บันทึกชีวิตวันที่ 13 มกราคม 2550


บันทึกชีวิตวันที่ 13 มกราคม 2550 วันนี้ในช่วงเช้าได้มาดูข่าวก็มีข่าวที่น่าสนใจคือข่าวที่พี่น้องเกษตรกรจากภาคอีสานเดินเท้าไปบอกความทุกข์ยากเรื่องหนี้ให้กับผู้มีอำนาจในบ้านได้ช่วยลงมาแก้ปัญหา ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจว่าเกษตรติดหนี้และธนาคารกำลังจำขายทอดตลาดประมาณ 38 ล้านไร่ รวมเงินที่ค้างชำระเป็นหนี้สินประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งในตรงนี้เราเองมองว่าปัจจัยในการทำให้เกษตรกรมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยู่มีหลายปัจจัยทั้ง ภายในและภายนอกโดยเฉพาะปัจจัยภายนอกที่รับจากแนวนโยบายการพัฒนาเทศภายใต้คำขวัญ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก”และควบคู่ไปกับแนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบพอยังชีพพึ่งตนเองได้เป็นการผลิตเพื่อขายพึงพาตลาด ตั้งแต่มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ พัฒนาเกษตรกรให้เป็นหนี้ พัฒนาเกษตรกรไม่ให้สามารถพึ่งตนเอง และสุดท้ายคือพัฒนาเกษตรกรไม่ให้มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นไดชัดไม่ต้องอธิบาย และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยภายในคือเกิดจากการไม่รู้จักประมาณตนบนความไม่พอเพียงของเกษตรกรพอยืมเงินมาก็ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เขียนโครงการว่าจะซื้อวัวแต่เอามาใช้จริงไปซื้อรถยนต์พอจะใช้หนี้ก็ไม่จะใช้ แต่ไม่ได้ว่าพวกเขาหรอกเป็นเพราะพวกเขาอาจจะรู้ไม่เท่าทันเหลี่ยมสังคมบริโภคนิยมที่ส่งเสริมให้คนเสพวัตถุเป็นสรณะเป็นตัวชี้วัดความสุขความร่ำรวย ซึ่งเราก็ต้องมาว่ากันใหม่เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกจุดและเกิดความยั่งยืน พอทุกคนพร้อมก็เดินทางมาทำงานซึ่งวันนี้ในตอนเที่ยงจะมีการประชุมคณะทำงานโครงการสกวABC งานที่เราทำในช่วงเช้าคือ ถอดวอยล์ที่ 5 การประชุมคณะกรรมการ Km วันที่ 26 ธันวาคม 2549 ที่ค้างไว้เมื่อวานนี้จนเสร็จและก็ต่อด้วยวอยล์ 6 ซึ่งเป็นช่วงที่อ.ปุ้ยรายงานความก้าวที่ได้ไปลงพื้นที่ซึ่งยาวมากเราก็เลยข้ามมาถอดวอยล์ที่ 7 ช่วงของการสรุปประเด็น และข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของคณะทำงาน จากที่เห็นยังในเนื้อยังมีประเด็นอะไรอะไรแต่รู้สึกว่ามันเป็นข้อมูลท้องหมดยังไม่มีการสรุปเป็นข้อค้นพบ พอในช่วงบ่ายก็มาร่วมกันระดมสมองก็มีอ.ปรีชา พี่ใหม่ จิมมี่ เรา เรื่องการเตรียมประเด็นการพูดคุยการจัดเวทีสุมฟืนใส่ไฟ ทอใจสานฟัน คนทำงานกับเกษตรกรในเขตสปก. ซึ่งบรรยากาศในช่วงแรกก็ไม่ลื่นไหลพี่ใหม่ก็ตั้งประเด็นให้ช่วยการเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาถึงความประทับใจ ความล้มเหลว จิมมี่เองก็ได้เล่าถึงประสบการณ์ในการลงพื้นที่จัดข้อมูลว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลนำเสนอทำให้ชาวบ้านมีความสนใจมากขึ้น เราเองก็ได้นำเสนอถึงความผิดพลาดในการเลือกพื้นที่ ในการเลือกผู้นำในพื้นที่บทเรียนของโครงการ ปสท.ตอนหลังมาพี่ให้อาจารย์รองเขียนกรอบประเด็นที่จะถอดบทเรียนว่ามีประเด็นอะไรบ้างอาจารย์ก็นำเสนอว่าหัวใจหลักของการทำงานคือการกุมสภาพ ต้องรู้ข้อมูลคนในท้องถิ่นทั้งผู้นำที่เป็นทางการ ไม่เป็นทางการ คนในท้องถิ่น ต้องรู้ข้อมูลบริบทชุมชน ต้องรู้เป้าหมายทั้งเป้าหมายของโครงการและเป้าหมายของคนทำงาน อันสุดท้ายคือพอรู้ข้อมูลก็จะสามารถมาวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนและปัญหาเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับชุมชน และอีกอย่างที่สำคัญคือการสื่อสารก็เป็นประเด็นสำคัญในการทำงานกับชุมชน จากนั้นก็จะเป็นกระบวนการเข้าหาชุมชน กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานกับชุมชน จากนั้นพี่ใหม่ก็ฝากให้ทุกไปเตรียมประเด็นมาพูดคุยและให้เราเตรียมกระบวนการที่ใช้ในการจัดเวทีมาด้วยเพื่อเข้าที่ประชุมในวันพรุ่งนี้ตอนบ่ายโมงครึ่ง
หมายเลขบันทึก: 72561เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท