คนว่าง่าย


คนที่เป็นอัมพาต แม้จะมีของดีวางอยู่รอบตัว ก็ไม่อาจหยิบฉวยนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ฉันใด คนหัวดื้อว่ายาก แม้จะมีครูอาจารย์ดีวิเศษแค่ไหน ก็ไม่สามารถถ่ายทอดเอาวิชา คุณความดี มาใส่ตัวได้ฉันนั้น
                     ได้มีโอกาสอ่านหนังสือมงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท  ที่เรียบเรียงโดยพระสมชาย   ฐานวุฑโฒ  สะดุดตาสะดุดใจ ที่มงคล  28    เรื่อง   เป็นคนว่าง่าย    สาระสำคัญกล่าวถึง   การเป็นคนว่าง่าย   โดยทั่วไปมักเข้าใจว่า   เป็นคนที่เชื่อฟังผู้อื่น   ไม่เถียง หรือทำตามคำสั่งสอน    ซึ่งในหนังสือเล่มนี้    ท่านได้จัดประเภทของคนว่าง่าย ออกเป็น   3    ประเภท   คือ                    

ประเภทที่  
1    ว่าง่ายเพราะเห็นแก่ได้     คือเป็นคนที่เห็นแก่อามิสสินจ้าง    รางวัล     จึงว่าง่าย   พวกนี้จัดว่าเป็นพวกว่าง่ายเทียม     
                    
ประเภทที่  
2   ว่าง่ายเพราะขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง     คือ     เป็นคนที่ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง    ใครบอกหรือพาทำอะไรก็ทำ       พาไปไหนก็ไป     พวกนี้จัดว่าเป็นพวกว่าง่ายเทียม                   
ประเภทที่  
3   ว่าง่ายเพราะเห็นแก่ความดี    คือ   คนที่ยึดธรรมะเป็นใหญ่   เห็นธรรมจึงว่าง่าย   พวกนี้จัดว่าเป็นพวกว่าง่ายที่แท้จริง  
                   

       พร้อมนี้ได้มีการสรุปไว้อย่างน่าฟังว่า    คนที่เป็นอัมพาต  แม้จะมีของดีวางอยู่รอบตัว  ก็ไม่อาจหยิบฉวยนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ฉันใด    คนหัวดื้อว่ายาก แม้จะมีครูอาจารย์ดีวิเศษแค่ไหน  ก็ไม่สามารถถ่ายทอดเอาวิชา  คุณความดี  มาใส่ตัวได้ฉันนั้น   
                  

      หากมองในมุมของการจัดการความรู้  ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้ที่มีในตัวคน เข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ก่อเกิดเป็นสิ่งสารประโยชน์ต่อการพัฒนาใดๆแล้ว  การจัดการความรู้น่าจะมีฐานสำคัญอยู่การบริหารจัดการคน  และทันทีที่เราคิดเรื่องนี้ เราจึงเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมชาติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
                

     หากมองผ่านแนวคิด ที่ว่าด้วยการเป็นคนว่าง่าย  หากหน่วยงานใด  ชุมชนใด  มีคนว่าง่ายประเภทที่
1  และประเภทที่  2  มากกว่า  ประเภทที่  3    เราจะทำอย่างไร   หรือ วิธีการที่จะล่วงรู้ว่าคนในหน่วยงาน ในชุมชน  มีลักษณะอย่างไร  เราจะทำอย่างไร  มีกลยุทธ์  ในกระบวนท่าใด                  

     ผมนำประเด็นเช่นนี้  มาแลกเปลี่ยนในเวทีนี้  ด้วยเชื่อมั่นว่าทุกท่านในเวทีนี้ ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ซึ่งหากเรารู้คุณลักษณะของคนเป็นอย่างดี   วิธีการจัดการความรู้แบบธรรมชาติ ก็จะเห็นภาพแห่งความสำเร็จได้ดีเช่นกัน        
      
หมายเลขบันทึก: 82464เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล

ในจิตศาสตร์ ของหลวงวิจิตร วิจิตรวาทการ กล่าวว่า เรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนนั้น จะประกอบด้วย  สัญญา และปัญญา  เพื่อคนและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้เคลื่อนไหว ในสัญญา 5 อย่าง ทางตา หู ลิ้น จมูก กาย และใจ ดำเนินไปอย่างว่ายากหรือว่าง่ายของคน   ถ้าเราเห็นสุนัขซึ่งต่างจากคน เพราะไม่มีปัญญา มีแต่สัญญาอาการที่แสดงออกมาจะเป็นเชื่องในความที่เป็นเจ้าของอาหารวันละหลายมื้อ เชื่องในความที่เป็นสุนัข คิดไม่เป็นใช้ให้ทำอะไรก็ทำ กับ สุนัขที่เชื่องเพราะธรรมะ ไม่มี เพราะว่าเทวธรรมคือขันติ และโสรัจจะ (อดทนและเสงี่ยม) สุนัขแยกพ่อแม่ได้หรือไม่ เวลาทานอาหารต้องให้พ่อแม่ทานก่อนแล้วค่อยทาน  สุนับทำได้หรือไม่  ถ้าอย่างนั้นที่คนต่างจากเดรัจฉานคือ ปัญญา คนมีปัญญา คือการรู้ผิดชอบชั่วดี ปัญญาจะควบคุมสัญญาไม่ใช้กำเริบใฝ่ทางชั่ว    มีคนดี 1ใน 3 ก็ดีแล้ว  ถ้าดีด้วยฉลาดด้วยสัก หนึ่งคน จะคุมคนได้เป็น พันเป็นหมื่นคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท