ข้อเสนอนโยบายสาธารณะ เพื่อพัฒนาการพึ่งตนเอง


แม้กระทั่งตัวชี้วัดในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็ยังมีคนตีค่าออกมาเป็นความพอเพียงเรื่อง “เงิน” เสียอีกด้วย ไม่ทราบว่าชาตินี้เราจะรอดกันไหม
 

จากที่ผมตระเวนทำงานกับชุมชนต่างๆในภาคอีสาน ผมได้พบประเด็นที่อาจนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อสนับสนุนการทำงานระดับนโยบายได้

 

สาเหตุใหญ่ที่ชุมชนมีปัญหาการพึ่งตัวเอง ก็เนื่องมาจากระบบการพัฒนาที่ผิดพลาด ใช้เงินเป็นตัวหลัก ในตัวชี้วัดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคม ทั้งระดับมหภาค และระดับจุลภาค ที่ทำให้ทุกคนวิ่งหาเงิน กันเกือบตลอดชีวิต แต่ก็แทบไม่มีใครมีเงินตามที่ตัวเองคิดไว้ มีแต่หนี้สิน ที่เพิ่มขึ้น ทรัพย์สินที่ลดลง ทั้งในระดับครัวเรือน และชุมชน แต่ ก็ยังถูกหลอกว่ามีมูลค่าที่ตีเป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น เรียกว่า ผีเงิน นี่ตามหลอกหลอนตั้งแต่เกิดจนตาย เลยทีเดียว

  

และแม้กระทั่งตัวชี้วัดในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็ยังมีคนตีค่าออกมาเป็นความพอเพียงเรื่อง เงิน เสียอีกด้วย ไม่ทราบว่าชาตินี้เราจะรอดกันไหม

  

ประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญที่จะต้องแก้ไขในเรื่องแรก ก็คือ การปรับความคิดในทุกระดับ ให้ทุกคนเห็นว่า เงิน ไม่ใช่พระเจ้า อีกต่อไป แต่เป็น ทรัพย์ ต่างหากที่สำคัญ ที่ควรแก่การนับถือ และการออม

  

ทรัพย์ที่สำคัญ ก็ได้แก่

 

·        ทรัพยากรธรรมชาติ ที่คนต้องพึ่งพา ที่เคยมีในอดีต และกำลังหายไป ที่เป็นปัจจัย ๔ ทั้งในเชิง อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่ธรรมชาติ ได้เอื้ออำนวยให้เกิดขึ้น แต่ก็ล่มสลาย และจำเป็นต้องมีนโยบายสนับสนุนให้มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ และต้องไม่ซ้ำเติมด้วยความรู้ที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นพิษ จนทำให้มีปัญหามากกว่านี้

 

·        ทรัพยากรทางสังคม ทีทำให้ทุกคนมีความสุข พึ่งพาอาศัยกันได้ ที่ต้องมีนโยบายสนับสนุนระบบครอบครัวและสังคม ให้กลับมาเข้มแข็ง ตามแบบประเพณี และวัฒนธรรมไทยในยุคใหม่ ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดพอสมควร

 

·        ทรัพยากรด้านความรู้ในการจัดการผสมผสาน ทั้งสองทรัพยากรเข้าด้วยกัน โดยการจัดการความรู้แบบเป็นธรรมชาติ ที่สอดประสานเข้ากับระบบชีวิตจริง ของคนกลุ่มต่างๆในสังคม

  

เมื่อพิจารณาทั้งสามฐานของทรัพยากรแล้ว พบว่าในปัจจุบันนั้นอ่อนแอแทบทุกระบบ ที่อาจจำเป็นต้องค่อยๆประคองให้สามารถพัฒนามาพร้อมๆกัน ที่จะทำให้เกิดความสอดคล้องกันมากที่สุด

  

ตัวอย่างที่พบก็คือ ชุมชนส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่ จะขาดความมั่นใจในการทำงาน ถ้าไม่มีหน่วยงานเข้าไปช่วยสนับสนุนทั้งในเชิงวิชาการ และงบสนับสนุนในส่วนที่ขาดจริงๆบ้าง พอเป็นแรงจูงใจ

  

ฉะนั้นจึงควร มีการวางแผนและนโยบายสนับสนุน ทำงานแบบคู่ขนานระหว่างระบบราชการและระบบชุมชน แต่ส่วนใดที่พอทำร่วมกันได้ ก็ควรกำหนดตัวชี้วัดทางเลือกในการสนับสนุนให้ระบบราชการ ทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาความมั่นใจก่อนที่จะทำงานที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆต่อไป

  

การพัฒนาเครือข่ายของชุมชน ก็เป็นทางหนึ่งที่สามารถลดความจำเป็นที่ระบบราชการจะต้องไปทำงานกับทุกชุมชน ซึ่งทำได้ยาก

  ดังนั้น ระบบราชการจึงต้องพัฒนาแนวคิดการทำงานแบบเครือข่าย และการทำงานแบบบูรณาการ ทำหลายๆงานในครั้งเดียว และ ทำครั้งเดียวให้ได้หลายงาน ก็จะสามารถทำงานแบบเครือข่ายได้  

ในปัจจุบัน ระบบราชการกำลังทำงานแบบวิ่งตามนโยบาย แต่มักไม่ค่อยทัน

ส่วนใหญ่ขั้นตอนการทำงานจนกว่าจะเห็นผลนั้น จะช้ากว่าแผนอยู่ประมาณ ๑๐ ปี ที่ทางฝ่ายนโยบายจะต้องหาทางพัฒนาความแตกต่างเหล่านี้

 มิเช่นนั้น เราก็จะมีปัญหาในการทำงานอย่างนี้ไปตลอด 

 ดังนั้น การทำงานแบบคู่ขนานระหว่างราชการกับชุมชน ก็น่าจะทำให้ทั้งสองระบบพัฒนาไปพร้อมๆกัน และสามารถพัฒนาร่วมกันได้ในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 75729เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดร.แสวง ครับ                   

                     ประมาณว่ามาเป็นนักเรียน เรียนรู้ไปพร้อมๆกันใช่ไหมครับ เสมอไหล่กัน อยู่ในวงเรียนรู้เดียวกัน เป้นของกันและกัน หรือว่าเป็นเครือข่ายกันนั่นแหละครับ ผมเห็นว่าวิธีนี้เท่านั้นที่ราชการจะไม่ตามหลังนโยบายอยู่ 10 ปี ต้องไวเคลื่อนหรือขยับตัวให้ทันชาวบ้าน อย่าให้ชาวบ้านร้องยี้ใส่หน้ายามที่เขาเดินรุดหน้าไปถึงไหนแล้ว ส่วนราชการนั้นก็ยังเตาะแตะอยู่

                      ถ้าภาคประขาชนดับภาคราชการ ภาคอะไรต่อมิอะไรรำวงสาละวันเข้าหากันมันก็คงจะดีไม่น้อยนะครับอาจารย์

มันก็จริงค่ะที่ว่าคนคิดถึงเรื่องเงิน  แต่เงินก็เป็นคุณอำนวยที่สะดวกในยุคนี้นี่ค่ะ
การทำงานแบบคู่ขนานระหว่างราชการกับชุมชน ทำยังไงล่ะคะ
การทำงานแบบคู่ขนานระหว่างราชการกับชุมชน นั้นก้ต่างคนต่างทำในเรื่องเดียวกัน หันมองกันบ้าง คุยกันบ้าง แลกกันบ้าง นานๆไปก็เป็นเพื่อนกัน เดินด้วยกัน แบบไม่ต้องมีใครบังคับ อย่างเป็นธรรมชาติครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท