิจกรรมเริ่มจากให้เล่าเรื่องความสำเร็จความก้าวหน้าและเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า    จากกิจกรรมนี้ พบว่ามี อบต. ให้ความสนใจและประสงค์จะพัฒนาผู้นำร่วมกับโครงการฯ อย่างน้อย 4 อบต. คือ 
1. อบต. วัดดาว  อ. บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี  
2. อบต. ประดู่ยืน  อ. ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี  
3. อบต. ปากพนังฝั่งตะวันออก  อ. ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งมีการ
   จัดตลาดนัดความรู้ไปแล้ว 3 ครั้ง
4. อบต. ในจังหวัดลำพูน 9 อบต.  2 เทศบาล  รวมทั้งได้เข้าไปเชื่อมกับสถาบัน
   หริภุญชัย ซึ่งเป็น Node ของ สกว. ภาค อีกด้วย
จากการดำเนินการจัดตลาดนัดความรู้ ทำให้สังเกตเห็นว่า การดำเนินการระดับเครือข่าย  สามารถใช้เครื่องมือแนวคิดและหลักการจัดการความรู้ได้  โดยต้องเสริมเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก   แต่ถ้าเป็นระดับองค์กร ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ 2-3 ครั้ง  จึงจะเข้าสู่แผนกระบวนการเรียนรู้ได้ ดังนั้น จึงสรุปการถอดรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ออกมาได้ 7 ขั้น คือ
1. รู้เขา รู้เรา รู้สถานการณ์ “รู้ทุกข์ รู้ทุน” 
2. สร้างเอกภาพ (พลังร่วม) บนความหลากหลาย (งาน ชีวิต การเรียนรู้ และ   
    Play & Learn)   สร้างอนาคตร่วม, สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้, สร้าง
    พันธะทางใจ และสร้างความไว้วางใจ เพื่อเข้าสู่การปักธง และการหาจุด    
    ยุทธศาสตร์   
3. การแบ่งบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจน 
4. ขั้นตอน แผนที่ การเดินไปสู่ธง   
5. แต่ละขั้นตอนต้องการปัจจัย เงื่อนไขอะไร และอย่างไร 
6. ความรู้และทักษะที่จำเป็นต้องรู้ ต้องมี ในการทำงานแต่ละขั้นตอน
7. ค้นหา, ลงมือปฏิบัติ, ถอดความรู้จากการปฏิบัติและทำ AAR (After Action
   Review)
ความเห็นที่ประชุม
คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ เสนอว่า ความคืบหน้าที่นำเสนอเป็นสิ่งที่ดี    ทำให้ได้รับความรู้และประโยชน์อย่างมาก   ซึ่งในจังหวัดพิจิตรได้มีการทำงานร่วมกับ อบต. ในพื้นที่ ได้แก่ การจัด Workshop ให้แก่ อบต. ท้ายน้ำ   มีผู้เข้าร่วมมาจาก 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย แกนนำชาวบ้าน, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ข้าราชการ, ผู้อำนวยการโรงเรียน และเจ้าหน้าที่อนามัย รวมประมาณ 70 คน โดยใช้โจทย์ว่า  ทำอย่างไรให้คนในตำบลท้ายน้ำ ร่วมมือกันทำงาน  เนื่องจากที่ผ่านมา มีความขัดแย้งเชิงอำนาจของฝ่ายผู้ใหญ่บ้าน และ อบต. รวมทั้งฝ่ายข้าราชการภูมิภาค, ครู และเจ้าหน้าที่อนามัย
แนวคิดและหลักการของการจัดการความรู้ที่นำไปใช้ใน Workshop คือ การใช้เรื่องเล่าเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นทำการประเมินศักยภาพของตนเอง และจาก Workshop ครั้งนี้ ทำให้ได้พบคนเก่งคนดีเป็นจำนวนมาก  ทุกคนเริ่มเข้าใจกัน จนนำไปสู่การวางแผนงานร่วมกันของหมู่บ้าน และได้มีการจัดตั้งงบประมาณในการดำเนินงานในขั้นต่อไปด้วย
นอกจากนี้ยังได้จัด Workshop ในระดับอำเภออีกด้วย พบว่า สามารถช่วยลดความขัดแย้งเชิงอำนาจ และความไม่เข้าใจกัน รวมทั้งทำให้ทุกฝ่ายเห็นศักยภาพและความสามารถของตนเองที่มีต่อส่วนรวมเพิ่มขึ้น จนนำไปสู่การสร้างประเด็นร่วมจากความสนใจและความถนัด เพื่อขยายเครือข่ายในระดับต่อไป
ศ.นพ. วิจารณ์  พานิช  ให้ความเห็นว่า คุณทรงพล มีความประสงค์ที่จะทำให้มีสถาบันเกิดขึ้นภายในชุมชน จึงได้ชักชวน อบต. ซึ่งเป็นฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมหรือเป็นเจ้าของเรื่อง    ทั้ง คุณทรงพล และ คุณสุรเดช ได้นำวิธีการทำงานหรือการดำเนินงาน โดยใช้หลักการสำคัญ คือ วิธีคิดเชิงบวก และใช้วิธีคิดว่ามีสิ่งดีๆ หรือมีคนที่มีความรู้ความสามารถอยู่แล้วในชุมชน 
สำหรับเป้าหมายที่สำคัญของวาระการประชุมนี้ คือ ให้เกิดการรวมตัวเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มชาวบ้าน โดยมีคุณอำนวย (อบต.) ไปหนุนการเรียนรู้ของชาวบ้าน หลักการสำคัญ ก็คือว่า ให้เปลี่ยนวิธีคิดหรือกระบวนทัศน์จาก Training มาเป็น Learning    ซึ่ง Learning เป็นการเรียนรู้โดยชาวบ้านเอง และไม่ใช่ชาวบ้านคนเดียวต้องเป็นการรวมกลุ่มของชาวบ้าน  ส่วนคนที่เคยเป็น Trainner  ให้เปลี่ยนมาเป็น “คุณอำนวย” ที่คอยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และช่วยในเรื่องการจดบันทึกของชาวบ้าน เป็นต้น
สิ่งที่ คุณทรงพล นำเสนอเป็นขั้นตอนของการจุดชนวน และหาวิธีการที่จะชักชวนให้เกิดการเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้  ส่วนกรณีของ คุณสุรเดช นั้น ได้ผ่านช่วงการเรียนรู้ เข้ามาสู่ระดับการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้แล้ว
วาระที่ 1.2        ตลาดนัดความรู้แก้ไขปัญหาหนี้สิน
                        (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน))
คุณวริฏฐา  แก้วเกตุ  เจ้าหน้าที่ส่วนประเมินผลและพัฒนาองค์ความรู้  นำเสนอผลการจัดตลาดความรู้ “การแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยชุมชน”   สรุปได้ว่า ลักษณะกิจกรรมเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนที่ทำเรื่องแก้หนี้   คาดหวังให้ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกหาและหยิบจับความรู้ไปใช้ต่อยอด และขยายผลได้   รวมทั้งเน้นการค้นหาว่า รูปแบบ หรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน คืออะไร (How to)    ซึ่งรูปแบบเวทีจะแตกต่างจาก ที่ภาคีหรือ สคส. จัด   เพราะมีการปรับเปลี่ยนและประยุกต์ให้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานของ พอช.   สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คือ ขบวนการแก้หนี้, ขบวนการสินเชื่อ, ขบวนการที่อยู่อาศัย/บ้านมั่นคง, ขบวนการองค์กรการเงินชุมชน และขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืน
วิธีการจัดตลาดนัดความรู้ในรูปแบบของ พอช. คือ
1. พัฒนาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชน (คุณอำนวย) พร้อมทั้งเสริมทักษะด้านการจัดการความรู้   และให้ความสำคัญกับงานข้อมูล องค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้งานและสนับสนุนชาวบ้านได้ 
2. ให้เวลาเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทำงานกับชุมชน สร้างรูปธรรมให้สามารถจับต้องได้
3. นำแต่ละพื้นที่รูปธรรม และพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมขบวนการแก้หนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 
4. ทำตลาดนัดความรู้ย่อยระดับภาค มีพื้นที่รูปธรรม 5-10 พื้นที่มาแลกเปลี่ยนกัน (3 ชั่วโมง) เพื่อให้ได้แก่นความรู้ 
5. ทำตลาดนัดความรู้แก้ไขปัญหาหนี้สินที่ส่วนกลาง โดยใช้แก่นความรู้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มย่อย มีพื้นที่รูปธรรม และพื้นที่ที่สนใจร่วม 30 ชุมชน มีผู้เข้าร่วมประมาณ 180 คน
ในส่วนของแก่นความรู้ที่ได้จากเวทีภาคนั้น มี 7 ข้อด้วยกัน (บันได 7 ขั้น) ดังนี้ 1. การจุดประกายความคิด จุดเปลี่ยนของกลุ่มคนและชุมชน   2. การสำรวจข้อมูลครัวเรือนและหนี้สิน/จัดระบบหนี้/วิเคราะห์ข้อมูล นำไปใช้   3. การจัดระบบกลุ่มย่อย “กลุ่มครอบครัว”   4. การบริหารจัดการของชุมชน (กลุ่มใหญ่)   5. การจัดระบบการออม/สินเชื่อ/สวัสดิการ   6. การทำบัญชีครัวเรือน/แผนพัฒนาครอบครัวและกลุ่ม และ  7. การสร้างอาชีพและรายได้
แต่ละชุมชนที่ทำกระบวนการแก้ปัญหาหนี้สินอาจมีการเรียงลำดับขั้นบันไดสู่ความสำเร็จแตกต่างกัน และในการดำเนินกิจกรรมจริง ไม่ได้กำหนดตายตัวว่า จะต้องเรียง 1, 2, 3 แต่สามารถทำไปทีละกิจกรรม หรือหลายกิจกรรม/ขั้นตอนพร้อมกันก็ได้ เช่น ชุมชนหนึ่ง เริ่มต้นจับกลุ่มครอบครัวก่อนแล้วทำการสำรวจข้อมูลหนี้สิน และทำบัญชีครัวเรือนไปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันก็ไปจุดประกาย ขยายแนวคิด ชวนเพื่อนในชุมชนมาร่วมทำเพิ่มสมาชิก ชวนภาคีท้องถิ่นมาร่วมสนับสนุน ทั้งยังไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับต่างพื้นที่   เหตุที่สรุปเป็นบันได 7 ขั้น ก็เพื่อให้เห็นขั้นตอนอย่างละเอียด อันจะนำไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ทุกขั้นตอน/กิจกรรมนั้นสัมพันธ์เชื่อมโยงทั้งหมด
สำหรับการจัดตลาดนัดความรู้ย่อยกับการจัดตลาดนัดความรู้ใหญ่    พบว่า การจัดตลาดนัดความรู้ย่อยค่อนข้างได้ผลดีกว่าการจัดตลาดนัดความรู้ใหญ่ เพราะเป็นกลุ่มเล็ก ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้มาก และเป็นคนที่ทำจริง ทำให้ได้เนื้อหารายละเอียด วิธีการ และขั้นตอนค่อนข้างมาก ส่วนการจัดตลาดนัดความรู้ใหญ่ จะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ไม่มาก แต่สามารถทำให้เกิดการกระตุ้น จุดประกาย เสริมพลังขบวนให้กลับไปทำต่อได้
ข้อสังเกตจากการจัดตลาดนัดความรู้ คือ 1. ภายในกลุ่มย่อย ต้องคุมประเด็นให้ลงลึกถึงขั้นตอนความสำเร็จ ให้ได้วิธีการทำที่หลากหลายและเชื่อมโยงกับขั้นตอนอื่นๆ  2. ต้องสรุปภาพรวม เพื่อให้เห็นขั้นตอน/กระบวนการทั้งหมด   และ 3. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมนั้นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย เป็นแกนนำรุ่นใหม่ที่ทำงานเชิงลึก จึงยังไม่สามารถให้ความเห็นต่อการเชื่อมขบวน/เครือข่ายได้มากนัก
จากการทำตลาดนัดความรู้ตามบันได 7 ขั้น สู่ความสำเร็จของกระบวนการแก้หนี้นี้ พอช. จะนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาทำเป็นชุดองค์ความรู้ที่จะเป็นคู่มือเผยแพร่ต่อไป
ความเห็นที่ประชุม
                             ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ให้ความเห็นว่า การทำคู่มือแก้ไขปัญหาหนี้สิน เมื่อมองใน              มุมของการจัดการความรู้ ก็คือ Knowledge Assets  ซึ่งเป็นความรู้ในการแก้ปัญหา
                    หนี้สิน และเป็นไปได้หรือไม่ ที่ พอช. จะเข้าไปหนุนให้ชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มพื้นที่ ทำ
                    คู่มือในภาษาของชุมชนขึ้นมาใช้เอง และพิมพ์ให้อ่านง่าย เพื่อใช้ในการเผยแพร่ให้แก่
                    บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมชม 
                              นอกจากนี้ จะเห็นว่า พอช. มีความพยายามที่จะนำเครื่องมือการจัดการ                       ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และเชื่อว่า พอช. ก็จะนำเครื่องมือการ           จัดการความรู้นี้ ไปใช้ในงานอื่นๆ ต่อไป และเป็นสิ่งที่ดีที่ พอช. ได้นำเครื่องมือการ                        จัดการความรู้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ พอช. ทำอยู่
          นายแพทย์สมพงษ์  ยูงทอง ให้ความเห็นว่า เมื่อทำคู่มือแล้ว ชาวบ้านต้องสามารถนำคู่มือนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง
          อาจารย์พรรณภัทร ใจเอื้อ ให้ความเห็นว่า จากสิ่งที่ทำและถอดออกมาเป็นคู่มือเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่คู่มือนี้จะเหมาะสำหรับเจ้าหน้าที่ เพราะเป็นกระบวนการที่เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน   ส่วนที่ ศ.นพ. วิจารณ์ เสนอจะเป็นส่วนที่เสริมเข้ามาเพื่อการทำคู่มือฉบับชาวบ้านโดยชาวบ้านเป็นผู้ทำเอง 
                              
วาระที่ 1.3        ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้เรื่องการทำนา                      ข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
คุณจันทนา หงษา ผู้จัดการมูลนิธิข้าวขวัญ นำเสนอความคืบหน้าการดำเนินการโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนสรุปได้ว่า ยังมีนักเรียนชาวนาสอบตกในหลักสูตรของระดับมัธยมหลายคน เนื่องจากนักเรียนไม่ได้นำความรู้ที่เรียนไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง เช่น การหมักฟาง, การตากดิน, การนำน้ำเข้านา และการใช้จุลินทรีย์เพื่อช่วยในการย่อยสลาย เป็นต้น    จึงต้องมีการสอบซ่อมและมีการเรียนหลักสูตรดินเพิ่มเติม 5-7 สัปดาห์ ในแต่ละพื้นที่    ในขณะเดียวกัน นักเรียนชาวนาที่ผ่านหลักสูตรของระดับมัธยมแล้ว ก็จะเข้าสู่หลักสูตรของระดับอุดมศึกษา คือ หลักสูตรการพัฒนาพันธุ์ข้าว  
ขณะนี้ทั้ง 4 พื้นที่ มีการเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอในการเรียนทุกๆ สัปดาห์ แต่ยังไม่ได้เก็บผลผลิตสุดท้าย   ในพื้นที่อำเภอเมือง จะเก็บผลผลิตสิ้นเดือนตุลาคม 2548, อำเภออู่ทอง เก็บผลผลิตสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548, อำเภอบางปลาม้าและอำเภอดอนเจดีย์ เก็บผลผลิตต้นเดือนธันวาคม 2548   จากนั้นจะร่วมกันสรุปบทเรียนแต่ละพื้นที่ และประมวลข้อมูลออกมา เพื่อนำมาสรุปบทเรียนใหญ่ และนำเสนอร่วมกัน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2548   การจัดครั้งนี้จะพิเศษกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะมีการเชิญเครือข่ายจากภายนอกเข้ามาร่วมให้มุมมองและข้อเสนอแนะด้วย           
          สำหรับตัวอย่างในการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่อำเภอเมือง คือ คุณสำรวย อินทร์บุญ มีนา 17 ไร่    ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ คุณน้าสำรวยเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้ 15 เกวียนหรือ 15 ตัน   แต่หลังจากที่เข้าร่วมโครงการ คุณน้าสำรวย สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ถึง 20 เกวียนหรือ 20 ตัน
                                    นอกจากนี้ คุณจันทนา หงษา ได้ชี้แจงว่า วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ณ                      โรงแรมคุ้มสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี  จะมีการจัดประชุมสัมมนา เพื่อให้ความรู้                           ชาวนา กรณีพระราชบัญญัติข้าวแห่งชาติ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่างขึ้น                  มีวิทยากรรับเชิญ 3 ท่าน คือ 1. ดร. ทิพวัลย์ ศรีจันทร์ เสนอในเรื่องมิติทางความ
หลากหลายของพันธุ์ข้าว ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ  2. อาจารย์เจริญ คัมภีรภาพ เสนอมิติทางกฎหมายและทรัพย์สินทางภูมิปัญญา และ  3. คุณเดชา ศิริภัทร เสนอในเรื่องมิติทางสิทธิเกษตรกร สิทธิชุมชน และภาพรวมของวิธีการดำเนินชีวิตของชาวนาไทย  สำหรับช่วงบ่ายจะเป็นช่วงรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากเวทีใหญ่ โดยคุณชมชวน บุญระหงษ์ และคุณจันทนา หงษา เป็นผู้ดำเนินรายการ จากนั้นสรุปข้อเสนอจากเวทีและร่วมลงชื่อ เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในเบื้องต้น คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วม 17 กลุ่ม คือ นักเรียนโรงเรียนชาวนา, กลุ่มแสงตะวัน (จังหวัดพิจิตร), กลุ่มนครสวรรค์, กลุ่มอโศก, กลุ่มผู้บริโภค, กลุ่มโรงสีข้าวสุพรรณบุรี, กลุ่ม พอช., กลุ่มคุณรัตนา จังหวัดสุพรรณบุรี, กลุ่มเพชรบุรี, กลุ่มพนาผล, กลุ่มสถาบันกรุงเก่า, คณะทำงานมูลนิธิข้าวขวัญ, เครือข่ายโครงการนำร่อง จังหวัดกาญจนบุรี, โครงการ ISAC จังหวัดเชียงใหม่, เจ้าหน้าที่จาก สคส., เจ้าหน้าที่จาก OXFAM และสื่อมวลชน
ความเห็นที่ประชุม
ศ.นพ. วิจารณ์  พานิช ให้ความเห็นว่า การเผยแพร่รายงานของมูลนิธิข้าวขวัญลง Blog สามารถเป็นประโยชน์แก่บุคคลหรือกลุ่มคนที่สนใจ จะนำไปใช้และปฏิบัติในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ได้นำวิธีการและการดำเนินงานของมูลนิธิข้าวขวัญไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับชาวบ้านในจังหวัดพิจิตร รวมทั้งเป็นแรงกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิดกำลังใจในการดำเนินการ 
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่มูลนิธิข้าวขวัญสามารถทำให้เกิดขึ้น คือ ให้ชาวบ้านมีการจดบันทึกได้   ซึ่ง พอช. น่าจะศึกษาวิธีที่มูลนิธิข้าวขวัญใช้ เพราะจะทำให้ชาวบ้านเกิดความคิด และมีสมาธิที่จะไตร่ตรองได้
                             ดร. เพิ่มศักดิ์  มกราภิรมย์  ให้ความเห็นว่า เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2548 ได้มีการ                                 จัดประชุมสัมมนาในเรื่องของพระราชบัญญัติข้าวแห่งชาติขึ้นที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(มสธ.) ดังนั้น ควรที่จะนำผลการอภิปรายในการประชุมสัมมนาที่ผ่านมา ไปใช้ประกอบ
ในงานประชุมสัมมนา วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 มิฉะนั้น จะทำให้การพูดคุยและแลกเปลี่ยน
ซ้ำในประเด็นเดิม
คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ให้ความเห็นว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ 1. แนวคิดรวบยอดคืออะไร  2. ชาวนาจะได้รับหรือจะเสียอะไร  3. ประเด็นอะไรที่เป็นข้อกฎหมายที่สำคัญที่จะให้ชาวนาพิจารณา และ 4. ประเด็นสำคัญอะไรที่จะหารือหรือลงมติยินยอม โดยมีเหตุผลรองรับ ซึ่งคำถามเหล่านี้จะทำให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น
วาระที่ 1.4        โครงการจัดการความรู้ระดับชุมชน
                        (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมและมหาชีวาลัยอีสาน)
คุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ ได้ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคม 2548  สคส. ได้เดินทางไปร่วมเปิดโครงการจัดการความรู้ระดับชุมชน ที่จัดขึ้น ณ สวนป่าครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำเสนอสิ่งที่ สคส. มุ่งหวังที่จะให้เกิดขึ้นในโครงการฯ และต้องการเห็นบทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจนของแต่ละฝ่าย ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ หัวโครงการ, ดร.กนกอร ยศไพบูลย์ และ ดร.พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์  คณะกรรมการอำนวยการ, หัวหน้าฐานการเรียนรู้ 10 ฐาน (คุณอำนวย), สมาชิกฐานจาก 10 ฐาน (คุณกิจ) และคณะพันธมิตรทางวิชาการจากหลายหน่วยงาน  สำหรับพื้นที่การเรียนรู้ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ บุรีรัมย์, สุรินทร์ และนครราชสีมา โดยมีสวนป่าครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้  และพื้นที่การเรียนรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
              สำหรับสิ่งที่ สคส. มุ่งหวังและต้องการที่จะให้เกิดขึ้น คือ ต้องการเห็นชาวบ้าน       เกิดการเรียนรู้, มีการจดบันทึก และชาวบ้านสามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็น “คุณอำนวย”   ได้ รวมทั้งต้องการให้หัวหน้าโครงการ, หัวหน้าฐานการเรียนรู้ 10 ฐาน, คณะกรรมการอำนวยการ และคณะพันธมิตรทางวิชาการ เขียนบันทึกลง Blog เพื่อเป็นการสื่อสาร และเผยแพร่ให้เกิดความเชื่อมโยงเครือข่าย/ภาคีจากทั้งภายในและนอกโครงการฯ       
              นอกจากนี้ สคส. ยังเน้นย้ำว่า คณะพันธมิตรทางวิชาการต้องไม่นำโครงการ          สำเร็จรูปลงไปให้ชาวบ้าน จะต้องศึกษาทำความเข้าใจว่าชาวบ้านต้องการอะไร และ     คอยช่วยสนับสนุนหรือเปิดช่องทางให้ชาวบ้านในเรื่องของการหาแหล่งเรียนรู้, ข้อมูล         ความรู้ที่เป็นประโยชน์และง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ และพาไปศึกษาดูงานในพื้นที่ต่างๆ    เป็นต้น   เพื่อให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้, ทดลอง และนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์และปรับ
     ใช้ให้เหมาะสม จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมา 
ดร. พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์ นำเสนอเพิ่มเติมสรุปได้ว่า มีคณะพันธมิตรทางวิชาการเข้าร่วมการเปิดโครงการฯ ประกอบด้วย ศ. ดร. อภิชัย พันธเสน (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี), ดร. วนิดา กำเนิดเพชร (กรมปศุสัตว์), ดร. แสวง รวยสูงเนิน (มหาวิทยาลัยขอนแก่น), คุณสมพิศ ไม้เรียง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์), ดร. สุธิดา แจ่มใส (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี), ผู้แทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ประชาชนผู้สนใจ, ผู้แทนจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดบุรีรัมย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12 ท่าน         
จากนั้นได้ปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าฐานการเรียนรู้ 10 ฐาน      
คณะกรรมการอำนวยการ, คณะพันธมิตรทางวิชาการ และ สคส. เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และสิ่งที่จะต้องปฏิบัติและดำเนินการในโครงการฯ ตามแผนงานที่วางไว้  พร้อมกับการบันทึกรายงาน และการเขียนบันทึกลง Blog ต่อไป
ความเห็นที่ประชุม
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ให้ความเห็นว่า โครงการฯ นี้ เป็นการเปิดโอกาสให้นักวิชาการหรือคณะพันธมิตรทางวิชาการ และคณะกรรมการอำนวยการที่มาจากสถาบันการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับชาวบ้านและชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้, เกิดการสร้างความรู้ใหม่ และเกิดการพัฒนาตนเอง รวมไปถึงการขับเคลื่อนเพื่อขยายไปสู่องค์กร/หน่วยงานภาคการศึกษา และยังสามารถทำให้เกิด Node การจัดการความรู้ระดับชุมชนขึ้นมาได้อีก
คุณสรณพงษ์ บัวโรย ให้ความเห็นว่า ไม่เพียงแต่จะเขียนผ่านลง Blog เท่านั้น น่าจะใช้กระบวนการสื่อสารและเผยแพร่ผ่านทางวิทยุชุมชนด้วย เพราะที่เครือข่ายมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุทรสงคราม ได้ใช้วิธีการนี้แล้วได้ผลดี และได้มีการจัดเวทีเรียนรู้ทุกวันจันทร์สุดท้ายของเดือน เพื่อสรุปบทเรียนของเครือข่าย ซึ่งเดือนนี้จะจัดวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ณ ศูนย์เรียนรู้มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น มีกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น, กลุ่มท่องเที่ยวเกษตร, กลุ่มเกษตรธรรมชาติ และกลุ่มชุมชนเป็นสุข เป็นต้น  จากนั้นมีการสรุปบทเรียนจากกลุ่มย่อย และมีการบรรยายพิเศษจาก ศ.ดร. ระพี สาคริก ก่อนปิดเวทีการเรียนรู้

วาระที่ 2.        รับรองรายงานการประชุม

วาระที่ 2.1        รับรองรายงานการประชุมภาคีจัดการความรู้ในท้องถิ่น – ภาคประชาชน – ประชาสังคม ครั้งที่ 16
                                   
ความเห็นที่ประชุม
                             รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 16

วาระที่ 3.        เรื่องเพื่อพิจารณา

วาระที่ 3.1        กระบวนการจัดการความรู้ของเครือข่ายแผนแม่บท และความร่วมมือเพื่อพัฒนานักจัดการความรู้ท้องถิ่น (วิทยาลัยการจัดการทางสังคม)

          ดร. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นำเสนอผลการดำเนินงานของวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) ในระยะที่ผ่านมา สรุปได้ว่า ในปี 2547 เกิดชุมชน/เครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีรูปธรรมของการจัดการความรู้ที่เป็นการสืบทอดหลักสูตรท้องถิ่นและเกิดห้องเรียนชุมชนทั้งหมด 40 พื้นที่ โดยมีนักจัดการความรู้เป็นผู้คอยช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้    จากนั้นนำไปเผยแพร่ให้กับสังคม โดยสื่อสารผ่านคน, วิทยุชุมชน และเว็บไซต์ www.thaiknowledge.org  เพื่อการขยายผลต่อไป
ในปี 2548 เกิดความร่วมมือระหว่าง วจส./พอช./เครือข่ายแผนฯ เพื่อนำไปสู่ศูนย์การเรียนรู้แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 3 ภาค คือ ภาคกลาง, ภาคอีสาน และภาคเหนือ เพื่อแก้ปัญหาสังคม ลดความยากจนด้วยวิถีชุมชน ทั้งหมด 36 ตำบล รวมทั้งการได้ชุดความรู้ 3 ชุด   ได้แก่ การถอดองค์ความรู้, ทักษะนั
คำสำคัญ (Tags): #km#ท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 8418เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2005 03:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท