ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii ในโรงพยาบาลศิริราช


กัลยาณี ศุระสณางค็ , กุลยา นาคสวัสดิ์ และ กนกรัตน์ ศิริพานิชกร
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

วัตถุประสงค์
- เป็นการศึกาแบงย้อนหลังเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยา
A.baumannii โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ามานอนรักษาในโรงพยาบาลศิริราช

วิธีการวิจัย

- กลุ่มตัวอย่างศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา A.baumannii ในโรงพยาบาล 155 คน และกลุ่มเปรียบเทียบคือ ผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อในโรงพยาบาล 310 คน  จับคู่ 1: 2  ด้วยหอผู้ป่วย และอายุกับกลุ่มศึกษา

ผลการศึกษา
- อายุเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา 63.5 +18.7 ปี และในกลุ่มเปรียบเทียบ 62.9+18.2 ปี  ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา 4.9+1.4 สัปดาห์ และในกลุ่มเปรียบเทียบ 1.8+1.0 สัปดาห์ ตำแหน่งของการติดเชื้อดื้อยา
A.baumannii ที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง 74.8% ผลความไวของเชื้อ A.baumannii พบว่า ดื้อต่อยาเซฟไตรอะโซน 96.1%  และไวต่อยาเซฟโฟเพอราโซน/ซัลแบกแทม 42.1% ผลการวิเครราะห์ตัวแปรเชิงซ้อน พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการติดเชื้อดื้อยา A.baumannii ได้แก่ ระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลก่อนการติดเชื้อ (OR=2.06, 95% CI=1.09-3.89) การใส่สายสวนปัสสาวะนานกว่า  7 วัน (OR=8.24, 95%CI=3.81-17.82) เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 7 วัน (OR=5.73, 95%CI=2.96-11.10)  สายสวนเข้าหลอดเลือดส่วนกลางนานกว่า 7 วัน (OR=3.29, 95%CI=1.48-7.31), สายยางให้อาหารทางจมูกสู่กระเพาะอาหารนานกว่า 7 วัน (OR=6.22, 95%CI=3.24-11.93) แฃะการรักษาด้วยยาเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 3 และ 4 (OR=1.80, 95%CI=1.04-3.13) ยาเมโทรนิดาโซล (OR=2.59, 95%CI=1.21-5.560 และยาพิเพอราซิริน/ทาโซแบกแทม (OR=4.68, 95%CI=1.93-11.32)

สรุป

- ควรมีการเข้มงวดในการปฏิบัติตามการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล และเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะ สิ่งที่สำคัญคือ ควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของเชื้อดื้อยา A.baumannii ในผู้ป่วย




 

 

จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550  ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 76654เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท