อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

สอนเขียนอย่างไร ไม่เท่าสอนที่ใจอยากเขียน


ทำไมไม่ใช้หลักนี้กับเด็กของเรา ให้เขาเขียนในสิ่งที่เขาอยากเขียน ให้เขาเขียนในสิ่งที่เขารู้ สิ่งที่เขารู้สึกจะได้ผลดีกว่าที่ครูไปกำหนดให้เขา

ยอมรับว่า

ในบางคราว  เขียนไม่ออก หรือเขียนแต่ไม่จบ

ถ้าเป็นกระดาษร่างก็คงเขียนแล้วขยำๆๆและทิ้งลงตระกร้า

เผลอๆเก็บมาอ่าน    อ่านแล้วกลับขยำทิ้ง เป็นอย่างนี้มาตลอด

เริ่มเขียนได้เป็นเรื่องเป็นราว ต่อเมื่อเขียนบทความลงวารสาร

และได้รับการพิจารณาจัดพิมพ์  แถมมีค่าตอบแทน(แม้ไม่มากแต่ก็ตื่นเต้น)  ตั้งแต่นั้นมา รู้สึกอยากจะเขียน และเขียนบ่อยขึ้น แต่ก็นั้นแหละหากใจไม่อยากเขียน  เขียนไปก็ไม่จบ

เห็นนักศึกษาหลายคนตอบข้อสอบแบบเขียนตอบ บางคนส่งกระดาษเปล่า เขียนเพียงว่า ขอโทษครับอาจารย์ ต่อไปผมจะตั้งใจเรียนให้มากกว่านี้  เขาเขียนอะไรไม่ออก  บางทีไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีความรู้   มันอาจจะหมายถึงเขาไม่อยากเขียน เหมือนบางอารมณ์ที่เราเป็น

การเขียน จึงเป็นทักษะที่ยากยิ่งทักษะหนึ่งของภาษา  และมักจะวัดผลสัมฤทธิ์ของความรู้ความเข้าใจด้วยการเขียนเช่น เขียนตอบ เขียนอธิบาย เขียนบรรยาย  เราคิดถึงสิ่งที่เราเขียน ถ้าได้เขียนในสิ่งที่เรารู้ เขียนในสิ่งที่เราประทับใจ เขียนในสิ่งที่เราอยากจะเขียนหรือมีความในใจอยากจะถ่ายทอด เราเขียนได้ดี 

นั่นเพราะเริ่มที่ใจอยากจะเขียน   ใช่หรือไม่

ทำไมไม่ใช้หลักนี้กับเด็กของเรา  ให้เขาเขียนในสิ่งที่เขาอยากเขียน ให้เขาเขียนในสิ่งที่เขารู้ สิ่งที่เขารู้สึก จะได้ผลกว่าที่ครูไปกำหนดให้เขา ซึ่งไม่ใช่ใจเขาอยากจะเขียน  ทำให้คิดถึงการเขียนเรียงความในสมัยเด็ก  เราถูกบังคับให้เขียนในสิ่งที่เรารู้ไม่จริง รู้ไม่ลึก และไม่ชอบเช่นเรียงความเรื่อง  วันเข้าพรรษา เรียงความเรื่องพระปิยมหาราช หรือเรื่องยาเสพติด ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่ค่อนข้างไกลตัว และไม่มีข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆมากพอ 

วันนี้ อยากแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครูลองสอนให้เขียนในสิ่งที่เด็กรู้ ให้เขียนในสิ่งที่เขาอยากเล่า อยากบอกความในใจ เขาจะเขียนได้มาก และอยากเขียนมากกว่าเรื่องที่ครูกำหนด  เพราะดิฉันค้นพบด้วยตัวเองว่า  สอนเขียนอย่างไร ไม่ได้ผลเท่าที่ใจอยากเขียน  เป็นเรื่องสำคัญ

คำสำคัญ (Tags): #เขียนไม่ได้
หมายเลขบันทึก: 76167เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เจริญพร อาจารย์

ได้สาระมากเลย...

เพื่อนคนหนึ่งเคยเป็นนักเขียน แต่ตอนนี้เป็นนักอ่าน ท่องให้ฟังว่า

อ่านให้มาก

 นึกอยากเขียน

 เพียรฝึกฝน

 สนใจมนุษย์

 จุดหมายเด่น

 เน้นภาษา

 หาข้อมูล

 เพิ่มพูนความรู้....

ยังอีกวรรค สองวรรค แต่จำไม่ได้แล้ว...

เจริญพร

สวัสดีค่ะ อาจารย์
เห็นด้วยมากเลยค่ะว่าควรให้นักเรียนเขียนสิ่งที่เค้ารู้เค้าอยากเขียน ถ้าเรากฎเกณฑ์ มากจนเกินไป จะทำให้รู้สึกไม่อยากเขียนค่ะ แบบว่ากลัวผิดค่ะ

นมัสการพระอาจารย์

กราบขอบพระคุณมากๆเลยค่ะที่กรุณา

เลยได้สรุปองค์ความรู้ใหม่

แม้ขณะนี้ ยามนี้ ยังต้องฝึกฝน พัฒนาการเขียนของตนอีกมาก  ถ้าจำได้ขอความเมตตาเพิ่มเติมอีกนะคะ

เรียน คุณสุธรา

สอนกฏกณฑ์ก็ไม่กล้า  กลัวออกนอกกรอบ

นักเรียนมักจะเดินตามกรอบที่ครูกำหนด แล้วเมื่อไหร่

จะคิดได้ คิดเป็นเสียทีนะคะ ขอขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาแวะเยี่ยม

เห็นด้วค่า 

แจกฟรี Screensavers, Wallpapers อินเตอร์มีมาแจกเพียบค่ะ!! อิอิFree Screensavers, Wallpapers Click!  http://www.thaiadpoint.com/tap7/html/pub_screensaver.php?u_id=213536

ถูกต้องสุดๆเลยค่ะโดนมากๆเลยเพราะว่าถ้าเรากำหนดหัวข้อให้เด็กๆเขียนมันจะทำให้เครียดมากเลยค่ะซึ่งตอนนี้หนูกำลังเครียดมากกับการเขียนเรียงความอยู่ค่ะอยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท