กลยุทธ์เชิงรุกในการหาแนวร่วม KM เมืองคอน


"เรื่องเล่าดี ๆ แค่ 5 นาทีก็เกินพอ"
          

กศน.นครฯ ผนึกกำลังเครือข่ายภาครัฐ ด้วยกลยุทธ์ลุยถึงที่

 ทีมเลขานุการโครงการการจัดการความรู้เมืองนคร เดินหน้าเชิงรุกหาเครือข่ายทีมสนับสนุนงานวิชาการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ผลจากการสรุปบทเรียนการดำเนินงานที่พบ มีหลาย ๆ ความคิดเห็นอยากให้มีการติดอาวุธทางปัญญาให้กับคณะทำงานในทุกวงเรียนรู้ 

                 ทีมเลขาฯ เริ่มส่องกล้องหาผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ทั้งที่ฝังลึก และความรู้ที่ชัดแจ้งจากหน่วยงาน กศน.เองและจากภาคีเครือข่าย มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549  ผลมีความก้าวหน้าไปอีกระดับ  เมื่อได้รับความอนุเคราะห์ มหาวิทยาลัยลัยลักษณ์ นำโดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร   ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร พร้อมคณะที่ได้ร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ วงเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ ได้แก่ พี่ติ๋ม มวล.    คุณนิรันดร์  คุณบรรจงวิทย์ คุณโจ๊ก คุณนมิตา และน้องเมย์  รวมทีม กศน.คือรองเกสร พี่เป้า และดิฉัน เป็น 10 คนพอดี 

ในการลปรร. ครั้งนี้ ความรู้สึกจะผ่อนคลายกว่าครั้งแรกมาก ๆ เลย เหตุเพราะว่าทีม กศน.จังหวัด ได้พบปะเรียนรู้จากทีมงานของ ม.วลัยลักษณ์ เป็นครั้งที่ 3 บรรยากาศดูดีแบบเรียบง่าย มีการทักทายกันนิดหน่อย แล้วเริ่มพูดเข้าประเด็นวัตถุประสงค์ที่ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช  ขอความอนุเคราะห์ฝึกปฏิบัติการเทคนิคการเป็นคุณอำนวยที่ดี  เพื่อให้คุณอำนวยอำเภอได้เกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้เครื่องมือชุดธารปัญญา และนำไปถ่ายทอดให้กับคุณอำนวยอำเภอต่อไป

เริ่มต้นการพูดคุย โดยการบอกเล่าความเป็นมาเป็นไปของโครงการ และการจัดกระบวนทัพการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร เพื่อให้เข้าใจลักษณะของงานและบทบาทของคุณอำนวยอำเภอ ซึ่งท่านรองอธิการได้ข้อสรุปว่า การจัดครั้งนี้คือ “Training the Trainer”  และคุณอำนวยอำเภอต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานเบื้องต้นว่าการฝึกอบรมครั้งนี้ตัวคุณอำนวยอำเภอเป็นคุณกิจ  และต้องจับเทคนิคที่คณะวิทยากรใช้ไปฝึกปฏิบัติให้กับคุณอำนวยตำบลต่อไป  การลปรร.มีข้อคิด ประเด็นที่ปรึกษาหารือที่น่าสนใจเรื่อง เนื้อหาที่จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย  ซึ่งมองว่าการใช้ KM  กับชุมชน เพื่อดึง Tacit Knowledge ของภูมิปัญญา ปราชญ์ในหมู่บ้าน  การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง จะเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับชุมชน  คุณอำนวยควรมีทักษะการพูดที่สามารถกระตุ้นให้ผู้ร่วมเวทีประชาคมมีส่วนร่วมเล่าสิ่งดี ๆ ที่ประสบความสำเร็จออกมาได้   การแบ่งกลุ่มคน การคละหน่วยงาน(คละหน่วยงานอย่างไร ให้แต่ละอำเภอสามารถรวมกลุ่มและสานต่องานได้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเล่าเรื่อง ซึ่งได้ประโยคเด็ดจากพี่ติ่ม ว่า เรื่องเล่าดี ๆ 5 นาทีก็เกินพอ  เวลาที่ใช้ในการเล่าเรื่องถ้านานเกินไปคนฟังจะเบื่อ ถ้าน้อยเกินไปจะฟังไม่เข้าใจคณะได้ร่วมกันร่างกำหนดการในการฝึกปฏิบัติการ ดังนี้08.30 - 09.00 น.  พิธีเปิด09.00 - 09.30 น.  กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยคุณนิรันดร์ 09.30 - 12.00 น.  หลักการใช้เทคนิค เรื่องเล่าเร้าพลัง การแบ่งกลุ่มเล่าเรื่อง  โดยคุณจินตนา13.00 -  13.30 น.  กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์  โดยคุณนิรันดร์  13.30 - 15.00 น.  การสกัดขุมความรู้ แก่นความรู้ 15.00 - 16.00 น.  การทำตารางอิสรภาพ แผนภูมิขั้นบันได และธารปัญญา  โดยคุณจินตนา16.00 -  16.30 น.  การ AAR  โดยคุณนิรันดร์  16.30 - 17.00 น.   พิธีปิดโดยมีทีมวิทยากร(ทั้งคุณอำนวยและคุณลิขิต) ของม.วลัยลักษณ์ ประมาณ 20 คน  กลุ่มเป้าหมายคุณอำนวยอำเภอทั้งหมด 115 คน (23 อำเภอๆ ละ 5 คน จาก 5 ภาคีเครือข่าย คือ ปลัดอำเภอ พัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และผอ.กศน.อำเภอ) การฝึกปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 วันที่ 16 ก.พ. 2550 และรุ่นที่ 2 วันที่ 19 ก.พ. 2550  รุ่นละ ประมาณ 60 คน หลังจากกำหนดการเป็นรูปเป็นร่างก็พูดคุยเรื่องการเตรียมงาน นัดพบกันอีกครั้งเพื่อความพร้อมในวันที่ 13 ก.พ. 2550  การพูดคุยในวันนี้ทำให้ทีมงาน กศน.ในฐานะเลขานุการรู้สึกโปร่ง โล่ง เกิดความดีใจว่าการเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือจากภาครัฐ ได้ประโยชน์หลายอย่าง ตั้งแต่ได้รู้จักคนที่ไม่เคยรู้จัก  ได้ความรู้  เรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานของบุคลากร   ในม.วลัยลักษณ์ เรียนรู้วิธีคิด  การรู้ลึก รู้จริงในสิ่งที่ตนเองทำและรับผิดชอบโดยการแสวงหาความรู้มาพัฒนาตนเอง ด้วยตนเอง  ที่สำคัญการให้ความช่วยเหลือหน่วยงานในท้องถิ่นที่มีความลึกซึ้งด้านวิชาการน้อยกว่า จะเกิดประโยชน์กับชุมชนมากมาย  และคิดต่อไปอีกว่า  เราจะเชื่อมโยงสิ่งที่ได้รับรู้ เรียนรู้จากวงเรียนรู้แต่ละวง ตั้งแต่ วงเรียนรู้คุณเอื้อจังหวัด วงเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ ให้กับผู้ร่วมงานในพื้นที่อย่างไรให้ ต่อเนื่อง   เกิดพลัง และร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนสู่ หัวปลา         ตัวใหญ่ ๆ   เพื่อชาวนครศรีธรรมราชต่อไป       
 
คำสำคัญ (Tags): #เครือข่าย#km
หมายเลขบันทึก: 75791เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน...พี่ชมพูเข้ม

  • อยากให้คุณอำนวยระดับอำเภอดำเนินวงเรียนรู้ ได้อย่างจริงจัง...ครับ  เพราะตอนน้ีเท่าที่ดูหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินงานอย่างไรครับ... บางหน่วยงานยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าปีน้ีในพื้นที่ของเขาต้องดำเนินการกี่หมู่บ้าน
  • คนหน้างานระดับพื้นที่จริงๆ ประสานกันได้ครับ... ผมคิดว่าหากระดับคุณเอื้อของทุกหน่วยงานประสานกัน ได้ก็คงจะไปได้ดีกว่าน้ีอีกเยอะเลยครับ...

ขอบคุณครูราญที่ร่วมแลกเปลี่ยน วงเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอได้ปรับรูปแบบและเติมเต็มด้านวิชาการมากขึ้น จริง ๆ แล้ว ครั้งที่ 1 มีกำหนดการจะแลกเปลี่ยนเรื่องโครงการ / พื้นที่และแผนการจัดกิจกรรมก่อน แต่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด จึงต้องเลื่อนไปเป็นครั้งที่ 3 

    สำหรับวงเรียนรู้คุณเอื้อจังหวัดได้พูดคุยและประสานงานกันได้ครบเกือบทุกส่วนแล้ว

  สำคัญที่คอขวดคือวงเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ จึงมีการปรับโดย ให้นายอำเภอของพื้นที่ทดลอง 5 แห่ง ร่วมอยู่ในวงเรียนรู้ของคุณเอื้อจังหวัดด้วยคะ 

หนึ่งตะวัน ศบอ.ปากพนัง

สวัสดีค่ะ อ.ชมภู  ขอบคุณน่ะค่ะที่เข้าไปเยี่ยมบล็อก

จากการจัดวงเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ ในครั้งนี้นับเป็นสิ่งที่ดีเพื่อให้การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ ให้ราบรื่นและกระตุ้นให้หน่วยงานราชการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นและเกิดความต่อเนื่อง  เกิดพลัง  ร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมต่อไป

ค่ะสวัสดีอีกครั้งน่ะค่ะอ.ชมภู  วันที่  15  ก.พ. 2550   คงจะได้พบ อ.ชมภู และคณะ KM จังหวัด  ในการจัดวงเรียนรู้คุณเอื้อตำบล   คุณอำนวยอำเภอ และตัวแทนคุณกิจแกนนำ รวมทั้งคุณอำนวยตำบล  ซึ่งมีทั้งคุณ ๆ ที่เป็นมือใหม่ และคุณ ๆ ที่ผ่านการจัดกิจกรรมมาแล้ว

เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจด้วยความชื่นชม ทำต่อไปนะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท