๕ ส.เพื่อสุขภาพใจ


   กายและใจรวมกันเป็นหนึ่งนั้นคือ ชีวิต ต้องการให้กายสมบูรณ์ต้องบำรุงด้วยอาหารที่เป็นประโยชน์ด้วยความพอดี ต้องการให้ใจสมบูรณ์ มิใช่สนองความอยากของใจ เพราะความอยากของใจไม่เคยอิ่มเต็ม ยิ่งสนองความอยากยิ่งมีความอยาก เหมือนกับการเติมเชื้อไฟลงไปในกองเพลิง วิธีการที่จะทำให้ใจสมบูรณ์ต้องฝึกฝน รู้จักหักห้าม รู้จักเติมสิ่งดีๆให้ใจ ใจนั้นจึงจะสมบูรณ์ ถ้ากายสมบูรณ์ ใจสมบูรณ์ ชีวิตจึงสมบูรณ์

  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">            กายสมบูรณ์ เราอาจทำได้ไม่ยาก เช่น การทานอาหารให้เป็นเวลา ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่วนใจสมบูรณ์เป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก แต่มิได้หมายถึงกระทำไม่ได้ วิธีการมีอยู่หลายอย่าง ในที่นี้จะเสนอ ๕ ส.เพื่อสุขภาพใจ อันเป็นกระบวนวิธีหนึ่งที่จะไปสู่เป้าหมาย ใจสมบูรณ์ ได้ไม่ยากเกินกว่าความสามารถที่มนุษย์สามัญจะกระทำได้</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">            สะอาด คำคุ้นหูประโยคหนึ่ง สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข เป็นตัวชี้นำให้เห็นว่า ถ้าต้องการให้ร่างกายเจริญเติบโต โดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ให้เสริมสร้างความสะอาดทางกายเข้าไว้ ทั้งกายภายในและกายภายนอก กล่าวคือ กายภายในไม่เติมใส่ของเน่าเสียลงไป กายภายนอกชะล้างสิ่งสกปรกออกไป แต่ถ้าหากต้องการให้จิตใจมีแต่ความสุข ต้องหมั่นชำระชะล้างจิตใจให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะใจที่ต้องหมักหมม เป็นแหล่งรองรับความโสมมของทางความคิดอันโฉดเขลา จ้าวแห่งความโสมมทั้งละเอียดและกระด้าง ๓ ตัวการใหญ่คือ ๑) ความอยากได้ที่ไม่รู้จักพอ ๒) ความครุ่นแค้น คิดเครียด อาฆาตพยาบาทมาดมุ่งร้าย และ ๓) ความหลงใหลไปตามอารมณ์ปรารถนา กรณีตัวอย่างตัวการใหญ่ที่ ๑ เช่น นางสาว ข. เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบเครื่องประดับโดยเฉพาะสร้อยเพชรสีแวววาว ราคาแพงๆ เธอเห็นคราวใดเป็นต้องแสวงหาและจับจองเป็นเจ้าของทุกครั้งไป อันที่จริง ที่บ้านของเธอก็มีสร้อยเพชรนับไม่ถ้วนอยู่แล้ว ตัวการใหญ่ที่ ๒ เช่น นางสาว ง. เป็นคนที่ใครๆ ว่ากล่าวหรือติเตียนสิ่งใดๆหรือพฤติกรรมอะไรของเธอไม่ได้ วันหนึ่ง นาย จ. บอกกับเธอด้วยความเป็นห่วงว่า นี่ ง. ฉันว่าเธอน่าจะเปิดใจกว้างรับฟังความเป็นของคนอื่นบ้างนะ เผื่อจะมีอะไรใหม่ๆ ที่ดีกว่าที่เธอคิดอยู่ก็ได้..  ยังไม่ทันขาดคำ เสียงตวาดจาก นางสาว ง. ก็ดังขึ้น แก อย่ามายุ่งกับฉัน ฉันทำอะไรก็เรื่องของฉัน หน้าที่แกทำให้มันดีก็แล้วกัน…เชอะ พ่อคนเก่ง..  ตั้งแต่วันนั้น นาย จ. ก็จะได้ยินคำกระแนะกระแหนจากนางสาว ง. ทุกเช้าโดยไม่ซ้ำประโยคกัน ตัวการใหญ่ที่ ๓ เช่น นาง ป. เป็นคนที่รักลูกรักสามีมาก หากใครโจษขานว่ากล่าว ก็จะปกป้องคนที่ตนรักอย่างสุดชีวิตเสมอ ในคราวที่ลูกผัวของตัวทำผิด แม้เพื่อนร่วมงานจะนำหลักฐานมาแสดง พร้อมกับพยานยืนยัน นางก็ยังเชื่อมั่นในความถูกต้องของลูกผัวตัวเอง ประโยคยอดฮิตของนางคือ ลูกฉันเป็นคนดี ผัวฉันเป็นคนดี ฉันไม่เชื่อว่าเขาจะทำผิด เพราะที่ผ่านมาฉันไม่เคยเห็นเขาทำผิดอะไรกับใครๆ</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">            ๓ ตัวการดังกล่าวนี้ จะแผ่กิ่งก้านขยายสาขาออกไปเป็นอีกหลายสิ่ง เช่น จากความอยากได้ที่ไม่รู้จักพอ ก็จะกลายเป็น ขโมย ฉกชิงวิ่งราว เมื่อไม่สามารถนำสิ่งที่อยากได้นั้นมาบำรุงบำเรอชีวิตโดยสุจริต จากความเคียดแค้น ก็จะกลายเป็นฆ่าล้างโคตรเมื่อไม่อาจดับความเคียดแค้นได้ จากความหลงโดยไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็จะกลายเป็นคนโง่ ตัดสินคดีความบนความอยุติธรรม ดังนั้น ถ้าสามารถชำระชะล้างความคิดให้สะอาดหมดจดได้ จะเป็นประโยชน์ต่อความรู้สึกไม่น้อย เหมือนแก้วใสสะอาด ที่พร้อมจะทอแสงประกายเมื่ออาทิตย์ส่อง วิธีการที่จะทำให้ใจสะอาดคือ สติมา ปัญญามี</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">          สว่าง  โลกนี้มี ๒ สิ่งคู่กันเสมอเช่น มีขาวก็มีดำ มีเก่ง ก็มีโง่ มีดี ก็มีชั่ว แต่เมื่อกล่าวถึงโลกคู่หนึ่งคือ มืดและสว่าง ดูเหมือนมนุษย์ชอบความสว่างยิ่งกว่าความมืด เพราะความสว่างจะทำอะไรได้หลายๆ สิ่ง ในด้านความรู้สึกนึกคิด หากเราทำลายความมืดของความคิดได้ ถือว่าเป็นยอดมนุษย์ เพราะไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะทำได้ ความสว่างเป็นบันไดขั้นถัดไปจากความสะอาด กล่าวคือ เมื่อเราสามารถเก็บกวาดสิ่งโสโครกทางใจออกไปหมดแล้ว โดยเฉพาะตัวการใหญ่ ๓ ตัวการข้างต้น เราก็ต้องเริ่มพิจารณาทุกอย่างตามสภาพที่มันเป็นจริง เห็นต้นไม้ก็พิจารณาต้นไม้ เห็นสัตว์ก็พิจารณาสัตว์ เห็นมนุษย์ก็พิจารณามนุษย์ พร้อมกับความจริงเบื้องหลังปรากฏการณ์ ในอดีต มียอดมนุษย์จำนวนมากที่พบแสงสว่างจากเบื้องหลังปรากฏการณ์ เช่น นักคิดคนหนึ่ง เห็นน้ำที่ตกมาจากยอดเขาสูง และกลายเป็นฟองน้ำเบื้องล่าง ฟองน้ำนั้น เกิดขึ้นมาจากกำลังของน้ำ และแตกสลายไป ลูกแล้วลูกเล่าไม่จบสิ้น ความคิดเบื้องหลังปรากฏการณ์ฟองน้ำเกิดและดับคือ ชีวิตมนุษย์เรานี้ จะแตกต่างอันใดจากฟองน้ำ ที่เกิดและดับไปไม่รู้จักจบสิ้น ความตายของมนุษย์เป็นเรื่องธรรมดา…. สิ่งที่ได้จากความคิดนี้เกิดความสำนึกพิจารณาเห็นสภาพตามเป็นจริงอื่นอีกว่า ถึงรักแสนรัก ถึงหวงแสนหวง ก็ไม่อาจนำมาเป็นของตนได้ ไม่เราไปก่อน เขาก็ไปก่อน วันนี้เราไม่ไป พรุ่งนี้ก็ต้องไป พรุ่งนี้ไม่ไป มะรืนนี้ก็ต้องไปเพราะทุกคนมาเพื่อไป จะหาอะไรมาอยู่ในอำนาจเราได้ตลอดไป แม้เราเองยังไม่อาจอยู่ใต้อำนาจเราเลย….โลกไม่ยั่งยืนถาวร ชีวิตไม่ยั่งยืนถาวร ความพลัดพรากต่างหากล่ะที่เป็นเรื่องจริง…ความทุกข์ ความปวดร้าว เกิดเพราะเราเข้าไปยึดถือว่าเป็นของเรา ว่าเป็นของเขา…ไม่มีใครเป็นของใครได้… สรุปก็คือ เมื่อสติมา ปัญญามี ความเป็นจริงปรากฏ</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">          สงบ บันไดขั้นที่ ๓ ถัดจากสว่างคือ ความสงบ กล่าวคือ เมื่อเราพิจารณาเห็นตามสภาพที่เป็นจริง ความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งปรากฏการณ์ภายในและภายนอก จากนั้น ความรู้สึกนึกคิดที่เรียกว่าจิต ก็จะกลายเป็นความสงบเรียบ มองเห็นทุกอย่างเป็นเพียงปรากฏการณ์หรือเรื่องธรรมดา ญัตติหนึ่งจึงเกิดขึ้นแก่เราคือ ตถตา มันเป็นเช่นนั้นเอง..ทุกอย่างเกิดจากเหตุ หากมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด หากมันจะดับมันก็ต้องดับ จิตแห่งความสงบจะเป็นจิตที่ขุดรากถอนโคนความยึดมั่นถือมั่นออกไป เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับสิ่งอื่นใด</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">          สบาย บันไดขั้นที่ ๔ ถัดจากความสงบคือ เมื่อจิตไม่ยึดติดกับสิ่งอื่นใด ก็จะกลายเป็นจิตที่สบาย สบายเพราะไม่ต้องอยู่ใต้อำนาจอารมณ์ใด สบายเพราะไม่ถูกครอบงำด้วยตัวการชีวิต ๓ ตัวการใหญ่ สบายเพราะอยู่เหนือความรู้สึกบวกและลบทั้งปวง</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">          สุข บันไดขั้นที่ ๕ ถัดจากความสบายคือ ความสุขที่เหนือกว่าความสุขสามัญ ไม่ใช่ความสุขที่เจือด้วยความทุกข์ ไม่ใช่สุขๆ ทุกข์ๆ หรือร้อนๆ หนาวๆ หากแต่เป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งมวล เราพบเจอกับคนดีๆ ได้อยู่ใกล้คนรัก ได้พบเจอหน้าพ่อหน้าแม่ซึ่งจากกันมาหลายปี นับว่าเป็นความสุข ได้ทานอาหารที่ถูกใจ ได้ฟังเพลงเพราะๆ นับว่าเป็นความสุข แต่ความสุข บันไดขั้นที่ ๕ มิใช่ความสุขสามัญเช่นนั้น หากแต่เป็นผลของความสงบอันเป็นความสุขนิรันดร์ต่างหาก เรามิอาจนำเอารอยยิ้ม ความเปรมปรีด์ ความชื่นเย็น ความสดใส ความอิ่มใจฯลฯ บนโลกนี้ แม้จะมีอยู่ ไปเทียบกับความสุขนิรันดร์นั้นได้</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">            สะอาดจิตขจัดพิษอารมณ์ร้าย</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">          สว่างสดพริ้งพรายปัญญาสวม</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="9">          สงบเงียบเพรียบพิศจิตสำรวม</p>           สบายท่วมฤดีท้นสุขนิรันดร์ฯ

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมเภสัช
หมายเลขบันทึก: 77555เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท