เรียนหมอ สนุกจังเลย คิดไม่ถึงมาก่อน


เรียนหมอ สนุกจังเลย คิดไม่ถึงมาก่อน

เป็นคำ feedback หลังเสร็จสิ้น block Health Promotion หรือการสร้างเสริมสุขภาพของ นศพ. ปี 4 รุ่นล่าสุด กับ the new model ของคณะแพทย์ ม.อ. (ผมดัดแปลงใส่คำ "หมอ" ไปหลังคำเรียน เพื่อ emotional effect)

ก็ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน แต่ ณ เวลานี้ ขณะนี้ ขอซึมซับให้ซาบซึ้งก่อนจะนำมาซุบซิบต่อในบทความนี้ ว่าอะไรเป็นอะไร

ม.อ.มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียน health promotion มาทุกปีติดต่อกันหลายปีแล้ว ที่แล้วๆมาจากการ feedback นศพ.ค่อนข้างจะลังเลที่จะยกนิ้วโป้ง (ว่าจะชี้ขึ้นหรือคว่ำลงดี) ให้สำหรับ verdict สาเหตุเพราะเกรดตอน feedback ยังไม่ออก!! สรุปแล้วภาพรวมถ้าใช้ภาษาคุรภาพก็ต้องบอกว่า there are (plenty of) rooms for improvement !!

ดังนั้นในที่ประชุมกรรมการ block วันนี้เราก็เลยให้เวลาอาจารย์อิ่มเอิบกับผลงานอยู่พักนึง ก่อนเริ่มวิเคราะหฺว่า เอ... เราทำอะไรลงไปแล้วนี่ เราจะทำให้การเรียนแพทย์ของเราล้มเหลวจากที่เคยทำ (ให้ นศพ. depressed ยิ้มไม่ออก ถ่ายไม่ออก) สำเร็จมาแล้วนับร้อยปี ด้วยการทำให้เด็กๆบังอาจะกระดี้กระด้าอย่างนี้ได้ยังไง ต้องรีบทำ root-cause analysis

ปรากฏว่า new strategy ที่เราใช้ก็มี

  • ตัด lecture ออกประมาณ 60%
  • ลด structural coursework จาก 7-18 น. เหลือ max 8.30-16.30 plus enormous amount of SDL (self-directed learning)
  • ให้นักเรียนจัดกลุ่มทำโครงการ health promotion จริง เพื่อนำเสนอในปลายอาทิตย์ที่ 5
  • มีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มย่อย 2 คน ต่อ 1 กลุ่ม และมีนัด follow up & update ทุกอาทิตย์
  • เน้น informal learning, discuss, and create (ภาษาจิตปัญญาศึกษาต้องบอกว่า เปิด alpha brain wave และสำรวจ theta & delta waves)
  • ลักษณะโครงการเป็นอะไรก็ได้ เป็นองค์รวม ใกล้ตัว เชิงประจักษ์ และการ นำเสนอที่ทำให้เกิด empowerment
  • นศพ.ทุกคนใช้ความสามารถที่แตกต่างกัน บางคนเป็นนัก research ก็ทำตรง introduction เพื่อสร้าง research questions และหา reference evidence-based medicine บางคนเก่งคอม ก็รอตอนจะสร้าง file presentation บางคนเก่ง present บางคนเก่งแสดง บางคนเก่งจินตนาการ บางคนเก่งทำงานออก field ก็ไปสัมภาษณ์เด็กๆตามโรงเรียน หรือเพื่อนๆพี่ๆในคณะ เกิด ความเป็นทีม ที่ทุกคนรู้สึกตนเองมี "คุณค่า" ที่ unique และชี้ได้ว่าตนเองทำให้ project ออกมาสำเร็จตรงไหน

ผลสุดท้ายก็คือการ present project ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนมาก่อนสำหรับ academic medical project presentation ทุกๆกลุ่มแสดงศักยภาพที่แฝงเร้น (หลบในจากการถูกอาจารย์อัด กด ด่า ฯลฯ มาตลอด 4 ปี) อยู่ แสดง ความเป็นเด็ก ที่ยังมีอยู่ในร่างกาย ออกมาเป็น wonder จนอาจารย์ที่เข้าฟังต้องทึ่งในความสามารถของเด็กๆเรา (มี video streaming อยู่ใน e-learning website ไม่แน่ใจว่าต้องมี password หรือไม่ แต่ใครที่เข้าได้ แนะนำให้ลอง load มาชมดู)

ไม่ต้องพูดถึงผลคะแนนรายวิชาปฏิบัติ แต่ที่น่าสนใจคือรายวิชาภาคทฤษฎี ที่คะแนนออกมาดีมาก ใช้ได้เลย ไม่ต้องปรับ ปัด ช่วย ให้เสียความรู้สึก ปวดหมอง ปรากฏว่าวิธีแบบนี้สัมพันธ์กับ performance ที่ดีขึ้น (จริงหรือไม่?)

มีคนเสนอให้ปิด block เลย (นัยว่าลาโรงตอน peak สง่างามดี) เกรงว่าปีต่อๆไปเรา set ความคาดหวังไว้มากเกิน อาจจะถูกเด็กถล่มแทน แต่ในที่สุด เราก็ตัดสินใจจะลองดูต่อไปอีกสักปี

ในแง่แพทยศาสตรศึกษาแล้ว block ที่เพิ่งผ่านไป ควรค่าแก่การศึกษา วิจัย และทดลองซ้ำสมมติฐานหลายๆอย่างทีเดียว ที่อาจจะนำไปใช้ใน block อื่นๆด้วย

หมายเลขบันทึก: 76787เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 02:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้บรรยากาศของการคิดค้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักจะไม่ได้สนใจสร้างให้กับเยาวชนของเรานะคะ ดีใจที่ได้ทราบว่าโปรเจ็คต์แบบนี้จะยังมีอยู่

ฟังความเห็นที่ว่า ให้ปิดตอนยังรุ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าทำได้ดีแล้ว รู้สึกว่า ตกลงเราจะสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรดีๆ หรือว่าสอนเพื่อให้ได้ชื่อว่าสอนแล้วดีกันนะคะ

เข้าใจว่าคนเสนอคงพูดทีเล่นทีจริงมากกว่าครับคุณโอ๋

การประวัติศาสตร์การสอนที่มี self-directed learning มากแบบหลักสูตรแพทยศาสตร์ ม.อ. ผมคิดว่าไม่น่าจะมีคนตั้งเป้าหมายว่าจะได้ประเมินส่วนใหญ่ว่าสอนดีสักเท่าไหร่ครับ เรามักจะเตรียมตัวชี้แจงมากกว่าว่าทำไมการเรียนแพทย์ถึงหนัก ถึงเครียด ถึงต้องจริงจัง ดังนั้นการได้ feedback แบบครั้งนี้นั้น ถ้าจะเข้าใจต้องจินตนาการ psychological profile ของอาจารย์ตอนเตรียมรับข้อมูล จึงจะพอคิดออกครับว่าเราตื่นเต้นแปลกใจ (และแน่นอน... ดีใจ) กันแค่ไหน

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี - ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน ๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด ๒. ค่ายพุทธบุตร อบรมบุคลากรในหน่วยงาน ๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท