ผักคุณกิจ


หารือก๊วนคุณกิเปิดตลาดผักปลอดสารพิษ
วันที่ 5 ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ลงพื้นที่ไปเจอกับเกษตรกรจากที่หายไปช่วงหนึ่ง   ผมก็ได้ประสานคุณกิจให้มาเจอกันที่บ้านลุงอิน ก็มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้

ลุงอิน บอกว่าเมื่อไม่กีวันนี้ก็ไปขายผักให้กับงานของกลุ่มสตรีแล้วผู้ว่าเดินชมบูตลุงอินก็เอาป้ายที่ สคส. แขวนไว้หน้าบูต แล้วผู้ว่าก็บอกว่าเดี่ยวไปเยี่ยม ตกเย็นเกษตรอำเภอมาดูลุงอินที่สวนเลยลุงอินถามว่าแล้วไม่มีใครขับรถให้หรอ รอไม่ทันแล้วพรุ่งนี้ส่งงาน(หัวเราะ)

อ.วรรณิภา  อาจารย์ได้ไปขายความคิดไว้หลายที่ที่จะเปิดกระจ่ายสิ้นค้าของชาวบ้าน ข้าราชการเนี่ยมันเฉยน๊ะ มันไม่ทำออกนอกแนวทำไมเอาข้าราชการเอาตัวอย่างไปน๊ะส่วนมากเอาที่คนสำเร็จแล้ว แล้วทำไมไม่ไปดูคนที่ไม่สำเร็จดูบ้าง

คุณวิสันต์  ถ้าผักปลอดสารพิษคนหลายกลุ่มเค้าก็จะเลือดผักที่ไม่ปลอดสารพิษ

อ.วรรณิภา  ต้องทำให้เห็นภาพเลยอย่างเช่นการยกตัวอย่างคนแท้งลูกมันทำให้เห็นภาพ เน้นสื่อที่ทำให้เกิดผลต่ออนาคต

ลุงอิน ไม่มีใครมาช่วยเราอย่างได้จริงจังหรอกเราต้องช่วยตัวเอง มีอาจารย์มาทำวิยานิพนน์ให้แต่ว่าคนมาดูงานเอาไปเลย เลยไม่ได้ดูเลย

ลุงบุญมา เศรฐกิจพอเพียงที่เค้ารับมาเนี่ยมันต้องผ่านด้วยมือตัวเองนะ มันต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดก่อนเค้ามาเด็ดยอดเลยผมว่ามันไม่ใช่ ถ้าเปรียบเหมือนพระพุทธศาสนาก็เหมือนจับบวชเลย คนอีสานที่อยู่ได้เนี่ยเพราะเค้าแห้งแล้งมันอินกับเศรฐกิจพอเพียง คนอีสานเค้าไม่ปลูกข้าวขายนะเค้าปลูกไว้กกิน แล้วก็ยังมีหนอง มีปลา เค้าก็ทำปลาหร้า คือการถนอมอาหาร ส่วนคนข้างบ้านไม่มีก็มาแลกเปลี่ยนกัน

อ.วรรณิภา  สมมุติถ้ากระทรวงเกษตรเข้ามาหาลุงอินหรือลุงบุญมาควรจะดำเนินอย่างไรถึงจะดำเนินแนวคิดหรือใช้ได้ประโยคน์

 อ.วรรณิภา   ทางหน่วยงานาชการหรือจะขับเคลื่อนดำเดินการให้เดินไปทำอย่างไร

ลุงบุญมา   หาหรือกันเป็นกลุ่ม พอหารือจากกลุ่มแล้วขยายไปที่ชุมชน หารือว่าชุมชนมีปัญหาอะไรแล้วเราจะแก้อย่างไร

นี่เป็นการคุยนอกรอบแต่ว่าได้ประโยคน์มากเลยผมเลยบันทึกมาเล่าให้ฟังครับ

พี่ตั๋ว  ทางโรงพยาบาลพิจิตรจะเปิดตลาดให้เราก็ต้องมาหารือกันว่าเราจะทำอย่างไร

พี่วิสันต์ ที่ผมเข้าร่วมประชุมกับผู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับตลาดผักเพื่อที่จะหาแนวทางขายผักแต่พอฟังแนวคิดมันทำให้เกษตรกรเสียเปรียบทุกอย่างไม่ว่าสัญญาที่เอาเปรียบเกษตรกรมากเลยท่านผู้ว่าจะเอาส่งท๊อปอย่างเดี่ยว

ลุงอิน เราทำอย่างหนึ่งเค้ามองอย่างหนึ่งเหมือนกับเค้าจะทำให้กับคนมีตังค์ แต่เราจะทำให้กับคนไม่มีตังค์แนวคิดมันแตกต่างเลย(นี่เป็นมุมมองของเกษตรกรนะครับ)

คุณเจน ก็ได้ร่วมเข้าประชุมเหมือนกันที่พี่วิสันต์บอกตอนนี้กลุ่มทับหมันกับคลองคูณขายร่วมกันไม่ได้เพราะกำไม่เท่ากันหรือราคาไม่เท่ากัน ต้องเครือข่ายกำหนดราคากลางถ้าใครไม่ทำในระบบก็ให้หรุดออกไปเลยก็ได้ ตอนนี้ก็ขายที่โรงพยาบาลยุบราช โรงพยาบาลบางมูลนาก ที่ปั๋มสุธิสิน แล้วที่ทับหมัน

ลุงอิน ผู้นำเราไม่รู้ว่าจะคิดเรื่องสกัดกั้นเรื่องนี้หรือเป่าได้แต่ซ่อมอย่างเดียวเลย (หมายความว่าหมอๆๆน๊ะ)

คุณเจน ตอนนี้ร่วมตัวกันปลูก 4 - 5ไร่ส่วนการประชาสัมพันธ์ก็เป็นวิทยุชุมชนเป็นหลัก( ของผู้ใหญ่วิชัย ทองชัยสื่อภาคประชาชน) ก็ไปออกเองด้วยวิทยุประชาสัมพัให้ด้วยเมล็ดพันธ์ยังใช้ทั่วไป

คุณเทอม ลูกค้าหนาแน่นเหมือนเดิม ราคาเท่าเดิม ส่วนผักก็รับที่ไผ่รอบแล้วของลุงอินแหล่งผลิตของผมไม่มีปัญหาแหล่งผลิตผมเยอะ (ผมเรียกคุณเทอมว่าเป็นคุณจัดการ จัดการได้ดีมากเพิ่มมาจากคุณเอื้อ)

พี่วิสันต์ ที่สำคัญเนี่ยของกลุ่มผักเรายังไม่มีตลาดกลาง

พี่เทอม อย่างที่วิสันต์บอกมันไม่มีตลาดกลางเราจะได้มองกลับมาดูกลุ่มผลิตได้ แล้วผมก็ต้องหาตลาดธรรมดาเพื่อที่จะกระจ่ายผลพลิตออก

พี่วิสันต์ ถ้าให้ผู้ผลิตมาคิดการตลาดหรือทำตลาดเนี่ย มันทำไม่ได้มันต้องอยู่กับผักตลอดเวลามันไม่มีเวลามาคิดเรื่องตลาดหรอก สมมุติเราตั่งตลาดกลาง เราก็จะวิ่งตลาดกลางเลยแล้วถ้าพ่อค้ารู้เค้าก็วิ่งมาหาเรา เราต้องทำให้ของเราให้ดีก่อนเดี่ยวเค้าก็วิ่งมาหาเราอยู่แล้วท๊อปก็วิ่งมาหา ก็เราทำจริง ไม่ใช่วิ่งไปหาเค้าเด้อ...

พี่ตั๋ว เราต้องหาจุดที่น่าสนใจก็คือโรงพยาบาลต้องคุยกับแม่ค้าของโรงพยาบาล

ลุงอิน ต้องให้แม่ค้ากำหนดมาเลยนะ

พี่วิสันต์ ปัญหาของเราก็คือราคา เราต้องยืนราคาไว้ก่อน

อ.วรรณิภา  อย่างเช่นข้าวก็มีอาจารย์คนหนึ่งถามว่าทำมัยข้าวหักเยอะจังก็ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าเราไปสีที่โรงสีเล็ก ให้ที่คุณเห็นสวยน๊ะเค้าสีโรงสีใหญ่แล้วเค้าปนมา แต่ของเราเนี่ยเราคุมได้ เนี่ยมันไม่มีคนอธิบายให้เค้าเข้าใจ อย่างเช่นเรื่องผัก ว่าทำมัยมันถึงแพง ก็ต้องบอกว่าเราใช้แรงเยอะมันต้องแยให้เห็นภาพ

พี่เทอม ผลผลิตมันเยอะก็ต้องไปขายจรแต่ผมไม่บอกว่าปลอดเค้าไม่สนใจ ปลูกประมาณ4-5ไร่ใช้ประชาสัมพันธ์ด้วยตัวเองแล้วก็ อบต.ช่วยบ้างใช้หนังสือสูตรที่มูลนิธิทำแจกใช้ได้ผลมากเลย

พี่ประวัติ  ตอนนี้ขายในโรงพยาบาลอยู่ 2 วันแล้วก็ตลาดนัดครฐมบางทีก็ขายไม่หมด คนไม่เข้าใจ ทำป้ายช่วยประชาสัมพันธ์พยายามเขียนเองยังขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ ส่วนมากเป็นข้าราชการชาวบ้านไม่ค่อยมาซื้อ

พี่เทอม ทำอย่างไรให้คนธรรมดารู้จักเรา มันต้องไปทีระขั้น อย่าก้าวกระโดด

พี่วิสันต์  หลากหลายไม่เท่าไรแต่ทำอย่างไรให้ต่อเนื้อง

พี่เทอม  เราต้องอธิบายว่ามันเป็นผักปลอดภัยไม่ใช่ปลอดสาร อันนี้เราต้องอธิบายให้ได้

ลุงอิน  อย่างที่วิสันต์บอก ถ้าแม่ค้ามาแล้วใครจะเก็บให้ เราต้องเก็บเอง ต้องมีตลาดกลาง

พี่เทอม ต้องมีมาตราฐานเดียวกัน

พี่วิสันต์  เอาเจนเอามาขายนำร่องก่อนแล้วไปรับผักทับหมันมาด้วย แล้วเจนจะมาขายวันไหน (วันพฤหัสบดี)

พี่ตั๋ว ตัวยืนคือเจน รับผักมาจากทับหมัน คลองคูณ ลุงอิน พี่เทอม

ครับนี่ก็เป็นการเอาการจัดการความรู้ (km) ของอาจารย์หมอวิจารย์มาใช้กับเกษตรกรเราได้ผลอย่างดีมากเลยครับ

แล้วมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรยังเป็นคุณเอื้อแล้วก็คุณประสาน เอื้อเอาทางโรงพยาบาลมาเจอกับเกษตรกรแล้วไปดูงานที่บ้านลุงอินกับก็ลุงจวนเพื่อที่จะให้เค้ารับรู้ว่านี่นะคือฐานผลิต พอกลับมาไม่กี่วันทางโรงพยาบาลก็ติดต่อให้เอาผักมาขายที่โรงพยาบาลได้มัย..เป็นการนำเอาKMมาใช้ประโยคน์กับเกษตรกรที่พิจิตรแล้วได้ผล

หมายเลขบันทึก: 83120เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท