จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการกับสมาชิกหมู่ที่ ๓ ตำบลในคลองบางปลากด


เป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมงานวิจัย คณะกรรมการกองทุน และสมาชิกกองทุน
กระบวนการ
เกริ่นนำโดยประธานเครือข่าย ให้กองทุนดูศักยภาพของตนเองว่าจะไปทางไหน นำสิ่งที่ดีไปขยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนอื่น มีความห่วงใยในเรื่องของกการติดตามหนี้สินที่นิ่งมานานแต่เมื่อใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทำให้การติดตามเรื่องหนี้ดีขึ้นมากเพราะผู้ค้างชำระลดลง
จากนั้นได้เล่าเรื่องของโครงการวิจัยให้สมาชิกรับฟัง ว่าการเข้ามาของทีมงานวิจัยนั้นเป็นเชิงพัฒนา ไม่ใช่เพียงมาเก็บข้อมูลเท่านั้น ดังนั้นอาจจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้บ่อย จากนั้นแนะนำทีมงานทั้งคุณวิจัย คุณเอื้อ คุณอำนวย และคุณกิจว่าจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติ และได้สรุปประเด็นการแนะนำว่า ความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกคนเป็นสำคัญ
ให้ทำการวิเคราะห์ตอนเองถึงการดำเนินการกองทุนที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า ปัจจุบันคณะกรรมการให้บริการดี ติดต่อได้สะดวก เป็นแบบพี่ช่วยน้อง น้องช่วยพี่ มีความเอื้ออาทร เช่น การทวงหนี้จะมีน้อยก็ของให้ส่งแต่อนุญาตให้ยืดเวลา รวมทั้งการทวงหนี้หลายๆทาง มีการเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยกรรมการชุดแรกที่มีกองทุนเข้ามา กรรมการทำงานไม่เป็นเพราะเป็นเพียงชาวบ้างไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรไม่มีความรู้เรื่องการบริหารงาน มาถึงปีที่สองดีขึ้นในเรื่องของการบริหารแต่ก็มีปัญหาหนักมากขึ้นมาคือการไม่ชำระหนี้ หนี้เสียหนี้สูญ แก้ปัญหาโดยการตามเท่าที่ตามได้ มีวามเอื้อเฟื้อกันมากกว่าเก่า มีการทวง ติดตาม คนที่อายก็จะเข้ามาคืน
ในกรณีการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการแก้ปัญหา คือ มีการนัดประชุมวิสามัญโดยใช้จดหมายเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาหนี้เสีย วิธีการคือปิดประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่คืนเงินทุกลางหมู่บ้าน ในครั้งนั้นมีสมาชิกเข้าร่วมร้อยกว่าคนซึ่งได้อนุมัติให้ดำเนินการดังกล่าว
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการดำเนินการกองทุนจะเกิดจากการนำเสนอของคณะกรรมการ จากนั้นก็จะทำประชาคม จากการสอบถามสมาชิกในประเด็นการเข้าร่วมประชุมบ่อยครั้ง เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะได้รับรู้รับทราบความเคลื่อนไหว คณะกรรมการเน้นตรงสมาชิกเป็นเจ้าของเงิน ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
เริ่มเข้าเรื่องเป้าหมายที่เคยได้คิดร่วมกันของคณะกรรมการเครือข่ายจะดำเนินการอย่างไร เป้าหมายของเครือข่ายคือ การเป็นศูนย์กลางการแก้ไขปัญหาของชุมชน เมื่อเกิดปัญหาในแต่ละกองทุนคณะกรรมการจะเข้าร่วมประชุมคิดแก้ไขปัญหาร่วมกัน  พัฒนาฐานข้อมูลของทั้ง ๑๓ หมู่ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นคือแต่ละกองทุนจำเป็นต้องมีข้อมูลของตนเอง การเก็บข้อมูลจะทำให้การตัดสินใจดำเนินการใดๆในอนาคตง่ายขึ้น การจัดตั้งธนาคารตำบล พร้อมทั้งมีการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนการแลกเปลี่ยนและผลิตสินค้าในตำบล ดำเนินการแบบพี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน และเป้าหมายสุดท้ายคือทุกกองทุนทำงานอย่างจริงจัง
สำหรับเป้าหมายในระดับกองทุนจะมีประเด็น ๓หัวข้อใหญ่คือ
๑.      เป็นกองทุนสวัสดิการ
เริ่มมีแนวความคิดเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการ ซึ่งมีประเด็นของวัตถุประสงค์ของการมีกองทุนสวัสดิการว่ามีเพื่ออะไร จะดำเนินการอย่างไร เรื่องของสัจจะวันละ ๑ บาท คิดอยู่ว่าจะดำเนินการร่วมกับกองทุนดีไหม คือเป็นกฎหมายลูก การมีกลุ่มสัจจะวันละ ๑ บาทเพื่อที่เสริมสร้างสมาชิกและคนรุ่นใหม่จะได้คิดดี รู้จักการอดออม มากขึ้น ในการดำเนินการมีผู้เสนอว่าไม่อยากให้รวมกับกองทุน ผลัดให้สมาชิกได้เป็นประธานบ้าง ป้องกันความสับสนที่จะเกิดขึ้นในการทำงาน อีกประเด็นคือการให้เด็กหยอดกระปุกวันละ ๑ บาท สิ้นเดือนเปิดกระปุกเพื่อลงบัญชี อาจจะมีการกำหนดให้ถอนเมื่อเรียนจบ แต่ก็เคยมีปัญหาเกิดขึ้นว่าเด็กเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งแล้วจะถอนออก ต้องเตรียมมือไว้รับปัญหาด้วย นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้หักเงินจากการจ่ายดอกเบี้ยกองทุนให้หักไว้คนละ ๑๐๐ บาทเก็บเพียงครั้งเดียวไว้เป็นกองทุนแล้วจะมีการสมทบเงินกองทุนที่เป็นกำไรจากรายได้สมทบเข้ากองทุนสวัสดิการการเสนอความเห็นเพราะอยากเห็นสวัสดิการของชุมชน ๑๐๐ % เริ่มจากการตั้งคณะกรรมการเพื่อร่างระเบียบ
๒.    เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน
ด้วยบริเวณที่ตั้งของกองทุนหมู่ ๓ เป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสำหรับการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพราะเป็นกองทุนที่มีที่ทำการอยู่ในวัด อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ของตำบลทั้งในเรื่องของกลุ่มเกษตร กลุ่มอาชีพ
๓.    การดำเนินการของกองทุนมีประสิทธิภาพจะดูในเรื่อง
๓.๑ การมีระบบบัญชี มีระบบบัญชีอยู่แล้วฝ่ายเหรัญญิกและบัญชีช่วยกันดูแล ในเรื่องของการอบรมระบบบัญชีของ การศึกษานอกโรงเรียน ไม่ค่อยได้อะไรมากนักเพราะแค่สอนเปิด ปิด เครื่องก็หมดเวลา ไม่ได้สอนตัวโปรแกรม แก้โดยให้คนที่เป็นคอมพิวเตอร์อยู่แล้วไปอบรมจากนั้นให้คนที่ไปอบรมมาอบรมต่อให้กับคณะกรรมการและสมาชิกที่อยากรู้
๓.๒ การมีสมาชิกเพิ่มขึ้น สมาชิกก็มีเข้าออกตลอด
๓.๓ การชำระหนี้ตรงเวลา มีคนเสนอว่า ถ้าคนส่งหนี้ตรงเวลาน่าจะมีรางวัลให้ เช่น ลดงวดของการจ่ายหนี้ อีกหน่อยก็จะจ่ายเงินปันผลให้ได้นอกจากดอกเบี้ย ตอนนี้กองทุนใช้หนี้เก่า (หนี้สะสม) ใกล้หมดแล้ว  การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้อีกทางหนึ่งคือ การทำสัญญากู้ที่แน่นหนามากขึ้น จะทำให้หนี้สูญน้อยลง  อีกทางคือมีการแบ่งสายกันเพื่อเก็บหนี้ หากสายไหนไม่ว่างสายอื่นจะไปช่วยเก็บแทน ทุกวันนี้กองทุนดีขึ้นมากๆเลย
๓.๔ มีระเบียบที่เหมาะกับสภาพการดำเนินการของกองทุน เพราะการดำเนินการกองทุนแต่ละพื้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน ควรมีการปรับให้เข้ากับเรา ไม่ต้องไปลอกตามคนอื่น เช่น ในเรื่องของการใช้หนี้ให้เข้ามาคุยกันได้เพื่อออมชอมกัน
๓.๕ มีการพัฒนาความรู้ในเรื่องของระเบียบ และข้อกำหนดอื่นๆให้แก่คณะกรรมการและสมาชิก
หมายเลขบันทึก: 7401เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดูเหมือนว่า คุณนิสา มีชีวิตอยู่ท่ามกลางชาวบ้านจะมีความสุขดี ขอเป็นกำลังใจให้เสมอๆๆ

ปัญหาที่รอคอยคำตอบ (ในใจ)

   ๑. ระบบบางอย่างที่ผ่านมาได้สร้างชาวบ้านให้เป็นผู้รับ ดังนั้น การรอคอยการช่วยเหลือจากผู้มาโปรดจึงเป็นสิ่งที่ชาวบ้านจำนวนหนึ่งซึ่งมากพอสมควรกำลังใฝ่หา

   ๒. ผลการถูกกระทำจากภายนอก เมื่อผู้มาโปรดเข้ามา แต่มิได้โปรดอย่างตลอดรอดฝั่ง ดังนั้น ผู้มาโปรดหรือพรรคพวกของผู้มาโปรดจึงเป็นเหมือนหนามยอกอก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จะหาความจริงใจจากผู้มาโปรดได้ยากแท้

   ๓. มิตรภาพอย่างยั่งยืน ในฐานะผู้ให้โดยใช้เวลาเป็นเครื่องมือ จะเป็นตัวประสานรอยร้าว เหมือนกับลูกที่เกิดมาจากความรัก ถูกเลี้ยงดูด้วยความรัก จะซึมซับและถ่ายทอดความรักนั้นต่อสิ่งภายนอก

   ๒. ผู้ประสบความสำเร็จทางสังคมสูง มิใช่ผู้รอคอยผู้มาโปรด หากแต่มีความมุ่งมั่น ยืนหยัด ต่อสู้ ด้วยตนเองมาอย่างแข็งขัน

   ๓. สายเลือดของผู้มีอิทธิพล ลูกผู้อกตัญญูเท่านั้นจึงจะหยุดพ้นจากพันธนาการมืดดำ ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การทำคนให้เปลี่ยนความคิดมิใช่เรื่องง่าย การปล่อยปละละเลยก็ทำให้สิ่งที่วาดหวังไว้ไม่สมหวัง การวาดหวังสิ่งที่เกินหวังก็ทำให้ผิดหวัง

   ๒. ความขัดแย้งระหว่างการร่วมทุนเพื่อให้ได้กำไรเห็นผลทันทา กับการพึ่งพาตนเองอย่างเชื่องช้า ระบบในปัจจุบันไม่เอื้อต่อความเชื่องช้า การที่คนจะปฏิวัติต่อความต้องการมีต้องการเป็นหากไม่แข็งกร้าวพอก็จะอ่อนไหวไปตามกระแสทุนนิยม

  ๓. การเดินไปด้วยกันระหว่างทุนนิยมกับการพึ่งพาตนเองคือ การทำให้....โดยไม่หวังการเป็นนักการเมือง ไม่หวังให้ใครยกย่อง ทำเพราะอยากทำให้....สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในใจของมนุษย์ทุกคนหากแต่ถูกปิดบังไว้ด้วยระบบบางอย่าง

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท