พลวัตของการพัฒนาโรงเรียนเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Dynamic of Participatory action School Development : DPSD)


การหาแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนที่มีคุณภาพโดยกระบวนการพัฒนาต้องเกิดจากภายในสถานศึกษานั้น สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ ตามทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้เกิดพลวัตของการพัฒนาอย่างแท้จริง

     พลวัตของการพัฒนาโรงเรียนเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Dynamic of Participatory action School Development : DPSD)  ชื่อหัวข้อนี้ผมคิดเองนะครับเกิดไอเดียหลังจากอ่านหนังสือเรื่อง  วิธีการวิจัยทางสังคมวิทยา ของ รศ.ดร.ณรงค์  ศรีสวัสดิ์  ในหัวข้อเทคนิคการวิจัยชุมชน เรื่อง การประเมินสภาวะชนบทโดยการมีส่วนร่วม(Participatory Rural Appraisal:PRA)  ทำให้ผมคิดว่าน่าจะประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาทางการศึกษาได้

     ในส่วนที่ประยุกต์เพิ่มเติมนี้ผมได้เสริมเทคนิคการวิจัยเข้าไป ด้วย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR)  และ  การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) เข้าไปเพื่อให้เกิดคุณค่าในการศึกษามากยิ่งขึ้น

     แนวคิดที่ผมคิดขึ้นมากำลังจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นโดยต้องยืนยันความถูกต้องของแนวคิดจากการปฏิบัติเสียก่อน  ไม่อยากกล่าวว่าเป็นการทดลองเพราะเจตนาที่ผมต้องการจริงๆ คือ การหาแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนที่มีคุณภาพโดยกระบวนการพัฒนาต้องเกิดจากภายในสถานศึกษานั้น  สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้  ตามทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้เกิดพลวัตของการพัฒนาอย่างแท้จริง

    ขอให้ผมได้พิสูจน์แนวคิดนี้ให้สมบูรณ์แล้วจะนำมาให้ทุกท่านชมแบบสมบูรณ์ต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 80138เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท