"มุ่งเน้นที่คุณภาพ" ของครูชำนาญการพิเศษ เรื่องไม่เล็กของระบบการศึกษาไทย


ผมคิดว่าดีกว่าส่งผลงานอย่างเดียวแล้วประเมินให้ผ่าน...เพราะเราไม่สามารถตรวจสอบได้ รวมถึง ไม่มั่นใจว่าคุณครูมี Competency ที่คาดหวัง ได้จริงหรือไม่???

มีโอกาสอันดี ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรร่วมในการพัฒนา ครูชำนาญการพิเศษ ของการพัฒนาข้าราชการครูเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยาฐานะครูชำนาญการพิเศษ  ของ ๘ จังหวัดภาคเหนือบน มีผู้เข้ารับการเข้ารับการพัฒนา เกือบ ๖๐๐ คน

งานนี้ถือว่าเป็นงานใหญ่ และ ต้องร่วมแลกเปลี่ยนเรียนเรียนรู้กับคุณครูอาวุโส(ส่วนใหญ่) ในการวิเคราะห์เบื้องต้นของผมว่า คุณครูไม่ธรรมดาแน่นอน ดังนั้นการร่วมด้วยช่วยกัน ในฐานะวิทยากรร่วม โดยเฉพาะสาระทางด้านสุขภาพ จึงเป็นภาระที่ผมยังกริ่งเกรง

อนึ่ง เรื่องหลักสูตร เรื่องการจัดทำแผนการสอนที่สอดคล้องตามสาระเรียนรู้ ตามช่วงชั้นปี ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยถนัดทั้งสิ้น ...ดังนั้นการบ้านที่สำคัญและเร่งด่วนของผมก็คือ อ่านแนวคิดการศึกษา อ่านกระบวนการทำแผนการเรียนรู้อย่างเร่งด่วน ...จริงๆการทำความเข้าใจหลักสูตรและการได้มาของหลักสูตรของผมครั้งนี้ถือว่าได้กำไรมาก...เรียนรู้ในมุมของคุณครูที่ชัดเจนมากขึ้น  สิ่งที่ผมรับผิดชอบจะเติมให้คุณครูว่าที่ชำนาญการพิเศษ คือ กระบวนการวิจัย ที่ผมค่อนข้างคุ้นชิน และ พยายามจะถ่ายทอดให้คุณครูได้เรียนรู้ร่วมกันในฐานะ งานวิจัยคือวิถีชีวิต  สุดท้ายอยากให้ว่าที่ครูชำนาญการพิเศษทุกท่านบอกว่า งานวิจัยงานนิดเดียว

ซึ่งผมก็คิดว่า กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการวิจัย เป็นเนื้อเดียวกัน  คุณครูท่านได้ทำวิจัยอยู่แล้วเพียงแต่ปรับนี่นิด ปรับตรงนั้นอีกหน่อย สรุป วิเคราะห์และสังเคราะห์ เรียบเรียงออกมาสวยๆ ...ที่สำคัญ ตอบคำถามปัญหาวิจัยได้ แค่นี้ก็สำเร็จเสร็จสิ้นครับ...โดยเฉพาะงานวิจัยชั้นเรียนไม่ค่อยซับซ้อน ทำดีๆสามารถเกิด นวัตกรรม ใหม่ๆได้

ล่วงมาวันที่ ๓ ที่ผมคลุกคลีช่วยเป็นวิทยากรกลุ่ม  ผมพอจะมองเห็นปัญหาของคุณครูที่ต้องยอมรับกันว่าต้องพัฒนาและแลกเปลี่ยน เสริม สมรรถนะ กันให้มากคือ

 

กระบวนการคิดเชิงระบบ (System thinking) และความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ที่มีปัญหามาก สังเกตจากการทำแผนการเรียนรู้ และแยก สาระออกเป็นส่วนๆของครู การแยก ความรู้ Knowledge, เจตคติ Attitude, การปฏิบัติ Practice ไม่ค่อยได้ รวมถึงการเชื่อมโยงออกมาเป็นให้เห็นเป็นแผนการสอน

 

คุณครูท่านหนึ่งบอกผมว่าเมื่อก่อน  แผนการสอนก็เป็นเรื่องของแผนการสอน  ส่วนการสอนเป็นเรื่องของครู นี่เป็นปรากฏการณ์จริงว่า แผนการสอนกับงานสอนไปคนละทางตามใจครู พอถึงเวลาลงมือทำแผนการสอนด้วยตนเองจริงๆก็เกิดปัญหาขึ้นมาอย่างมากมาย

มาถึงปัญหาที่คุยกันวิทยากรหลายท่านที่เคยตรวจงานคุณครูมา ก็เห็นปัญหาว่า คุณครูไม่ค่อยมีทักษะด้านการเขียน ตลอดการทำผลงานวิชาการ(ลักษณะงานวิจัย) ที่ต้องแก้แล้วแก้อีก ดังนั้นกระบวนการวิจัย จึงต้องเติมลงไป...เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะ ...

ตามสภาพความเป็นจริงคุณครูที่เข้ารับการพัฒนาในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งหมดสิทธิ์การเป็นอาจารย์ ๓ แล้วก็มี ผู้ที่ไม่มั่นใจในการทำผลงานก็มี ...บรรยากาศของการอบรมจึงดูเคร่งเครียดและเอาจริงเอาจัง ..จะว่าไป  ครูชำนาญการพิเศษ ก็เป็นจุดหมายที่หอมหวน เป็นรางวัลที่เป็นทั้งความภูมิใจและตัวเลขรายได้ที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม...ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่กระทรวงศึกษาธิการ เปิดโอกาสให้ในครั้งนี้ การพัฒนาศักยภาพทั้ง สิบกว่าวัน ...ช่วยให้คุณครูมี Competency มากขึ้น และเพิ่มความมั่นใจในการเข้าสู่ตำแหน่งมากขึ้น ผมคิดว่าดีกว่าส่งผลงานอย่างเดียวแล้วประเมินให้ผ่าน...เพราะเราไม่สามารถตรวจสอบได้ รวมถึง ไม่มั่นใจว่าคุณครูมี Competency ที่คาดหวัง ได้จริงหรือไม่??? 

เรื่องนี้ผมคิดว่าสำคัญครับ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ,เชียงใหม่

หมายเลขบันทึก: 83320เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะน้องเอก..

  • ครูอ้อยดีใจมากที่คุณเอกมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกับที่ครูอ้อยสนใจ.....เรียกว่าคอเดียวกัน
  • ครูอ้อยกำลังเขียนบล็อกที่เกี่ยวข้องกับวิทยฐานะ  เช่นเดียวกัน  เรียนเชิญอ่านที่นี่ค่ะ  ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาจัดการความรู้
  • ถือว่าได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่ตรง field เลยนะคะ
  • ที่  กทม.ก็กำลัง  เข้มมากเลยค่ะ กับวิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

ครูอ้อยขอขอบคุณค่ะ

ตอนนี้,  ผมก็คร่ำเคร่งกับการทำชำนาญการ หลังเจอมรสุมการเมืองมายาวนานไม่น้อย....

แต่มันก็แปลกตรงที่ว่า "ชำนาญการ"  ไม่น่าจะหมายถึง "ทำงานมานาน"  .....

เสียดายที่ก่อนนี้ผมมีเอกสารเผยแพร่ของตนเองเยอะมาก  แต่ไม่เคยระบุชื่อเสียงเรียงนามเลย   กลับกลายเป็นสิ่งที่จัดเก็บมาประกอบเป็นผลงานไม่ได้  รวมถึงการตระเวนเป็นวิทยากรมาก็บ่อย  แต่ไม่สามารถนำมาประเมินได้  เพราะไม่สัมพันธ์กับงานที่ปฏิบัติ

ขออนุญาตบ่นนะครับ....

.....

โดยส่วนตัวที่พบเจอ  การทำชำนาญการมักมีปัญหาเรื่องงานวิจัย เพราะก่อนหน้านี้ในสายงานที่ผมทำ  ไม่บังคับเรื่องงานวิจัย  สามารถนำเสนอแต่เฉพาะคู่มือ 2 เล่มก็พอ ... แต่หลายส่วนกลับกลายเป็นว่าไม่สามารถนำมาใช้ได้ในหน่วยงาน , ไม่กล้าแม้แต่จะเผยแพร่  ไม่กล้าแม้แต่จะขึ้นเวทีเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะ  ...แล้วอะไรคือสิ่งที่สังคมได้รับจากการประดับเกียรติให้บุคคลนั้น ๆ

ผมจึงอยากเห็นความเป็นชำนาญการที่ให้อะไรคืนกับสังคมด้วย เมื่อใช่เป็นเช่นที่ผมประสบเจอ

ผมจึงไม่ค่อยพึงใจกับกระบวนการ  ผิดหวังกับกระบวนการและบุคคลที่ได้โอกาส  แต่ไม่คืนอะไรให้สังคม จึงเรื่องนี้ไปเฉย ๆ ... กระทั่งคิดว่า  ได้เวลาที่เราจะต้องทำเรื่องเหล่านี้จริงจังซะที...

และเราก็จะไม่กระทำเช่นนั้น

....

ขอบคุณครับ....สำหรับพื้นที่ของการพร่ำบ่น

เรื่องนี้ยังไม่เคลีย

ว่าจะได้ผู้ชำนาญการพิเศษจริงกี่คน

พิเศษปลอมกี่คน

มีงบประมาณรองรับได้กี่ราย

ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นแม่สายบัวแต่งตัวพริ้ง

อิอิ..ขำขำ..

  • ขอแจมด้วยคนค่ะ...ครูอ้อยคงจะเป็น..แม่สายบัวแต่งตัวพริ้ง..แบบที่ครูบา..เอ่ย..
  • แต่คุ้มนะคะ..หากท่านแม่สายบัวปฏิบัติจริง...ต้องได้มากกว่า..พิเศษ..ประมาณเชี่ยวชาญ..ละมั้งคะท่าน
  • ประมาณว่า....นำเงินมาเรียน PH.D.ได้อย่างสบายใจ

ตั้งใจทำไปเถิดค่ะ..ขอย้ำ..ตั้งใจปฏิบัตินะคะ..ผ่านแน่ค่ะ

ครูอ้อยครับ

P

เรื่องนี้สำคัญมาก ผมยินดีมากที่ครูได้เขียนBlog เกี่ยวกับ "วิทยฐานะ" อย่างน้อยพื้นที่บันทึกครูอ้อย ก็จะได้บอกเรื่องราวที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่ทรงเกียรติครับ

ผมอยากให้คุณครูเขียนบันทึกอย่างครูอ้อยจังครับ ...เพราะตรงนี้หละครับ เป็นพื้นที่ในการฝึกฝน ทั้งการคิด วิเคราะห์ และเทคนิคการเชื่อมโยง รวมถึงการสื่อสารด้วยวิธีการถ่ายทอดทางสื่อสาธารณะ

ตรงนี้เองเรียกว่า competency ที่แท้จริง

ขอบคุณครูอ้อยมากครับ

P

ยินดีสำหรับการเขียนสิ่งที่อึดอัดในใจออกมา เพราะเป็นการสะท้อนให้ผู้ที่สูงขึ้นไปที่อยู่ในระดับนโยบายได้รับทราบรับรู้...

การคิดแบบเดิม ทำให้การพัฒนาคนที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ร่อแร่ยิ่งขึ้นไป

ผมเห็นใจคนทำงานครับ

เกณฑ์การประเมิน และแนวคิดการประเมินดีครับ แต่กระบวนการทำก่อนนั้น(ก่อนจะส่งผลงาน)  ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้

จริงๆแล้วผมมองว่า การอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตนเอง และจัดเป็นช่วงๆ น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่คงเสียงบประมาณ และเวลาไม่น้อย

คุณเอกคะ

  • ครูอ้อยพยายามมากที่จะนำพาเพื่อนครูสู่การเขียนบันทึกเพื่อความรู้ในแนวกว้างและมี competency ในตนเอง  แต่ภารกิจของครูมีมากเหลือเกิน  มากเกินกว่าที่จะมีเวลาในการเขียนบันทึกค่ะ
  • ครูอ้อยก็ดีใจที่คุณเอก..มีส่วนร่วมและค่อนข้างจะเป็นผู้นำในเรื่องวิทยฐานะ..ซึ่งครูอ้อยจะได้มีเพื่อนร่วมทาง

เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เพื่อนร่วมทางค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P

กระบวนการแบบนี้บอกไม่ได้ครับ ว่าได้ครูชำนาญการพิเศษจริงหรือปลอม กันกี่คน แต่ทางออกแบบนี้ ต้องมองที่กระบวนการพัฒนา(๙ - ๒๑ มีนาคม ๕๐) ว่าออกแบบการเรียนรู้กันอย่างไร แต่ก็ไม่พอครับ กระทรวงศึกษาน่าจะมีกระบวนการประเมินตามระยะเวลาหลังจากนั้น

ส่วนเม็ดเงินที่จะ ลงไปที่ ว่าที่ครูชำนาญพิเศษ ต่อเดือนมากโขอยู่ครับ

ตอนนี้ตัวเลขทั่วประเทศอยู่ที่ (เฉพาะครั้งนี้) ๒ หมื่นกว่าคน

คิดเล่นๆ  เอาตัวเลขมาคูณ ๕,๖๐๐ บาท

นั่นคือเงินเพิ่มที่ต้องจ่ายออกไปต่อเดือนครับ

........

หากเรื่อง "งบประมาณ" ไม่ใช่ปัญหา  ...สิ่งที่ต้องดูกันต่อไปคือ คุณภาพของครูชำนาญการพิเศษ ครับ

ครูอ้อย

P

คือ "ครูต้นแบบ" และ "คุณครูมหัศจรรย์" ใน โลกแห่งการเรียนรู้ไม่มีพรมแดนครับ

ต้องโคลนนิ่งครูอ้อยไว้เยอะๆครับ

ขอบคุณค่ะ 

P
ผมได้ตามไปอ่านแล้วครับผม

ขอแสดงความยินดีด้วยกับคุณแม่ยายที่ยังสวยแข่งกับคุณลูกสาวได้สบายๆครับ

เย้....แบบนี้ต้องมีบันทึกเกิดขึ้นอีกชื่อเรื่อง...แม่กับลูกสวยแข่งกัน...เย้...

ขอบคุณค่ะ

  • อย่างไรก็ตาม...ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่กระทรวงศึกษาธิการ เปิดโอกาสให้ในครั้งนี้---------
  • เมื่อสมัยผมรับบรรยายในโรงเรียนมัธยม ผมเคยไปถามเด็กๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน ที่ผมทราบคือ ครูบางคนก็ไม่ได้ใส่ใจกับการสอนและมุ่งจะทำผลงาน ดังนั้น ไม่รู้ดีหรือร้ายนะครับ
  • แน่นอนละ ดีแน่คือการเลื่อน เปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงคู่กันคือ ผู้เรียนต้องใช้ศักยภาพของตนมากขึ้น ที่ไม่ใช่การรอรับความรู้และหรือรอให้ผู้เป็นครูมาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้
  • สงสารครูเหมือนกัน ทำงานเอาเป็นเอาตาย แต่สุดท้ายก็รวยน้ำใจแต่เป็นหนี้ ฮะฮะฮะ

อ. นมินทร์ (นม.)

นั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ ทำให้เกิดการอบรมในครั้งนี้ครับ

แต่บรรยากาศก็เครียดมากเลยครับ...ถือว่า เป็นการเรียนรู้ และทำ work shop ที่มีเงื่อนไขเวลากำหนด และคุณครูท่านก็อาวุโส แล้วครับ...

ให้กำลังใจครูครับ

ครูอ้อยครับ

ผมจะรออ่านบันทึก "แม่กับลูกสวยแข่งกัน"

you are peace warrior

"Real Battles Are Wihtin"

สวัสดีครับอาจารย์  เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท