กศน.ในมุมมองของรองปลัดกระทรวง


            วันนี้ประชุมที่โรงแรมโกลเด้นซิตี้ระยอง ท่านรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ได้บรรยายพิเศษ ถึงทิศทางกศน. ที่ท่านได้นำพา สานต่อพรบ.การศึกษานอกระบบและอัธยาศัย จนใกล้พอเห็นทางสำเร็จ ตลอดจนได้เกล็ดย่อยและหลักการทฤษฎีทางวิชาการ ที่ใช้ประกอบการทำงานให้น่าเชื่อถือ ผมได้เก็บตกเป็น Mindmap ดังนี้ เชิญชวนให้เลือกประเด็น มุมมองที่สนใจนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 81222เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ดีใจกับชาวกศน.และต้องขอขอบคุณ  ท่าน ดร.ชินภัทร  ภูมิรัตน  ที่เข้าใจงานกศน.อย่างถ่องแท้ กระบวนทัศน์และบทบาทในการทำงานของกศน.จากอดีตสู่ปัจจุบัน  จะบรรลุเป้าหมายไม่ได้หากผู้นำระดับเจ้ากระทรวง  ไม่รู้และไม่เข้าใจ    บทบาทการทำงานที่แท้จริงงานการศึกษานอกโรงเรียน   ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้กับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย  ยากที่จะนำเสนอเป็นร่องรอยของผลงาน  เหมือนในระบบโรงเรียน  ผู้บริหาร กศน.หลายท่านมียุทธวิธี  ทำอย่างไรให้ประชาชนรับบริการอย่างทั่วถึง  และมีความพึงพอใจในกิจกรรมที่จัดให้ตามความต้องการ  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  โดยใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์  มาบูรณาการในการปฏิบัติงาน  ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมียุทธศาสตร์  สู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จได้  โดยให้นโยบายสู่การปฏิบัตคือ 

 1,  การสั่งการ

2,  การประสานเครือข่าย

3,  การแลกเปลี่ยนข้อมูล

4,  การควบคุมตรวจสอบ

5,  การบริหารการเปลี่ยนแปลง

6,  การจูงใจในการทำงาน

หากยึดแนวปฏิบัติได้ดังนี้  งานกศน. จะอยู่ตราบชั่วฟ้าดินสลายอย่างแน่นอน     จากผลพวงของชาวกศน.คิดดี  ทำดี  ผลแห่งความดี    ประชาชนมีคุณภาพ  ประเทศชาติจงเจริญ                                      

พวกเราที่เป็น สมาชิกกองทัพมดงาน กศน ก็คงต้องช่วยกันนำพานาวา กศน.เดินหน้าต่อไปในการรับใช้ประชาชน สังคม ประเทศชาติ ในเรื่องการทำให้ปรุชาชนทั้งหลายอ่านออก เขียนได้ มีอาชีพเลี้ยงตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หวังว่าพวกเราทั้งหลายคงคิดแบบบี้.....

กศน.สร้างคุณค่าสู่สังคมไทยไม่ว่าจะเรื่องใด

คุ้มค่าทุกนาที่มาที่ กศน.

กศน.ให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด

เข้าที่  เข้าถึง  เข้าใจ

ขอแก้ไขข้อความ

พวกเราที่เป็น สมาชิกกองทัพมดงาน กศน ก็คงต้องช่วยกันนำพานาวา กศน.เดินหน้าต่อไปในการรับใช้ประชาชน สังคม ประเทศชาติ ในเรื่องการทำให้ประชาชนทั้งหลายอ่านออก เขียนได้ มีอาชีพเลี้ยงตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หวังว่าพวกเราทั้งหลายคงคิดแบบนี้.....
ชูวิทย์ ศบอ.บางปะกง
     ในส่วนประเด็นของความไม่จำเป็นที่  กศ.ในระบบและนอกระบบต้องอยู่ในระบบบริหารเดียวกันนั้นก็ขอให้ดูถึง ความต้องการของประชาชนความยืดหยุ่นความคล่องตัวและการยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก  อย่าได้มองถึงการสร้างฐานอำนาจ  การแสวงหาผลประโยชน์  ความล่มสลายของบุคคลอื่นยกเว้นพวกพ้องตนเอง  ควรมองถึงชาติบ้านเมือง  ประชาชน  เพราะการให้โอกาสทางการศึกษา  คือการให้ชีวิตที่ดีและมีคุณค่ามากที่สุดส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้การยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  คือสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามถึงความต้องการพื้นฐานในสังคม 

สวัสดีค่ะ

ในฐานะคนนอกที่ไม่ได้รู้งานของ กศน.อย่างถ่องแท้.. เมื่ออ่านมุมมองของ ดร.ชินภัทรถึงกับทึ่งเพราะ กศน.เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านช่องทางต่างๆตามความสนใจ.. ครอบคลุมทั้ง 4 มิติของชีวิต

ถ้ามองอย่างนี้กศน.มีความแตกต่างจาก กศ.ในระบบอย่างแน่นอน..การมีระบบบริหารที่แยกต่างหากก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ..

กศน.มีความแตกต่างจาก กศ.ในระบบอย่างแน่นอน กศน.ยึดถือความต้องการของประชาชนและความยืดหยุ่นความคล่องตัวและการยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและการให้โอกาสทางการศึกษากับผู้ที่พลาดโอกาส คือการให้ชีวิตที่ดีและมีคุณค่ามากที่สุดส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้การยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามถึงความต้องการพื้นฐานในสังคมเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นดังคำว่ากศน.เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
นายเสน่ห์ อุ่นนาวงษ์ ศบอ.พนมสารคาม

การศึกษานอกระบบ มีความยืดหยุ่นในรูปแบบและกระบวนการ  แต่ยังมีระบบ เป็นระบบของกศน. จึงมีวัฒนธรรมองค์กร การทำงานที่แตกต่างการศึกษาในระบบ แต่มุ่งหวังให้ผู้เรียนบรรลุผลตามหลักสูตรการศึกษาที่กำหนดทุกคน และเป็นคนมีคุณธรรม  คน  ดี คนเก่ง    มีความสุข  และจัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่  จึงเห็นว่าควรอยู่กันคนละหวี  แต่อยู่ในเครือเดียวกันได้

ยังมีการพัฒนาการเรียนรู้อีกมาก ทั้งมวลประสบการณ์ชีวิต มวลประการณ์จากการทำงาน มวลประสบการณ์จากภูมิปัญญา ฯลฯ กศน.หล่อรวมมาเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ สู่การนำไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของนักศึกษา และประชาชนทั่ว รวมถึงการพัฒนาสังคมและชุมชน และประเทศชาติต่อไป

ผอ.ดิศกุล ครับ         

              ชอบแนวคิดแนวทางของท่านรองปลัดฯศธ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน มากเลยครับ ผมคิดว่าชาว gotoKnow อ่านแล้วคงชื่นใจ แนวคิดแนวทางของท่านน่าจะได้ผลักดันอย่างจริงจังให้เป็น event เมื่อครั้งปฏิรูปการศึกษา 2542 แล้วครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นป่านนี้บ้านเมืองคงไปได้ไกลแล้ว แต่ผุดบังเกิดขึ้นได้ในยามนี้ก็ค่อยหายใจกันได้ทั่วท้องหน่อย ว่ายังมีลุ้นต้องลุ้นขั้นตอนของกฏหมายกันต่อไป 9-11 มี.ค.นี้ก็อีกเปลาะหนึ่ง

              ทหารราบตัวเล็กๆอย่างผมก็คงต้องก้มหน้าก้มตาหาหาคนโน้นคนนี้ที่เห็นคุณค่า กศน.อย่างแท้จริง มาพูดแทนต่อไป

             แต่แหม! ภาษาท่านเป็นภาษาอังกฤษ อยากจะฟังที่พากไทยเต็มๆ รบกวนท่าน ผอ.ย่อยแต่ละคำหลักให้หน่อยเป็นบันทึกต่อๆไปก็ดีครับ จะติดตามอ่าน

ครูนงเมืองคอนครับ

        แนวคิดท่านรองปลัดฯศธ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน สุดยอดจริง ๆ ครับ ถ้าอะแซหวุ่นกี้ยังอยู่คงต้องมาขอดูตัวท่าน ดร.ชินภัทร เหมือนกับขอดูตัวเจ้าพระยาจักกรีเป็นแน่แท้  ผมเก็บสาระจากท่านบรรยายให้แนวคิดโดยพิมพ์เป็น Mindmap ขณะท่านบรรยาย จึงสรุปเป็นหน้าตาผสมปนภาษาอังกฤษบ้างให้รวดเร็วทันเวลา  และจะพยายามหาเวลาย่อยแต่ละคำหลักเป็นบันทึกต่อๆ ไป ตามข้อเสนอของครูนงครับ

ขอบคุณ คุณ supunn คุณนภัส คุณผู้ก่อการดี คุณลูกหมู คุณชูวิทย์ คุณkedjun คุณเสน่ห์ คุณคนนอกโรงเรียน ครับที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
    แก่นแท้ของเรื่องราว  คือการดำเนินการตามเป้าหมายอย่างแท้จริง
     จากคำพูดที่ว่าการศึกษาคือชีวิต  คงไม่ผิดอะไรถ้าหากเราจะมองย้อนกลับไปว่าการมีและใช้ชีวิตต้องศึกษามันอยู่ตลอด  หากเราขาดการศึกษาการใช้ชีวิตบางครั้งอาจผิดพลาดอาจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้  ดังนั้นการมีชีวิตต้องศึกษาชีวิตเพราะการศึกษาคือชีวิตนั่นเอง
     ในส่วนประเด็นที่ 3 การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต  คงเป็นถ้อยคำที่พูดแล้วไม่ต้องขอฟังคำบรรยายอีกเพราะชีวิตคือการศึกษา  ทุกคนรู้ถึงสถานการณ์นั้นดี  ผมเชื่ออย่างนั้น

กศน.ครอบคลุมทุกพื้นที  ไม่ว่าจะงานจะเหนื่อยยากเพียงใดชาวกศน.ไม่เคยยอมแพ้ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

ขอขอบคุณ ท่านรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ที่ได้เข้าถึงบทบาทของชาว กศน.อย่างแท้จริง  เชื่อค่ะถ้าใครได้อ่านบทความนี้คงจะต้องยิ้มรับและพร้อมที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานกันอย่างเต็มที่  เพราะวันนี้เราได้รู้แล้วว่าชาว กศน. เปรียบเหมือนกับลูกที่ยังมีผู้ปกครองคอยดูแลเอาใจใส่ มิได้ทอดทิ้ง   และครอบครัว กศน. จะอบอุ่น  พร้อมที่จะทุ่มเทสร้างงานอย่างมีคุณภาพต่อไป เพื่อประชาชนทุกคน  และเพื่อสังคมไทยค่ะ

                

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท