Research Capacities ของมหาวิทยาลัย


Research Capacities ของมหาวิทยาลัย

         เมื่อวาน (23 พ.ย.48) ประชุมคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น  ศ. ดร. ยอดหทัย  เทพธรานนท์  ประธานคณะกรรมการให้ผมยืมเอกสารเรื่องนี้มาดู   ชื่อเรื่องเต็มคือ Performance Indicators for Assessing and Benchmarking Research Capacities in Universities : Background Paper prepared for the Global University Network for Innovation - Asia and the Pacific   แต่งโดย V. Lynn Meek (Director) and Jeannet J. van der Lee (Research Project Officer)  Centre for Higher Education Management and Policy   University of New England, Australia   เอกสารนี้เผยแพร่เมื่อเดือน พ.ค.48 นี้เอง   ผมพยายามค้นทางอินเทอร์เน็ตก็ค้นไม่ได้   เข้าใจว่าเขายังไม่เผยแพร่

         ผมจึงถ่ายสำเนาส่งให้ ผศ. ดร. วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคุณภาพ มน.   เพราะทราบว่าท่านสนใจเรื่องนี้   และหวังว่าท่านจะศึกษารายละเอียดและเล่าสาระสำคัญในบล็อกของท่าน   เนื่องจากเอกสารต้นฉบับบางหน้าไม่ค่อยชัด   ดร. วิบูลย์อาจติดต่อขอต้นฉบับจากผู้เขียน ([email protected]) หรือขอให้ทางห้องสมุดช่วยขอให้     การอยู่ในมหาวิทยาลัยมีข้อดีคือ   มีกลไกช่วยการค้นคว้า   ผมออกจากมหาวิทยาลัยมาก็รู้สึกเสียดายมากที่สุดตรงนี้

         ที่จริงการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยจะเกิดขึ้นได้ต้องการองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ด้านคือ
     - การวิจัยพัฒนาระบบ   อย่างที่เป็นสาระของบทความที่กล่าวถึง
     - การจัดการ   เพื่อพัฒนาระบบ   เป็นหน้าที่ของหน่วยงานหลายหน่วย เช่น สกอ.,  วช.,     สกว., ฯลฯ
     - การปฏิบัติ   ซึ่งเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเอง

วิจารณ์  พานิช
 24 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 7916เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2005 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
กราบขอบพระคุณครับ เมื่อได้รับสำเนาแล้ว ผมจะพยายามศึกษาดูครับ

ไม่ได้แสดงข้อคิดเห็นครับ แต่มา record ว่าบันทึกนี้เป็นบันทึกที่ 600 กับข้อคิดเห็น 303 ข้อคิดเห็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท