GotoKnow

การใช้KMในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

นาง สุภาภรณ์ บัญญัติ
เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2548 09:15 น. ()
แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2555 14:54 น. ()

       แต่เดิมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานจะเน้นการตั้งรับในสถานบริการ และเน้นไปที่การให้ยา  ให้ความรู้โดยไม่ได้สนใจว่าวิถีชีวิตที่แท้จริงของคนไข้เป็นอย่างไร  พยาบาลมีหน้าที่คัดกรอง  ซักประวัติ ส่งตรวจหาระดับน้ำตาลก่อนพบแพทย์  ยิ่งถ้าพบว่ารายใดที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าเกณฑ์หรือสูงกว่าการรับบริการในครั้งก่อน  ก็จะพูด ๆ ๆ แนะนำการปฏิบัติตัวด้วยความเร่งรีบ เลยอาจขาดความสนใจในปัญหาที่แท้จริงของคนไข้  คนไข้ก็กลัวหมอ(ทั้งหมอและพยาบาล)จะว่าเลยเออ ๆ ออ ๆ ไปอย่างนั้นและรีบรับยา แล้วกลับบ้าน(เพราะหิวข้าว)

       ปัจจุบันนอกจากที่เราจะให้ความสนใจในปัญหาเฉพาะรายแล้ว  ยังได้เพิ่มการจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเอง  คนไหนที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีก็จะบอกกับคนไข้อื่น ๆ ในกลุ่มที่ยังควบคุมไม่ได้ว่ามีการดูแลผู้ป่วยอย่างไร...

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

วัลลา ตันตโยทัย
เขียนเมื่อ

เริ่มต้นบันทึกได้ดีมากๆ เลยค่ะ ดีใจที่คุณหมอพิเชฐจะมี "คู่แข่ง" เขียนบล็อกแล้ว

phanudh
เขียนเมื่อ

ชื่นชมกับทีมงานบ้านตากคะ  ที่สนใจเบาหวานแบบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  และพยายามพัฒนารูปแบบบริการให้เป็นแบบองค์รวมมากขึ้น   อยากให้เล่าเรื่อง  การจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเอง  อย่างละเอียด  ถ้าไม่รังเกียจอยากให้ร่วมแลกเปลี่ยนกับชาวโพนนาแก้ว  สกลนคร ที่ www.gotoknow.org/dminpcu ด้วยคะเชิญนะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย