การแบ่งระดับการรู้เท่าทันการสื่อสาร


ความเข้าใจที่ลึกซึ้งที่สุดและเป็นทักษะขั้นสูงสุดคือ การเข้าใจการระดับของการ "ประกอบสร้างความจริง" ตามการทักษะการรับรู้ของมนุษย์

(46)

 

 การแบ่งระดับของการรู้เท่าทันการสื่อสาร  ในโพสต์ติ้งนี้ ยังคงเป็นมุมมองเฉพาะบุคคล   โดยใช้เกณฑ์ "การเข้าใจความจริงเบื้องหลังการสื่อสารครั้งนั้นๆ" เป็นเส้นแบ่ง  

ความเข้าใจที่ลึกซึ้งที่สุดและเป็นทักษะขั้นสูงสุดคือ การเข้าใจการระดับของการ  "ประกอบสร้างความจริง" ตามการทักษะการรับรู้ของมนุษย์

จุดที่น่าวิพากษ์ของมุมมองนี้คือ  พยายามนำหลักคิดบางประการในแนวพุทธ   มาอธิบายกระบวนการสื่อสารขั้นสูงสุดของมนุษย์    

(แบบผู้ไม่รู้ลึกซึ้งในศาสตร์  แต่อยากขอโอกาสนำเสนอ  และพร้อมที่จะให้วิพากษ์เพื่อแลกการเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน)   

ก่อนอื่นขอทบทวนสักนิดหนึ่งว่า

การรู้เท่าทันการสื่อสาร ระดับต้น

เน้นที่การรู้เท่าทันกระบวนการสื่อสารครั้งนั้นๆ  ทั้งกระบวนการ ได้แก่การรู้เท่าทันความหมายแท้จริงของสาร  รู้เท่าทันเจตนาของผู้ส่งสารการรู้เท่าทันสื่อ   รู้ผลกระทบ และผลสืบเนื่องของการสื่อสารครั้งนั้นๆ รู้เท่าทันการสื่อสารประเภทนั้นๆทั้งกระบวนการ

ถามอย่างง่ายว่าการรู้เท่าทันการสื่อสาร ระดับต้น เราต้อง รู้ อะไร

ตอบอย่างง่ายว่าต้องรู้ความหมาย รู้กระบวนการสร้างความหมาย รู้ผลอันเกิดจากความหมาย และรู้เจตนาที่ทำให้สื่อความหมายเช่นนั้นออกมา และเพ่งไปที่  การรู้เท่าทันกระบวนการสื่อสาร  ในฐานะที่เราเป็นผู้รับสาร

สรุปเป็นคำสั้นๆว่า คิดทัน รู้ทัน

 

การรู้เท่าทันการสื่อสาร ระดับกลาง

เน้นที่การรู้เท่าทันเจตนา  ว่าเขามีจุดมุ่งหมายในการสื่อสารครั้งนั้นๆอย่างไร  เจตนา  หรือจุดมุ่งหมายนั้น จะให้คุณให้โทษแก่เราอย่างไร โดยอาศัยประสบการณ์ชีวิตและความรู้ทางจิตวิทยาการสื่อสารเข้ามาช่วย เพื่อให้เราวางท่าทีความสัมพันธ์กับเขาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

และเพ่งไปที่ การรู้เท่าทันเจตนา  ในฐานะที่เราเป็นผู้รับสาร

การรู้เท่าทันการสื่อสาร ทั้งระดับต้นและระดับกลาง ยังเป็นทักษะแบบตั้งรับ คือมีปัญหามาก่อน แล้วจึงหาวิธีรับมือกับปัญหา

 สรุปเป็นคำสั้นๆว่า คิดทัน รู้ทัน และหยั่งรู้ได้

แปลว่าบางที  เราอาจยังไม่ได้ "รู้เท่าทันธรรมดา" นะคะ  แค่อ่านใจคนออกโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลรอบด้านอย่างแยบคาย  ให้มากพอ  ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์การสื่อสารที่ซับซ้อนมาก ในระยะเวลาที่นานพอสมควร

 

 การรู้เท่าทันการสื่อสาร  ระดับสูง

เน้นที่ การรู้เท่าทัน   ที่เกิดขึ้นในจิตใจ ของคนผู้นั้น  ทั้งในฐานะที่เป็น ผู้ส่งสาร  และเป็นผู้รับสาร 

คือ ไม่ว่าเราจะกำลังอยู่ในบทบาทของผู้ส่งสาร หรือผู้รับสาร ก็ตาม    ทั้งสองบทบาทนั้น   ก็ควรฝึกกระบวนการสื่อสารอย่างรู้เท่าทัน  คือฝึก "ติดตาม - กำกับใจตนให้ทัน"

ทุกครั้งที่สื่อสาร (ทั้งในฐานะผู้ส่งสาร และผู้รับสาร) ต้องถามตัวเองว่า เราเป็นใคร เราคิด หรือ กำลังทำอะไร  ที่เราคิด หรือกำลังทำ นี้  เหมาะไหม  ควรไหม  ถ้าควร  จะต่อไปอย่างไร  ถ้าไม่ควร  จะหยุดอย่างไร  หรือจะเปลี่ยนไปทำอย่างไร

(ข้อความข้างบนนี้ดูเหมือนเป็นคำถามโดยสามัญสำนึก  ที่ทุกคนสามารถคิดได้)

 คือเน้นให้เกิดการรู้เท่าทันความจริงตามธรรมดา   รู้เท่าทันโลก  รู้เท่าทันชีวิต  รู้เท่าทัน "ใจ" คน  (ทั้งคนอื่น และตนเอง)

(ข้อความข้างบนนี้เป็นวิธีคิดขั้นสูง  ที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน  แต่หากเราเชื่อในศักยภาพของคน  ก็น่าจะพอเชื่อได้ในเบื้องต้น ว่า 

"การรู้เท่าทันการสื่อสาร ระดับสูง"   มิใช่ทักษะที่สูงเกินความสามารถของมนุษย์  มีมนุษย์จำนวนมากเพียรพยายามฝึกตนจนเข้าใจ  และทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยดีบนโลกใบนี้ 

สรุปเป็นคำสั้นๆว่า คิดทัน รู้ทัน หยั่งรู้ และหยั่งเห็นตามที่เป็นจริง

ทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร  ที่บรรยายมาทั้งหมดนี้  ยังมิใช่การปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น ตามคติแนวพุทธ

แต่เป็นการ หาวิธี ช่วยฝึกวิธีคิด  เพื่อทำให้พอเข้าใจจิตใจของตน  และมองเห็นแนวทางเบื้องต้น  ที่จะทำให้ใจสงบ  และไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น (เกิดจิตกุศล) เท่านั้น

 

เท่าที่พยายามอ่านและเปิดพจนากรมแปลกระท่อนกระแท่นมาเกือบปี ดิฉันสันนิษฐานว่า การฝึกวิธีคิด communication literacy แบบต่างๆตามตำราตะวันตกเท่าที่ดิฉันมีโอกาสได้อ่านในอินเตอร์เน็ต(ซึ่งมีประโยชน์มากนั้น) ก็ยังเป็นทักษะแบบตั้งรับ คือต้องมีตัวปัญหามาก่อน แล้วก็มนุษย์ก็คิดหาวิธีคิดอันชาญฉลาดต่างๆมาใช้ในการแก้ปัญหา
ถ้าดิฉันสันนิษฐานผิด ต้องขออภัยด้วยนะคะ

 

...................................................................

ปรับเพิ่มเติมจาก เว็บไซต์วิชาการด็อตคอม กระทู้ การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy)  ความเห็นเพิ่มเติมที่ 40    12 ธ.ค. 2549  

 

 

หมายเลขบันทึก: 82720เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท