กระบวนการแก้ปัญหาของคนในชุมชน


กระบวนการแก้ปัญหาโดยชุมชน

     จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องการวิจัยแบบมีส่วนร่วม  และได้ค้นคว้าจากหนังสือ  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : แนวคิดและแนวปฏิบัติ  ของ ดร.สิทธิณัฐ  ประพุทธนิติสาร  ได้เขียนถึงกระบวนการแก้ปัญหาของคนในชุมชนโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการคือ  การพัฒนาขีดความสามารถของคนในชุมชน  การแก้ปัญหามากกว่าการมุ่งไปท่ความสมบูรณ์ของการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง  หรือ ถ้าทำให้คนท่อยู่กับปัญหา "คิด" เป็นระบบมากขึ้น "ทำ" ให้เป็นระบบมากขึ้น  เรียนรู้กระบวนการ  "คิดไป  ทำไป"  อย่างเป็นระบบมากขึ้น  น่าจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่า  ความพยายามที่จะฝืนธรรมชาติแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้หมดสิ้นสมบูรณ์

     ความสามารถของคนที่อยู่กับปัญหาในชุมชน  สามารถสร้างเสริมทำให้เข้มแข็งได้ด้วยกระบวนการเรียนรู้  วิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ  แล้วดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการปฏิบัติแบบเป็นวงจร ดังต่อไปนี้

1.  ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ 

2.  ความสามารถในการค้นหาทางแก้ไขปัญหา

3.  ความสามารถในการใช้ภูมิปัญญาเดิมผสมกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุและทางแก้ไขปัญหา

4.  ความสามารถในการรวมคน  รวมกลุ่ม  รวมพลัง ในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา

5.  ความสามารถในการประสานงานต่อรองกับองค์กรภายนอกชุมชนเพื่อนำทรัพยากร เทคโนโลยี  มาใช้ในการแก้ไขปัญหา

6.  ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค  การแก้ไขข้อขัดแย้ง  และผลักดันให้ดำเนินต่อ

7.  ความสามารถในการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา  การประสานงาน  การประสานกิจกรรม

     ความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีการพัฒนาและต้องใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความสามารถของคนในชุมชนที่เป็นเจ้าของปัญหาและเพื่อให้เกิดการเพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหาโดยชุมชนอย่างแท้จริง

                                                       ศุลีวงศ์  สนสุผล

                                                             สม.4

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 76363เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท