คุ้มค่าหรือไม่กับระบบการเรียนแบบออนไลน์


ผู้เรียนกับระบบยั้งเดินไปคนละทาง

             ระบบการเรียนออนไลน์หรือที่เราเรียกกันว่า e-Learning นั้นถูกสร้างขึ้นมาอำนวยความสะดวกต่อผู้เรียนและผู้สอน ให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายและรวดเร็ว มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการโต้ตอบผู้เรียน การเก็บสถิติการเข้าเรียน การทดสอบต่าง ๆ รวมไปถึงกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะสร้างความบันเทิงแก่ผู้เรียนก็สามารถทำได้ ระบบต่าง ๆ ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับการเรียนการสอนที่เพิ่มศาสตร์ความรู้แขนงต่าง ๆ ขึ้นมาเช่นกัน
           การเรียนการสอนในระบบออนไลน์แม้ว่าจะมีผลดีอย่างมาก แต่ผลเสียจะมีมากยิ่งกว่าหากเพียงพัฒนาขึ้นมาแล้วไม่เกิดการใช้งาน หรือไม่สนับสนุนแก่ผู้ใช้ หากลองไปศึกษาในเชิงลึกในลักษณะการศึกษาผู้ใช้ จะเห็นว่าการเรียนการสอนในระบบเครือข่ายยังสร้างคุณค่าให้กับผู้เรียนได้ไม่มากพอ นั่นเพียงเพราะระบบส่วนมากไม่เอื้อต่อการเข้าใช้ของผู้ใช้นั่นเอง เช่น ขั้นตอนการเข้าถึงบทเรียนยุ่งยาก เนื้อหาในบทเรียนไม่ครอบคลุม ระบบการทดสอบและการตอบโต้ไม่มีประสิทธิผล เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ อาจเป็นเพราะผู้พัฒนาระบบ แต่ปัญหาหลักที่ผู้สอนและผู้พัฒนาไม่ควรมองข้ามคือ การสร้างความสำคัญให้แก่ผู้เรียน เพราะผู้เรียนส่วนมากเข้ามาใช้เพราะ "ต้อง" เข้ามาเรียนในระบบ นั่นหมายถึงว่าผู้เรียนไม่ได้เห็นความสำคัญในการเรียนแบบนี้มากเท่าใดนัก 
               นิสิต/นักศึกษาที่เรียนจบไป หลายคนไม่เคยเรียนผ่านเครือข่าย หรือเรียนก็เพียง 1 - 3 วิชา (ข้อมูลจากการศึกษาผู้ใช้ e-learning รายวิชาการศึกษาผู้ใช้ สาขาสารสนเทศศาสตร์ มมส. 48) ข้อมูลดังกล่าวบอกได้ในหลายแง่มุม เช่น วิชาที่ผลิตเป็นบทเรียนบนเครือข่ายมีจำนวนน้อย   ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญ  ประโยชน์ของการเรียนแบบออนไลน์กับการเรียนแบบปกติไม่แตกต่างกันมากนัก และสุดท้าย การเข้าใช้ระบบยุ่งยาก
               ในเรื่องของ e-Learning นั้น ไม่ใช่สำคัญแต่เพียงตัวผู้เรียนเท่านั้น เจ้าของวิชาหรืออาจารย์ผู้สอนก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าผู้เรียนเลย หากลองสำรวจในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ศึกษาจำนวนวิชาหรือหลักสูตรที่เปิดสอนแล้วนำมาเปรียบเทียบกับหลักสูตรที่มีการพัฒนาให้สามารถเรียนผ่านเครือข่าย มีส่วนต่างกันมากน้อยเพียงใดหลักสูตรที่นำมาผลิตเป็นบทเรียนออนไลน์ มีความสำคัญมากน้อยเพียงใดต่อผู้เรียนโดยรวมของสถาบัน จำนวนตรงนั้นจะบอกถึงการให้ความสำคัญของผู้บริหารและผู้สอน ซึ่งจะมีผลส่งต่อไปยังผู้เรียนโดยตรง

              แน่นอนว่าการผลิตบทเรียนบนเครือข่ายนั้น ผู้บริหารและผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องเล็งเห็นความสำคัญอย่างมาก แม้จะสร้างบทเรียนต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย แต่ขาดผู้เรียน ขาดผู้เข้าใช้ระบบ  บทเรียนที่สร้างขึ้นมาคงสูญเปล่า และไม่เกิดประสิทธิผลต่อการเรียนแต่อย่างใด  

 

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 75789เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ  ปรับสีสันหน่อยนะคะ จะได้อ่านง่ายค่ะ

เป็นบทความที่น่าสนใจมากค่ะ

ว่าไปแล้ว การเข้าถึงบทเรียนยาก ก็มีหลายปัจจัย หลายประเด็นที่เข้ามามีส่วน อาจจะอยู่ที่

  • อุปกรณ์เครื่องใช้ (เครื่องคอม) มีน้อย ?  หรือ..แม้มีหลายเครื่อง แต่ที่ใช้งานได้จริงๆอาจจะมีไม่กี่เครื่อง ? คนต้องเข้าคิวกันใช้  ?
  • เวลาของการเรียนรู้ไม่อำนวย เพราะห้องคอม เปิดเป็นเวลา  ? หรือนักศึกษาไม่มีเครื่องคอมส่วนตัว ? ซึ่งตรงนี้ถ้าการเข้าไปเรียนหรือใช้งาน สอดคล้องกับเวลาที่พอเหมาะของเขา อาจจะทำให้มีการเข้ามาใช้งานระบบมากยิ่งขึ้นก็ได้
  • โปรแกรมที่จัดให้ไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรจูงใจ ทำให้น่าเบื่อหน่าย  ตรงนี้อาจจะปรับเทคนิคการนำเสนอการสอน  ในรูปแบบเกมได้ไหม ?
  • ก็ลองเสนอไอเดียมาเล่นๆดูน่ะค่ะ ผิดถูกประการใด ถือเป็นการ ลปรร กันสนุกๆเฉยๆนะคะ
  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ^__^

 

 ปล. ลองใช้การ กด enter เพื่อเว้นบรรทัด ระหว่างย่อหน้าสัก 1-2 บรรทัด เพื่อพักสายตาในการอ่าน และการใช้ตัวหนากับข้อความที่เด่นๆ  รับรองจะทำให้บันทึกนี้ สวยงาม และน่าอ่านอีกเท่าตัวเลยล่ะค่ะ

^_____^

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท