การเห็น 3 ประเภท เพื่อเพื่อความเข้าใจในชีวิต


. . . ถ้าเรามีการเห็นประเภทที่สองแล้ว “บางที” สิ่งต่างๆ อาจจะไม่ยุ่งยากดั่งที่เราเป็นอยู่นี้ก็ได้ เราอาจไม่จำเป็นต้องดิ้นรน “ค้นหา” “บ้าศึกษา บ้าวิจัย” หรือ “บ้าจัดการความรู้” อย่างที่เป็นอยู่นี้ก็ได้. . .

การเห็น ที่ว่านี้ ผมไม่ได้หมายความเพียงแค่การเห็นด้วยตาเท่านั้น หากแต่ว่ารวมไปถึงเรื่องที่อยู่ เบื้องหลัง ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทัศนคติ กระบวนทัศน์ กรอบความคิด  หรือ ทิฏฐิ  ที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ รอบข้าง ผมจะลองแบ่ง การเห็น ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้:        

        ประเภทแรก  เป็นการเห็นผ่าน “instinct” คือเห็นไปตาม สัณชาตญาณ เป็นการเห็นที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะแล้วเห็นไปตามกิเลสตัณหา เป็นการเห็นที่เป็นอัตโนมัติ ปราศจากการรู้ตัว (เผลอ หรือ หลง) จริงๆ แล้วน่าจะเรียกว่า ไม่เห็น น่าจะถูกต้องกว่า !!        

        ประเภทที่สอง  เป็นการเห็นผ่าน “intelligence (เชาวน์ปัญญา) ที่ทุกคนมีมาแต่ดั้งเดิม เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวแล้ว เพียงแต่อาจจะถูก บดบัง ไว้ ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ในบางครั้งที่ ใจเรานิ่ง พอ ก็จะเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดแจ้ง แบบที่เรียกว่า “intuition หรือ ปัญญาญาณ          

        ประเภทที่สาม  เป็นการเห็นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ผ่านการพิสูจน์ ผ่านการทดลอง (Experiment) ผ่านการวิเคราะห์ การวิจัย เพื่อที่จะให้ได้เข้าใจกฎธรรมชาติ เข้าใจ ความจริง        

        สรุปว่าคนทุกคนต่างก็มีการเห็นประเภทที่หนึ่งอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ ส่วนการเห็นประเภทที่สองนั้นเป็นความสามารถดั้งเดิมของเรา เพียงแต่ว่าเราไม่อยู่กับปัจจุบัน ไม่มีสติไม่รู้ตัว จึงไม่ได้เข้าถึงศักยภาพที่มีอยู่นี้ การศึกษาปัจจุบันจึงจำเป็นต้องสอนเรา เพื่อให้เข้าถึงความจริงผ่านการเห็นประเภทที่สาม         

        ผมได้แต่คิดว่าถ้าเรามีการเห็นประเภทที่สองแล้ว บางที สิ่งต่างๆ อาจจะไม่ยุ่งยากดั่งที่เราเป็นอยู่นี้ก็ได้ เราอาจไม่จำเป็นต้องดิ้นรน ค้นหา  บ้าศึกษา บ้าวิจัย หรือ บ้าจัดการความรู้ อย่างที่เป็นอยู่นี้ก็ได้        

        ยอมรับครับว่าเขียนไปทั้งๆ ที่ไม่ แน่ใจ เหมือนกันว่า การมอง ทำนองนี้มา ถูกทาง หรือเปล่า ? หรือว่า หลุดโลก เกินไป รบกวนช่วย เจียรนัย กันต่อด้วยนะครับ.... เพื่อความเข้าใจในชีวิต และจะได้ไม่เดินไปผิดทาง

หมายเลขบันทึก: 82343เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ผมใช้แบบที่สองและสาม
  • แต่บางครั้งก็ใชแบบที่ 1 ในชีวิตที่ดิบๆๆเหมือนกันครับอาจารย์
  • ขอบคุณครับ

เรียน ท่าน อ.beyondKM ค่ะ

  • ต้องขอประทานโทษอาจารย์ในเบื้องต้นค่ะ...
  • ดิฉันอ่านบันทึกนี้ของอาจารย์แล้ว....เข้าใจยากมากค่ะ..อาจจะเพราะดิฉันห่างไกลภาษาทางธรรมที่อาจารย์ใช้
  • ดิฉันพยายามทำความเข้าใจกับ"การเห็น"ทั้งสามประเภทของอาจารย์...แต่อยากให้ช่วยอธิบายง่ายๆเพิ่มเติมด้วยค่ะ.....
  • ...ที่แน่ๆ...ดิฉันเห็นด้วยตรงที่..สิ่งต่างๆ อาจจะไม่ยุ่งยากดั่งที่เราเป็นอยู่นี้ก็ได้ เราอาจไม่จำเป็นต้องดิ้นรน .
  • พยายามทำเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่ายๆดีกว่าค่ะ...คิดง่าย....พูดง่าย...จะได้เอาไปทำง่ายๆค่ะ..
  • ขอบคุณค่ะ...

การเห็นประเภทที่ 1 และ 2 เป็นการเห็นของแต่ละบุคคล...

แต่การเห็นประเภทที่ 3 เป็นการเห็นเพื่อต้องการพิสูจน์ให้สังคมได้รับรู้ด้วยครับ....

คุณกฤษณา อ่าน Comment ของ Mr.Direct แล้วคงกระจ่างนะครับ

ประเด็นผมมีอยู่นิดเดียวครับว่า การเห็นประเภทแรกนั้นไม่ใช่การเห็นตามที่เป็นจริง เพราะเห็นผ่าน Filter ของแต่ละคน การเห็นประเภทที่สอง เป็นการเห็นโดยไม่ผ่าน Filter ใดๆ ส่วนการเห็นประเภทสุดท้ายต้องอาศัยเครื่องมือครับ ซึ่งต้องรู้ด้วยว่าตัวเครื่องมือเองก็มีข้อจำกัด

ผมเองกำลังสนใจการเห็นประเภทที่สอง จึงลอง "ขว้างหินถามทางดู"  ...เท่านั้นเองครับ อย่าคิดมาก เรื่องธรรมม้ง ธรรมะ อะไรเลยครับ มองให้เห็นเป็นเรื่อง "ธรรมดา" ดีกว่าครับ

ใช้แล้วครับ ถ้าทุกคนรู้และเห็นประเภทที่2 ในสังคมมนุษย์นี้จะไม่มีอะไรยุ่งยาก ปัญหาต่างๆจะหมดไปครับ

เรียน ท่าน beyondKM ค่ะ

  • อ่าน Comment ของ Mr.Direct แล้วกระจ่าง...ชัดค่ะ
  • ยิ่งมาอ่านคำอธิบายของอาจารย์....ยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น....แจ๋วแหววเลยค่ะ...
  • ขอบคุณท่านทั้งสองค่ะ

เห็นแล้ว  รู้แล้ว  ทำอะไรไหม ? หรือก็ยัง รู้ แต่ไม่ทำ

      ถ้าอย่างนั้นต้องเห็นดีแล้ว  รู้ดีแล้ว  ทำดีแล้ว  และก็ได้ผลสมบูรณ์ดีแล้ว     ก็ครบบริบูรณ์สิครับอาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท