ความเสี่ยง (Risk)


หมายถึง โอกาสที่ประสบกับการบาดเจ็บ/เสียหาย (Harm) เหตุร้าย (Hasards) ความไม่แน่นอน (Uneertainly) และอันตราย (Domger)

      เมื่อต้นปีที่แล้ว (ปีงบประมาณ 2548) ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ได้มีการระดมให้ทุกคน ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตรวจสอบภายใน ซึ่งผมได้เข้ารับฟังการบรรยายกระบวนการจาก พี่อำพร ณ นิโรจน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 8 ในฐานะผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด รับผิดชอบงานด้านการบริหารของสำนักงาน มีประเด็นหนึ่งที่ท่านบรรยาย และผมได้บันทึกไว้ คือเรื่องความเสี่ยง เท่าที่บันทึกได้ก็มีดังนี้ครับ

     ความเสี่ยง (Risk) ในระบบบริการสาธารณสุข หมายถึง โอกาสที่ประสบกับการบาดเจ็บ/เสียหาย (Harm) เหตุร้าย (Hasards) ความไม่แน่นอน (Uneertainly) และอันตราย (Domger) ซึ่งหน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่งมีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงเหล่านี้ หากไม่มีการเตรียมการเพื่อการรองรับที่ดีแล้ว จะทำให้เกิดผลเสียที่จะตามมาอีกมากมาย ทั้งต่อตัวผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ จนถึงในภาพรวมคือเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม

     สำหรับความเสี่ยงเมื่อพิจารณาถึงผลกระทบต่อการดำเนินงานแบ่งได้ 6 ประเภท คือ
          1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
          2. ความเสี่ยงด้านการเงิน และงบประมาณ
          3. ความเสี่ยงด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารสัญญา
          4. ความเสี่ยงด้านบำรุงรักษา และบริหารจัดการระบบ
          5. ความเสี่ยงด้านการบริหารงานบุคคล
          6. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

     การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) จึงเป็นวิธีการที่จะป้องกัน ควบคุม และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดขึ้น เกิดขึ้นน้อยที่สุด และมีผลกระทบน้อยที่สุดหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การบริหารความเสี่ยงเป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการประกันคุณภาพ เป็นการสะท้อนถึงความรับผิดชอบของผู้บริหาร และความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับต่อคุณภาพบริการ โดยมี 6 ขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ครับ
          1. ขั้นการค้นหาความเสี่ยง
          2. ขั้นการวัดประเมินความเสี่ยง
          3. ขั้นการกำหนดนโยบายและวิธีการจัดการกับความเสี่ยงที่ถูกระบุไว้
          4. ขั้นวิเคราะห์ความเสี่ยงและการติดตามผล
          5. ขั้นการรายงานความเสี่ยง ต่อผู้บริหาร หรือคณะกรรมการฯ ที่หน่วยงานตั้งขึ้น
          6. การตรวจสอบความเสี่ยง

     สำหรับการปฏิบัติในงานที่ผมรับผิดชอบเองนั้น ก็ได้ดำเนินการไปแล้ว และมีการทบทวนซ้ำเมื่อต้นปีงบประมาณนี้ไปแล้ว ตามที่ได้นำเสนอไว้ที่

     • ระบบควบคุมภายในงานทะเบียนฯ ส่วนทบทวนระบบสารสนเทศ

     • ระบบควบคุมภายในงานทะเบียนฯ ส่วนการจัดองค์กรหน่วยงานภายใน

     • ระบบควบคุมภายในงานทะเบียนฯ ส่วนวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

     • ระบบควบคุมภายในงานทะเบียนฯ ส่วนการประเมินความเสี่ยง

     • ระบบควบคุมภายในงานทะเบียนฯ ส่วนการพิจารณาข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่มีนัยสำคัญ

หมายเลขบันทึก: 7756เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2005 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท