กลไกสุขภาพภาคประชาชน


มุ่งทําความเข้าใจถึงวิธีคิด วิธีปฏิบัติ และวิธีให้คุณค่าเกี่ยวกับการกลไกการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพและผลกระทบของกลไกการปฏิรูประบบสุขภาพ

     ผศ.ดร.เพ็ญประภา  ศิวิโรจน และ ผศ. ดร.พิกุล  นันทชัยพันธ (2547) จากการสนับสนุนของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้ดำเนินการวิจัยเรื่องกลไกสุขภาพภาคประชาชนกับกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพในภาคเหนือ ซึ่งมุ่งทําความเข้าใจถึงวิธีคิด วิธีปฏิบัติ และวิธีให้คุณค่าเกี่ยวกับการกลไกการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพและผลกระทบของกลไกการปฏิรูประบบสุขภาพที่ผ่านมา และที่กําลังดําเนินอยูในปัจจุบันโดยการศึกษาการรับรู ความคาดหวังของประชาชนเกี่ยวกับกระบวนการปฏิรูป ผลที่ได้รับการมีส่วนร่วมและบทบาทของประชาชน ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาและการก่อตัวของกลุ่มและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ

     โดยมีผลการวิจัยที่ทีมงานไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนในจังหวัดพัทลุง ควรจะได้ทราบ และนำไปปรับเพื่อการพัฒนาต่อไป ดังนี้ครับ

     1. ประชาชนส่วนใหญยังยึดติดกับแนวคิดสุขภาพแบบวิทยาศาสตรการแพทย์ ที่มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพทางกายที่เป็นความเจ็บป่วยและโรค และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใหความหมายสุภาพที่เชื่อมโยงกับมิติอื่นๆ เช่น การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ และสังคม การปรับกระบวนทัศนเรื่องสุขภาพยังไมเห็นชัดเจนในระดับประชาชนทั่วไป หรือแมกระทั่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญเองก็ยังไมมีวิธีคิด วิธีให้คุณค่าของสุขภาพองค์รวมในความหมายใหมเช่นเดียวกัน “สุขภาพองครวม” จึงเป็นเพียงวาทกรรมที่คนทั่วไปพูดติดปาก แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าคืออะไร

     2.วิธีคิดและวิธีใหคุณค่าเกี่ยวกับสุขภาพยังยึดติดอยูเฉพาะสุขภาพร่างกายและจิตใจ และการปราศจากโรค จึงสะท้อนไปถึงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมหรือรักษาไวซึ่งสุขภาพที่ยึดติดอยูแตเฉพาะการรักษาสุขภาพทางรางกายเทานั้น ดังนั้นประชาชนก็ยังเข้าใจว่า การส่งเสริมสุขภาพเป็นการป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นโรค และเป็นเรื่องของหมอหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะเห็นไดจากกิจกรรมการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ จะขึ้นอยูกับกิจกรรมของเจ้าหน้าทที่สาธารณสุข

     3. สัญลักษณ์ของสุขภาพ ยังคงเป็น “โรงพยาบาล หรือ หมอ” การดูแลสุขภาพกลายเป็นเรื่องของการอธิบายเชื่อมโยงกับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพเดิม เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย ประชาชนหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังไม่ไดมองว่า โรงเรียนหรือวัด หรือองค์กรอื่น ๆ ในชุมชนจะสร้างสุขภาพได้อย่างไร และชาวบ้านเองจะส่งเสริมสุขภาพกันเองไดอย่างไร

     4. มีความแตกต่างทางการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละระยะของการศึกษา กล่าวคือ กลุ่มที่เข้าร่วมเวทีสมัชชาสุขภาพส่วนใหญจะอธิบายกระบวนการปฏิรูปไดดีกว่า ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นผูที่ไม่ไดเข้าร่วมเวทีสมัชชาโดยตรง ส่วนใหญไม่ค่อยทราบหรือรับรูเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว แมบางคนจะบอกว่าเคยไดยินทางสื่อต่าง ๆ มาบ้าง แตก็ไม่สามารถอธิบายความหมายหรือแนวคิดได ประชาชนส่วนใหญรับรูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผ่านการเติบโตของสถานบริการรักษายาบาลที่มีในชุมชน ทั้งในแง่การขยายอาคาร เครื่องมือที่ทันสมัย และแพทยเฉพาะทาง

     5. การที่กิจกรรมหรือการก่อตัวของกลุ่มต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ริเริ่ม มักมีการรับรูแยกออกไปจากเรื่องสุขภาพ เช่น มองว่าเป็นเรื่องอาชีพ รายไดและความเป็นอยูการรณรงคด้านสุขภาพที่มีขึ้นในช่วงของการปฏิรูประบบสุขภาพ มักริเริ่มโดยเจ้าหน้าที่ฯ ทั้งเรื่องกลุ่มหรือชมรมต่าง ๆ ในสถานีอนามัย เช่น ชมรมออกกําลังกาย ชมรมสมุนไพร ชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งชาวบ้านอ่านสัญญาณไม่ได้ว่าเป็นเรื่องของสุขภาวะหรือสุขภาพองค์รวม และเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบสุขภาพ

     6. กระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ หรือการขับเคลื่อนในระดับชุมชน ไม่ไดเน้นการส่งเสริมการเรียนรูเท่าที่ควร เช่น กลุ่มออกกําลังกายซึ่งมีการริเริ่มขึ้นโดยทั่วไปในแทบทุกแห่งหน เป็นการส่งเสริมกิจกรรม แต่ไม่ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ไม่สามารถกระตุ้นให้ระชาชนมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท่ที่ควร หรือแม้ระทั่งการส่เสริมการก่อตั้งกลุ่มอาชีพในรูปแบบต่าง ๆ แตก็ไม่ได้เชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้เรื่องสุขภาพควบคู่ไปด้วย

     7. การมีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกที่มีบทบาทในการใหความร่วมมือ ร่วมรับรูนโยบายและร่วมปฏิบัติตาม ส่วนที่ยังถือว่าเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อยก็คือ การมีส่วนร่วมในการคิด ริเริ่ม และ ตัดสินใจ เริ่มก่อตั้งหรือดําเนินการโดยชาวบ้านเอง วิธีคิดและความเชื่อของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญยังติดอยู่กับกรอบคิดเดิมที่เห็นว่า ผู้ที่มีความรูความชํานาญในเรื่องสุขภาพคือบุคลากรด้านสุขภาพเท่านั้น จึงมอบความไว้วางใจใหและพร้อมที่จะทําตาม บทบาทหลักในการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพในชุมชน นอกจากจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขแล้ว ผู้นําท้องถิ่น หรือกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลเองก็มองแยกส่วนกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ การดําเนินนโยบายของการปฏิรูประบบสุขภาพต้องเน้นการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเข้าไปในกิจกรรมการพัฒนาและสรุปบทเรียนที่ไดรับซึ่งจะเป็นการฝึกการคิดเชิงวิเคราะหการสร้างเสริมสุขภาพต้องใช้กระบวนทัศนสุขภาพแนวใหมที่เชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านจิตวิญญาณ การปรับกระบวนทัศนสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นสิ่งจําเป็นในการพัฒนา ทําความการสร้างความเข้าใจกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพใหกับชาวบ้าน กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐและการศึกษาวิจัยที่เน้นกระบวนการเรียนรูของภาคประชาชน

หมายเลขบันทึก: 7959เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2005 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท