เบาหวานที่กะพ้อ


HA (Hospital Accreditation), การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
                   การดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างจริงจัง   เริ่มจากการที่เราได้สังเกตเห็นว่าผู้ป่วยที่มาที่ห้องฉุกเฉิน และเสียชีวิต ส่วนหนึ่งมี underlying DM และทั้งหมดมีประวัติขาดยามานาน และในผู้ป่วย  diabetic foot ที่ต้อง amputate หรือต้อง debridement และอยู่รักษาที่โรงพยาบาลนานส่วนใหญ่มีประวัติขาดยา หรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงได้มาคุยกันในทีม PCT (Patient Care Team )ซึ่งตั้งขึ้นมาเนื่องจากทางโรงพยาบาลกำลังพัฒนาโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA (Hospital Accreditation) ทางทีมได้มองถึงการดูแลผู้ป่วยให้เป็นระบบมากกว่าที่เป็นอยู่ ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษาและระบบการติดตาม ก็ได้ข้อสรุปว่าจะใช้ Gap analysis ในการดูแลผู้ป่วย และการใช้กลไกการประชุมทีมPCT ที่เป็นสหวิชาชีพ มาช่วยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ เป็นระยะๆ ตลอดจนหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญและที่สำคัญมากก็คือ ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน  จากการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลมีมาตรฐานมากขึ้น สามารถวางแผนการดูแลรักษา เช่น การให้สุขศึกษาเรื่องโภชนาการ  และแพทย์สามารถรักษาภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ทันท่วงที  โดยเฉพาะภาวะ Diabetic Retinopathy  ซึ่งเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเอง  ทำให้ทีมยิ่งตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำ  GAP  ANALYSIS ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานมากขึ้น จึงขยายผลไปถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกเขตโรงพยาบาล  
                               
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8063เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2005 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทีมกะพ้อเก่งมากค่ะ มีรูปทีมมาโชว์แล้ว แต่รูปทีมมีขนาดใหญ่ไป ต้องลดขนาดลงให้อยู่ในกรอบค่ะ ไม่อย่างนั้นจะเบียดพื้นที่ของบันทึกไปมาก

อยากให้ทีมกะพ้อช่วยเล่าวิธีใช้ Gap analysis ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยคะ  ทางทีมการจัดการความรู้เบาหวานสกลนครสนใจมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท