วันนี้ที่โคราช "งานรวมพลคนปฏิรูป"


วันนี้ที่โคราช "งานรวมพลคนปฏิรูป"
วันนี้  11  กุมภาพันธ์  2550  "งานรวมพลคนปฏิรูป  ครูโคราช" ที่ มทส.  มีการจัดนิทรรศการทางวิชาการมากมาย  ฉันมีโอกาสได้ช่วย  สพท.นม 1 จัดนิทรรศการด้วย  มีเนื้อหาน่าใจมากๆ  ประกอบไปด้วยปัญหาที่พบจากการที่นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก  เขียนไม่ได้  มีแนวทางแก้ไขปัญหาไว้หลากหลายวิธีการ 

          ฉันเคยอ่านบทความของท่าน ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์  ทำให้ฉันรู้ว่า  ทำไมต้องมีการปฏิรูป    แล้วปฎิรูปอย่างไร  ได้ผลอะไรบ้าง  มาลองอ่านกันนะคะ

          ปฏิรูป   คือ     

คือ  การเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั้งระบบ  เป็น systemic  change เป็นการรื้อและปรับปรุงครั้งใหญ่  ยกเครื่องกันทั้งระบบเลย  ปรับขนานใหญ่ทั้งระบบอันได้แก่ระบบ
     การบริหาร    (คือตั้งแต่กระทรวงลงมาถึงโรงเรียน)
     หลักสูตร
     กระบวนการเรียนการสอน
     วิชาชีพ (ของครูและผู้บริหาร)ที่เราเรียกกันว่า  ปฏิรูป  4  องค์ประกอบ(Components) ใหญ่ ๆ

        ปฏิรูปแล้วจะได้อะไร    อย่างไร  

  • คุณภาพการเรียนได้มาตรฐานสูง
  • ให้เด็กทุกคนที่จบการศึกษาไปไม่ว่า ป.6, ม.3, ปวช., ปวส., หรือปริญญาตรี - โท - เอก
    จบออกมาโดยมีคุณภาพอย่างดี  เรียนต่อที่ไหนก็ฉลุยสมัครงานที่ไหนก็เป็นที่ปรารถนาของนายจ้าง เจ้าของงาน  เราต้องทำเด็กของเราให้เป็น.....
         เด็กเก่งและคนดี  ที่ตนเองภาคภูมิใจ  พ่อแม่ชื่นชมสมใจ  สังคมกระหยิ่ม
  •  หัวใจของการจัดการศึกษา  คือ  การเรียนรู้ของเด็ก  ระบบการศึกษามีหน้าที่สร้างประชากรที่มีคุณภาพให้กับประเทศชาติ  ที่ผ่านมาแม้พวกเราจะทำงานหนักและประสบความสำเร็จพอสมควร  ก็ยังไม่ถึงขีดที่ต้องการ  เราจึงต้องมาเปลี่ยนแปลงกันใหม่หมดทั้งระบบเพื่อให้..... คุณภาพการเรียน  (ของเด็ก) ได้มาตรฐาน 
  • เราต้องทำให้เด็กทุกคนจบการศึกษาระดับยอด  ประเภทพอผ่าน (2.00) สุก ๆ ห่าม ๆ
    ได้ ๆ ตก ๆ  ไม่เอาแล้ว  ออกไปก็เดินต่อไม่ได้  ทำอะไรก็ไม่เป็น มันต้องถึงคุณภาพชั้นยอด คือเกรด 4  อย่างน้อยควรเป็น 3

         จะใช้ยุทธศาสตร์อะไร  โรงเรียนจึงจะมีประสิทธิภาพ  

  • เราจะใช้ยุทธศาสตร์  5  ยุทธศาสตร์ด้วยกัน  คือ
         1.  การกระจายอำนาจ (ในการบริหาร)
         2.  การใช้แผนยุทธศาสตร์ (เป็นเครื่องมือปรับปรุงโรงเรียน)
         3.  การมีส่วนร่วม (ของทุกฝ่ายที่มีประโยชน์ได้เสียกับโรงเรียน)
        4.   การประเมินผลและการรายงาน
        5.  การประกันคุณภาพ
  •  ก่อนนี้อะไร ๆ ก็ต้องสั่งจากกรมต้องบัญชาการจากกระทรวงในกรุงเทพฯ  เด็กในโรงเรียนซึ่งเป็นผลผลิตปลายทางห่างไกล  จึงไม่ได้รับการหล่อหลอมเอาใจใส่ได้ระดับนักคุณภาพการเรียนย่ำแย่ก็จับมือผู้รับผิดชอบที่แท้จริงไม่ได้สถาบันการศึกษาจึงผลิต  ประกาศนียบัตรลดราคาออกมาเยอะ  (ทำงานที่ไหนเขาก็ไม่บรรจุเต็มอัตราตามวุฒิ) 
  • ต่อไปนี้ต้องกระจายอำนาจการบริหารให้ผู้อยู่ติดกับเด็ก  คือ โรงเรียนคิดเอง  ทำเอง  วางแผนเอง  บริหารเอง  แก้ไขปัญหาเอง  ตัดสินใจเอง  และต้องรับผิดชอบต่อผลการเรียนของเด็กเองด้วย ขณะเดียวกันก็ให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียร่วมกัน  อันได้แก่  ตัวนักเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชน  ครู - อาจารย์  ผู้บริหารสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและมีส่วนรับผิดชอบด้วยกัน
  • แต่ละโรงเรียนจะต้องใช้แผนยุทธศาสตร์ อันเป็นแผนปรับปรุงพัฒนาเฉพาะของแต่ละโรงเรียน  เป็นเครื่องมือทำงานแต่ละช่วงเวลาอย่างมีเป้าหมายชัดเจน  แก้ปัญหาเฉพาะของตนเอง  มีจุดเน้นและแนวทางปรับปรุงพัฒนาเป็นการเฉพาะโรงเรียนอย่างแน่นอน
  • มี  Teaching  Focus
  •  เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็ปฏิรูปกันมาก  เช่น  สร้างห้องปฏิบัติการภาษา  อุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์  ซอฟต์แวร์  และการทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน  แม้กระทั่งการประกาศเป็นโรงเรียนปฏิรูป  เป็นเรื่องเดียวกับปฏิรูปขณะนี้หรืออย่างไร?
  • เป็นการปฏิรูปการศึกษาในแนวหนึ่ง  ตามวิธีของผู้รับผิดชอบในช่วงนั้นเป็นการปฏิรูปตามแบบการใช้นวัตกรรม (Innovation แนวความคิดใหม่)
  • การปฏิรูปเป็นการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น  อะไรที่ผู้รับผิดชอบคาดว่าการศึกษาจะดีขึ้นก็จับใส่เข้าไปในระบบการศึกษา  เช่นเห็นว่าโรงเรียนมีสภาพใหม่  มั่นคงปลอดภัย  สีสันงดงามจะทำให้เด็กเรียนได้ดีก็ทำกันใหญ่ ทำให้เป็น " โรงเรียนปัจจุบัน "  เห็นว่าเด็กไทยอ่อน  วิทยาศาสตร์ ก็โถมเครื่องไม้เครื่องมือ สื่ออุปกรณ์เข้าไป  เทคโนโลยีข่าวสารเช่น  คอมพิวเตอร์อย่างดีราคาแพง  ก็ล้วนคิดว่าเป็นนวัตกรรม
    (แนวความคิดใหม่)  ที่จะช่วยให้เด็กสร้างคุณลักษณะของคนทันสมัยทันเหตุการณ์  และมีคุณภาพการเรียนดีขึ้น ไม่มีเงินเพื่อการเหล่านี้ไว้ก่อนก็ปรับเปลี่ยนงบประมาณแผ่นดินโปะเข้าไปหลายพันล้าน  จนมีคนโวยเรื่องความโปร่งใสเข้าไปถึงสภาผู้แทน
  • หลายสิบประเทศในโลกก็ปฏิรูปการศึกษาของตน  โดยยุทธศาสตร์นวัตกรรม (innovation
    approach)  ดังกล่าว  คือ  ใส่แนวความคิดใหม่เข้าไปในระบบการศึกษา  ไม่ว่าเรื่องบริหารหลักสูตร  วิธีการสอน  เครื่องมือ  การประเมินผล  แม้กระทั่งปรัชญาการศึกษา  หรือ  กระบวนการสร้างแรงจูงใจ ครูบาอาจารย์  และอื่น ๆ อีกมากมายหลายแนวคิด
  • ผมไม่เห็นด้วยกับกลยุทธแบบนี้เพราะเป็นการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงเป็นจุด ๆ เป็นเรื่อง ๆ
    ไม่เป็นกระบวนการ  ไม่ครบวงจรเป็นการปฏิรูปจากบน(สั่งลง) มาล่าง  จึงไม่ได้ผลตามที่ควร  แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้นก็ไม่ยั่งยืน  เปลี่ยนแปลงแต่พื้นผิว ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวร ที่ทำมาแล้วนั้น จึงเหมือนการปฏิรูป  " ความพร้อม " ซึ่งเป็นตัวป้อน (Input) ทางการศึกษาเหมือนจัดให้ได้เครื่องมือ  และเทคโนโลยีจับปลาที่ล้ำยุค  แต่จับปลาไม่ได้ผล  หรือการได้อุปกรณ์พร้อม วัตถุดิบปรุงอาหารครบครันทันสมัย  แต่เสร็จแล้วไม่ได้อรรถรส  ลูกค้าเบ้หน้า
  • เพราะขาดบางส่วนในกระบวนการ
  • ไป ๆ มา ๆ ครูบาอาจารย์และผู้คนในสังคมก็ลืมเลือน  เหลวเป๋ว  รังแต่ทำให้การปฏิรูปเสียชื่อ

     อ่านแล้ว  ท่านมีความคิดเห็นเหมือนฉันหรือไม่คะ  ว่าการปฏิรูปมีความสำคัญกับเรามาก  เป็นโอกาสของครูโคราชและพื้นที่การศึกษาใกล้เคียงแล้วค่ะ   วันนี้เจอกันที่  มทส.  นะคะ            

 

หมายเลขบันทึก: 77728เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท