นิทานชวนคิด


เจ้านายใหญ่

เมื่ออวัยวะต่างๆ รวมตัวกันเป็นร่างกายมนุษย์ในครั้งแรกอวัยวะแต่ละส่วนของร่างกายต่างต้องการจะเป็นเจ้านายใหญ่

สมอง พูดว่า ฉันควรจะเป็นนายใหญ่ เนื่องจากฉันควบคุมการทำงานทุกส่วนของร่างกาย

 

เท้าสองข้าง แย้งว่า เราสิควรเป็นนายใหญ่ เพราะเราพาสมองไปไหนมาไหน และนำร่างกายไปสู่จุดหมายได้

 

มือสองข้าง จึงพูดบ้างว่า เราต่างหาก ที่ควรเป็นนายใหญ่ เพราะเราทำงานทุกอย่าง และหาเงินมาเลี้ยงร่างกาย

 

อวัยวะทั้งหลายต่างแสดงความคิดเห็น และอ้างเหตุผลกันไปเรื่อย จนกระทั่งทวารหนัก พูดบ้างว่าตัวเองควรเป็นนายใหญ่

 

ซึ่งทำให้อวัยวะอื่น ๆ พากันหัวเราะเยาะ ดังนั้น ทวารหนัก จึงเริ่มประท้วงด้วยการหยุดนิ่งไม่ทำงานถ่ายอุจจาระ ภายในเวลาไม่นาน ตาเริ่มเหร่ มือเริ่มบิด เกร็ง เท้าเริ่มกระตุก หัวใจและปอดเริ่มหวาดผวา สมองเริ่มมีไข้

 

ดังนั้น อวัยวะทุกส่วนจึงมอบให้ทวารหนักเป็นนายใหญ่ของร่างกาย กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายจึงดำเนินต่อไปได้ตามปกติ

 

นับแต่นั้นมาอวัยวะทั้งหลาย ช่วยกันทำงานสำคัญของร่างกายอย่างเต็มที่ในขณะที่ทวารหนักซึ่งเป็นนายใหญ่ เพียงแต่อยู่เฉยๆ คอยระบายของเสียออกจากร่างกายเท่านั้น

 

ข้อคิดจากเรื่องนี้ คือ  การเป็นเจ้านายที่ดีไม่จำเป็นต้องอาศัยความฉลาดปราดเปรื่องมากนัก เพียงแต่สนับสนุนลูกน้องให้ทำงานเต็มความสามารถ อย่างมีความสุขก็เพียงพอแล้ว

ดิฉันอ่านนิทานเรื่องนี้ เห็นว่าน่าสนใจเลยอยากให้ทุกคนได้อ่านเพื่อจะได้นำข้อคิดจากนิทานนี้ไปปรับใช้ หวังว่าคงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ  
หมายเลขบันทึก: 78474เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท