ตัวอย่างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหา


การแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญจากมลพิษอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในระบบไตรภาคีนั้น ต้องเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

     การวิจัยนวัตกรรมเรื่อง กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยนางรวีวรรณ สร้อยระย้า นักวิชาการสาธารณสุข 8 ว. ศูนย์อนามัยที่ 3 เรือตรีเดชา เสมบุญหล่อ (รน.) ปลัด อบต.ท่าตูม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี นางสาวประนอม ภูวนัตตรัย นักวิชาการสาธารณสุข 8 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย และคณะ (2548) เป็นกรณีตัวอย่างที่น่าจะได้เรียนรู้อีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะในทีมงานไตรภาคีฯ ซึ่งผมได้อ่านแล้ว และขอนำบทคัดย่อมานำเสนอไว้ที่บันทึกนี้ หากเป็นรายละเอียดติดตามต่อได้ที่ วารสารสงเสริมสุขภาพ หรือ Health

     การวิจัยนวัตกรรม เรื่อง กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นการวิจัยเชิงบรรยายผสมผสานการวิจัยเชิงอนาคต (Futuristic research) แบบเดลฟายเทคนิค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทบทวนสถานการณ์ของเหตุรำคาญ 2) นพเสนอรูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญที่เหมาะสม 3) พัฒนาและวิจัยกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญที่ดี และเหมาะสมที่สุด (Best practice model) 4) ศึกษาปัจจัยและแนาวทางสร้างความยั่งยืน ของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ

     การศึกษาวิจัยดำเนินการระหว่างปี พ.ศ.2542-2547 พบว่า นิคมอุตสาหกรรม 304 และโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ ทั้งใน และนอกนิคมฯ จำนวน 27 โรงงาน ได้สร้างผลกระทบ และความเดือดร้อนรำคาญ ทั้งปัญหากลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง เสียงดัง น้ำเสีย ขยะมูลฝอย และอื่นๆ ประชาชนที่เดือดร้อนใช้วิธีร้องเรียน สู่องค์กรภาครัฐ แต่ไม่มีการเชื่อมโยง ไปสู่ผู้ประกอบการโรงงาน และขาดการประสานงาน ที่เป็นรูปธรรม ทั้งภาคชุมชน โรงงาน และภาครัฐ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ตำบลท่าตูม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก 3 ฝ่าย คือ ชุมชน ผู้ประกอบการ และภาครัฐ เพื่อใช้เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหา เหตุรำคาญอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีการประชุมเป็นประจำเดือนละครั้ง รวมทั้งหมด 35 ครั้ง และมีมติให้แต่ละฝ่าย ดำเนินการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ และอื่นๆ จนเป็นข้อยุติจำนวน 134 เรื่อง ซึ่งทำให้สามารถแก้ไขปัญหาร้องเรียน ได้อย่างเป็นระบบ จำนวนเรื่องร้องเรียนลดลง รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับการชี้แจง ทำความเข้าใจระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ได้รับความเดือดร้อน เพื่อยุติปัญหา

     ผลการวิจัยเชิงอนาคต พบว่า การแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญจากมลพิษอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในระบบไตรภาคีนั้น ต้องเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหลัก พร้อมการออกกฎระเบียบ และข้อบังคับให้เข้มงวดขึ้น ส่วนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในอนาคต จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภารกิจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ชุมชน ผู้ประกอบการโรงงาน โดยใช้หลักการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ที่เหมาะสม

หมายเลขบันทึก: 7528เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2005 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท