beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ก้าวแรกของการใช้ KM ในกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่าง


ความจริงเรื่องการจัดการความรู้หรือ KM ก็ได้มีมาก่อนหน้านี้นานพอสมควรแล้วแต่ยังไม่ทราบว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้นเป็นเรื่องการจัดการความรู้

     วันนี้จะเป็นการพบปะพูดคุยกันระหว่างนักวิชาการกับกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งฯ อย่างเป็นทางการ (มีการกำหนดในแผนดำเนินงาน) โดยมี KV คือ ทิศทางผู้เลี้ยงผึ้งจะเดินกันไปทางไหน มี KS เป็น Story telling ของผู้เลี้ยงผึ้ง ซึ่งจะได้ถอดเป็นบทเรียนมาใช้สำหรับกำหนดทิศทางของกลุ่มฯ และบันทึกไว้ใน KA ต่อไป ทั้งนี้โดยมีท่านอาจารย์วิบูลย์ เป็นทั้งคุณเอื้อและคุณอำนวย ส่วนคุณกิจเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งและนักวิชาการอีก 1-2 ท่าน และคุณลิขิตก็เป็นทีมงานของท่านอาจารย์วิบูลย์

     คุณกิจ เป็นกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้ง 2 จังหวัด คือ อุตรดิตถ์และพิษณุโลกประมาณ 13 ท่าน  เนื่องจากผู้เลี้ยงผึ้งจังหวัดอื่น อยู่ห่างไกลออกไปและอยู่ในช่วงเตรียมผึ้งเข้าเก็บน้ำหวานจากดอกสาบเสือ ที่จริงน่าจะจัดงานต่อจากหรือก่อนการประชุมกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งฯ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 แต่ท่านวิทยากรคือท่านอาจารย์วิบูลย์ไม่ว่าง มาลงตัวในวันที่ 28 พฤศจิกายน นี้ ถ้าอย่างไรเมื่อได้ปฏิบัติแล้วจะนำกลับมาเล่าอีกครั้งหนึ่ง ส่วนท่านผู้ใดเพิ่งเข้ามาเป็นครั้งแรก หรือยังไม่เข้าใจเรื่อง KM ลองกลับไปอ่านบันทึก Model ปลาทู กับ KM ก่อนนะครับ

    ความจริงเรื่องการจัดการความรู้หรือ KM  ก็ได้มีมาก่อนหน้านี้นานพอสมควรแล้วแต่ยังไม่ทราบว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้นเป็นเรื่องการจัดการความรู้ ลองดูภาพประกอบนะครับ แล้วค่อยพบกันใหม่

   
 

 

หมายเลขบันทึก: 8229เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2005 05:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท