การประเมินทักษะทางภาษา (7)


แนวคิดและความสำคัญของการประเมินทางภาษา ในการจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

กรอบแนวคิดในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร (Communication Competence)  มีประเด็นที่เป็นกรอบแนวคิด  ในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสารที่ครูผู้สอนควรรู้  และควรทำความเข้าใจหลายเรื่อง 

ประเด็นต่างๆได้แก่   การทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร ซึ่งท่านสนใจและอ่านได้ในบันทึกนี้ค่ะ การประเมินทักษะทางภาษา (6)  

คราวนี้ในบันทึกนี้  ครูอ้อยจะกล่าวถึง  ลักษณะการทดสอบที่ใช้ในการประเมินตามสภาพจริง  ต้องประเมินการสื่อสารในชีวิตจริง  โดยจะต้องมีภาระงานเหมือนในชีวิตจริง  ซึ่งแบบทดสอบทางภาษาแบบเก่า  ไม่สามารถนำเอาลักษณะต่างๆของการสื่อสารในชีวิตจริงมาเป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบได้  ครูอ้อยศึกษามาว่า  จะต้องทำรายการบ่งชี้ถึงการประเมินตามสภาพจริงของทักษะทางภาษาของนักเรียน  ในรูปแบบของภาระงานที่มีลักษณะ 7 ประการ  ดังนี้ 

1.  ลักษณะเป็นภาระงานที่ยึดการมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นหลัก  (Interaction - Based) 

2.  ลักษณะภาระงานที่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้  ( Unpredictability) 

3.  ภาระงานต้องมีบริบท  (Context) 

4.  จุดมุ่งหมาย  (Purpose) 

5.  การปฏิบัติจริง  (Performance) 

6.  ความเป็นจริงแท้  (Authenticity) 

7.  การยึดพฤติกรรมที่คาดหวังเป็นหลัก  (Behavior-Based)

ครูอ้อยจะขอเกริ่นไว้เพียงเท่านี้  และจะอธิบายรายละเอียดเมื่อศึกษาแล้วนะคะ  วันนี้ขอจบแต่เพียงเท่านี้  ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน  รักษาสุขภาพด้วยค่ะ  อากาศเปลี่ยน

หมายเลขบันทึก: 75631เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท