KM ราชการ ... (4) แผนใช้ KM กรมสุขภาพจิต 2550 (ความคิดเห็นเพิ่มเติม)


เราต้องเอาตรงนี้มาบอก ก.พ.ร. ว่า เราจะทำอย่างนี้ เราจะ achieve อันนี้

 

ความคิดเห็นเพิ่มเติมในบันทึกนี้ค่ะ KM ราชการ ... (3) แผนใช้ KM กรมสุขภาพจิต 2550

อ.วิจารณ์ ...

ผมให้ข้อสังเกตที่ท่านรองฯ ได้นำเสนอ เพราะว่าจะได้เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานอื่นที่จะต้องวางแผน เพื่อการใช้ KM เพื่อให้สนอง ก.พ.ร. ด้วย และเพื่อสนองการพัฒนาหน่วยงาน และคนด้วย ตรงนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีมาก

ที่สำคัญจะเห็นว่า กรมสุขภาพจิตมีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาได้ชัดเจน (ตรงนี้คือ KV) และเอามาแตกให้เป็นประเด็นย่อยๆ ที่มี KPI ได้

เราต้องเอาตรงนี้มาบอก ก.พ.ร. ว่า เราจะทำอย่างนี้ เราจะ achieve อันนี้ ... แล้วก็ตัวเป้าหมายอันนั้น ก็จะไปสู่หน่วยงานย่อยๆ ทั้งหลาย ว่า แล้วการที่คุณทำให้ดีขึ้นนี้ ใครมีประสบการณ์ที่ทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร ก็มา share กัน ก็คือใช้ KM เพื่อที่จะ share ระหว่างหน่วยงานย่อยภายในกรมฯ เพราะฉะนั้น การใช้ KM ก็จะมีเป้าหมายชัดเจน แน่นอน

ผมเข้าใจว่าหน่วยราชการจำนวนมาก ใช้ KM แล้ว ปวดเศียรเวียนเกล้า ก็เพราะว่า ใช้ KM แบบไม่มีเป้าหมายชัดเจนแน่นอน ไม่มีกลไก แกนนำ ที่มานั่งคิดอย่างที่ท่านรองฯ เล่า ไม่ได้คิดตรงนี้ให้ชัด โยนไปให้คนทำงานคิดกันเอง ก็เวียนหัว ... เมื่อตรงนี้คิดให้ และผมเข้าใจว่า ถ้าจะให้ดี เมื่อมีหน่วยงานย่อยๆ ทำแล้ว ... นอกจากให้เขาบอกแล้ว หน่วยงานกลางก็ยังตามไป observe ไปจับประเด็นสำคัญที่เป็นความสำเร็จ และ appliciate

ถ้าเราสังเกตนะครับ เราจะเห็นว่า คนทำงานของเราบางครั้ง ที่ทำความสำเร็จเล็กๆ นี่ ตัวเองไม่เห็นครับ แต่คนอื่นเห็น พอมีคนอื่นซึ่งผ่านโลกมามากกว่า เห็นภาพรวมมากกว่า ไปชี้ให้เห็น ผมว่ามีความสุข

... สมัยผมเป็นหมอเด็ก พอมีผู้ใหญ่มาชี้ให้เห็น ก็อิ่มใจ วันนี้ทั้งวันเราไม่กินข้าวก็ได้ (ว่ะ) ...

จึงต้องมีการตั้งเป้า มีผู้ปฏิบัติ ที่พยายามปฏิบัติให้มันดีขึ้น และพยายามมาแลกเปลี่ยนให้ตัวเองเห็นอย่างไร ประสบความสำเร็จอย่างไร มันก็จะยกระดับ แต่บางกรณี ตัวไม่เห็น คนอื่นเห็น ไปชมเข้า ก็ยิ่งทำให้เกิดกำลังใจ ... ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการ Application Inquiry การใช้เรื่องความสำเร็จมา เป็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ มันเป็น Cognitive Change เป็น Happy Change เป็นเรื่องความสุข

เพราะฉะนั้น การวาง Format ใช้ KM ที่ชาญฉลาดแบบนี้ ผมว่า เป็นสิ่งที่เราน่าจะเอามาแลกเปลี่ยนกัน หน่วยงานอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์มากๆ เลย


พญ.ประภารัตน์ สถาบันบำราศฯ

เรียนถาม ... ถ้าในระดับกรมฯ ยังไม่ได้กำหนดประเด็นมา ทางสถาบันบำราศฯ ก็จะทำไปตามแนวยุทธศาสตร๋ได้เลยหรือไม่ เพราะเห็นว่ามีแนวคิดดีมากที่ว่า กรมมีการคัดเลือกประเด็นที่ชัดเจน และนำสู่หน่วยงานระดับย่อย เพราะว่ากรมควบคุมโรคยังไม่มี ตอนนี้เราตั้งประเด็นย่อยๆ KV ของเราไปก่อน โดยดูประเด็นทางด้านสุขภาพ ก็น่าจะทำได้ใช่ไหม

ท่านรองฯ วชิระ เพ็งจันทร์

KV จะมีหลายระดับ หน่วยงานสถาบันบำราศฯ ทำได้เลย เพราะว่ามีทิศทาง ยุทธศาสตร์ของตัวเองอยู่แล้ว แต่ว่า รอจากกรมฯ ด้วย ที่ผมพูดก็คือ เงื่อนไขของ ก.พ.ร. เขาพยายามกระตุ้นส่วนราชการทำงานร่วมกัน โดยดึงหน่วยต่างๆ มาทำงานในทิศทางเดียวกัน เป็นการขับเคลื่อนระดับกรมฯ ผมคิดว่า กรมควบคุมโรค อีกหน่อย อาจารย์คงได้อีกงานหนึ่ง แต่ถ้าทำอยู่แล้ว ก็สามารถเนียนเข้าไปเนื้องานได้

อ.วิจารณ์ ...

ผมจะเล่าประสบการณ์ตรงในชีวิต

... เพราะว่าคนในมหาวิทยาลัย จะขึ้นๆ ลงๆ ... มีช่วงหนึ่งที่ผมไม่ได้เป็นผู้บริหารอะไรเลย เป็นอาจารย์ธรรมดา อยู่ในหน่วยงานเล็กๆ มานั่งคิด อ่าน Journal Club ... คิดกัน 5-6 คน ว่า เราจะทำอะไร ในงานของเราให้มันดี และ คนในคณะเรา หรือคณบดี เขาจะทำอะไรที่เห็นผลที่ดี และเขาก็จะชอบใจได้ (... อันนี้ก็คือ มันไม่มี KV แต่เรามาคิดเอง ที่จริง KV มี แต่กว้าง เวิ้งว้างเหลือเกิน) ...

ลงท้ายเมื่อเราคิดกันแล้ว ชัดเจนแล้ว ผมก็ไปหาท่านคณบดี บอกว่า พี่ครับ ผมจะหาทางที่จะสร้างความสำเร็จ อย่างนี้ ให้กับคณะ เอามั๊ย อันนี้สำคัญมั๊ย คือ Sale ไม่รอสั่ง ... และมีหรือจะไม่เอา เพราะสิ่งที่เราไป sale คือ ผลงานของคณบดีนี่ ก็ sale ตั้งแต่หัวหน้าภาค รุ่นพี่ผม และก็ไปบอกอธิบดี ... แต่ต้องดูให้ดีๆ ก่อนนะครับว่า เราทำได้หรือเปล่า

แล้วจากนั้น เราก็มาช่วยกัน 4-5 คน และก็เขียน report ให้หัวหน้าภาค ให้คณบดี ว่า ที่เราทำไปนั้น เราได้สัญญาไว้ ... ผมก็ขอ 2 ขั้นให้ลูกน้องได้มากเลยครับ

เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว หัวปลา หรือ KV นี่ มันมีอยู่แล้วแหล่ะ เราดูให้เป็น ทำให้ชัด และทำให้เป็นรูปธรรม ของท่านก็คือ KPI ... สิ่งที่ผมเล่าคือ 30 ปี ก่อน KM ไม่มี KV ก็ไม่มี เราใช้โดย สามัญสำนึก เพราะเราต้องการโชว์ความสำเร็จ เราต้องการรวมพลังให้เกิดความสำเร็จ ...


นพ.สุจริต สุวรรณชีพ ... ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต

ผมมอง KM เป็นการจัดการความรู้ แต่ KM ไม่ใช่แค่การ ลปรร. มันต้องไปทั้งระบบ มันต้องเก็บความรู้ และใช้ความรู้ ... การกำหนด KV จริงๆ แล้ว กรมสุขภาพจิตไม่ต้องไปนั่งนึก เพราะงานของกรมฯ ช้ากว่าวิชาการเยอะที่จะบริการคนไข้ มันต้องพัฒนาอยู่แล้ว เพื่อเอาไปทำให้คนไข้ดีขึ้น ทำให้คนดีขึ้น หรือคลายปัญหามากขึ้น ... ซึ่งเราล้าหลังแล้ว อันนี้เป็นเงื่อนไขที่ต้องทำ KM เป็นแรงจูงใจ ถ้าไม่มีแรงจูงใจ มันก็ทำไปเพื่อเอาคะแนน

เพราะฉะนั้น เราต้องสร้างวิชาการ หรือความรู้ใหม่ เพื่อที่จะให้บริการประชาชน อันนี้เป็นเป้าหมายสำคัญ

ในกระบวนการ KM ประโยชน์ของ KM ก็คือ โดยปกติ กรมฯ ทำงานเรื่องวิชาการ มีการ ลปรร. กันอยู่แล้ว coference, Journal Club กันอยู่แล้ว แต่ว่า KM นั้น มันมีการแลกเปลี่ยน และมีขั้นตอนในการพัฒนาคนในการแลกเปลี่ยน ไม่ใช่เอาผู้ใหญ่มาสอนเด็ก แต่เอาผู้ใหญ่กับเด็กมาคุยกัน มันเป็นการพัฒนาคนไปด้วย พัฒนาความรู้ไปด้วย ที่บอกว่า พัฒนางาน ก็คือเอาความรู้ไปพัฒนางาน แต่ที่ผมอยากได้มากกว่านั้น ก็คือ การพัฒนาระบบงาน และพัฒนาวัฒนธรรมของการทำงานด้วย เพราะถ้าวัฒนธรรมของการทำงาน ไม่ใช่การ ลปรร. KM ก็ไปไม่นาน ก็จะฝ่อไป และถ้าเราได้องค์ความรู้แล้ว ไม่มีคนดึงเอาไปใช้ ความรู้ที่เก็บไว้ก็ไม่ได้ใช้อีก เพราะฉะนั้น มันต้องมีงานมารองรับ ระบบงานรองรับ หน่วยงานต่างๆ ในกรมฯ จะต้องมี project ต่างๆ ที่จะต้องหาความรู้เอามาพัฒนางาน มันจึงเป็นกิจกรรมที่จะต้องต่อเนื่องกันให้ครบวงจร ให้ถึง Learning Organization และถึงระบบที่จะเป็นการรองรับโดยที่มีแรงจูงใจที่จะทำงานที่ชัดเจน โดยที่เป็นวัฒนธรรมของงาน KM ก็จะไปได้สักพัก

ตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นเท่านั้น ที่จะมีการ ลปรร. จะเก็บความรู้ยังไง ก็จะต้องมีขั้นต่อไปว่า จะใช้ความรู้ยังไง และงานที่เอาความรู้ไปใช้ด้วย


นพ.วิเชียร ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4

ประทับใจ KV KS KA แต่พอทำไป ก็มีของ ก.พ.ร. มาอีก 1 อัน คือ 7 กระบวนการ 6 ขั้นตอน ก็ดีครับ ทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แต่ว่า ผมเป็นเด็กใหม่ในกรมฯ ก็เจอเครื่องมือเยอะแยะ งง ... เรียนก็หลายอย่างมาแล้ว เจอ PMQA, Blueprint for Change, KM และอีกเยอะแยะ ... และ ตรงนี้ มาฟังทุกที ก็รู้สึกดีทุกที มาฟังทุกที ก็ทึ่งทุกที ชอบทุกที ... แต่ปัญหาของผมคือ ผมว่า พอมันเยอะจริงๆ และเราไม่มีเวลาย่อย จัดระเบียบ มันก็งง ผมก็วนกลับไปว่า KM น่าจะมาช่วยเราได้

แต่ตัว KM พอเรียนรู้ไป ใช้ไป ตอนแรกๆ ก็เรียนรู้ที่ว่า มี KV KS KA ปลาทู กำลังประทับใจอยู่ วันดีคืนดี ก็มี 7 ขั้นตอน 6 กระบวนการ ของ ก.พ.ร. + matrix มาอีก เยอะแยะไปหมด ถ้าไม่ตั้งสติ ก็จะ blur กับการใช้ และแต่ละอันก็มีประโยชน์แต่ละอย่าง ถ้าเราจับไปจับมา เผลอๆ จะตีกันหมด คนที่ไม่มีโอกาสมานั่งวิเคราะห์ ศึกษากันจริงๆ ก็จะคิดไปว่า KM เป็นภาระ เหมือน PMQA แทนที่จะช่วยให้การทำงานชัดเจนยิ่งขึ้น และแทนที่จะทำให้งานของเราทำได้ง่ายขึ้น ก็อาจทำให้เราซับซ้อน งงไปงงมาก็ได้

จุดที่ผมอยากจะเสนอตรงนี้ คือ KM จะเน้นเรื่องปัญญา ซะเยอะ แต่ที่สำคัญกว่าปัญญา คือ สติ ผมอยากเสนอว่า เราต้องมาชั่งกันหน่อยว่า เครื่องมือที่เยอะแยะเหล่านี้จะใช้แค่ไหน และหัวข้อที่จะใช้ คืออะไรบ้าง

... ผมคิดว่าจะเอาแค่นี้ คือ

  • KV – เราอยากจะรู้อะไรบ้าง และเราอยากจะรู้อะไร
  • KS – เราจะ sharing Searching อะไรบ้าง และ
  • KA – มีอะไรบ้างที่จะต้องเก็บ
  • ระหว่างที่ทำ sharing, searching ก็ต้องมีพวก คือ กระบวนการกลุ่ม
  • และก็ต้องมี 7 กระบวนการ 6 ขั้นตอน ของ ก.พ.ร.
  • ผมกะว่า ในหน่วยงานของผมเอาแค่นี้ จะไม่ยอมสับสนมากกว่านี้แล้วครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 74804เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท