นำเสนอ powerpoint ให้น่าดู (ตอน 1)


ไม่รู้จะทำ slide Powerpoint ติดตามนะครับ

หลายท่านคงได้มีโอกาสนำเสนองานวิชาการมาบ้างแล้ว นะครับ แต่คิดว่าอีกหลายท่านคงอยากได้เกร็ดความรู้เรื่องเทคนิคการนำเสนอ   ดังนั้นผมขออนุญาต อ.ลักขณา  ไทยเครือ  จาก มช  นำมาถ่ายทอดสู่พันธมิตรทางวิชาการ   โดยขอแบ่งเป็นตอนๆ นะครับ ดังนี้

 ขนาดตัวอักษร

1) กะขนาดโดยลองจากการวางบนพื้นJeff Radel แนะนำให้ใช้กระดาษขนาด 4 x 6 นิ้ว มาร่างข้อความที่ผู้นำเสนอจะนำเสนอ แล้ววางกระจายบนพื้นห้อง ผู้นำเสนอเดินผ่านแล้วลองอ่านดู ถ้าอ่านได้ถือว่าขนาดดี แต่ถ้ายืนบนเก้าอี้แล้วยังสามารถอ่านได้ถือว่าดีกว่า2) กะขนาดโดยลองจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ลองขึ้นบทความที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วถอยห่างจอประมาณ 1.80 เมตร(6 ฟุต ) ถ้าอ่านได้ชัดเจนดี ถือว่าขนาดดี3) กะขนาดโดยลองจากสไลด์ถ้ามีสไลด์เก่า ๆ ที่เคยนำเสนอแล้วหรือของผู้อื่นที่เคยทำหรือของผู้นำเสนอเองที่ทำเสร็จแล้ว ให้หยิบตรงมุมใดมุมหนึ่งของสไลด์ ยื่นออกไปจนสุดแขนแล้วอ่านดูว่าได้หรือไม่ อีกวิธีคือเอาสไลด์มาสลับสับเปลี่ยนไปมาแล้วลองจัดเรียงใหม่ให้ถูกต้อง โดยยื่นสไลด์แต่ละแผ่นไปสุดแขนแล้วอ่านข้อความดู ถ้าเรียงได้ถูกต้องถือว่าดี  แบบตัวอักษรขนาดตัวอักษรยังขึ้นกับชนิดตัวอักษรที่เลือก ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ตัว TimeNew Roman จะสวยสำหรับงานพิมพ์ แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่าCodial หรือ Arial จะชัดเจนกว่าเวลานำเสนอ (ขนาดขอบและความหนาของเส้น)ถ้าเป็นภาษาไทยอาจจะเป็น Codia New สำหรับขนาดตัวอักษรที่เห็นชัดเจนจะเป็นตัวหนา (Bold) ขนาด 18-24 ถ้าเป็นหัวข้ออาจถึงขนาด 36-48 สำหรับหมายเหตุท้ายตารางหรือหมายเหตุตัวย่อที่ใช้ต่าง ๆ อาจเล็กลงมาถึง 15 –18 ได้ อ.ลักขณา นิยมใช้ขนาดตัวอักษรคละกัน โดยหัวข้อที่พึ่งนำเสนอครั้งแรกมีขนาดใหญ่ 36-48 ถ้ายังไม่จบมีเนื้อหาในแผนถัดไปจะใช้ขนาดเล็กลง 18-24 แล้วย้ายขึ้นไปอยู่บรรทัดแรกชิดขอบซ้ายและมีเส้นขีดด้านล่างแบ่งขอบเขตเนื้อหาใช้วงเล็บต่อท้ายหัวข้อว่า (ต่อ) หรือ (cont.) เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่ายังเป็นเรื่องเดิมอยู่ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะได้ลงรายละเอียดในเนื้อหาเพิ่มขึ้น ส่วนหัวข้อรองจะมีขนาด30-42 (ตัวอย่างที่ สไลด์ที่ ) แล้วแต่ความเหมาะสมว่ามีหัวข้อรองกี่ระดับ แต่ไม่นิยมที่จะมีเกิน 2-3 ระดับ เพราะจะทำให้ตัว เล็กลงเรื่อย ๆ จนอ่านไม่ได้ อีกวิธีหนึ่งอาจจะใช้การย่อหน้าและสีแตกต่างกันเข้าช่วยโดยคงขนาดเดิมไว้

คำสำคัญ (Tags): #เทคนิคนำเสนอ
หมายเลขบันทึก: 77941เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท