บันทึกชีวิตวันที่ 12 มกราคม 2550


บันทึกชีวิตวันที่ 12 มกราคม 2550 วันนี้ในช่วงเช้าได้มานั่งดูข่าวก็มีข่าวที่น่าสนใจคือข่าวการจัดงานวันเด็กแล้วมีข่าวลือว่าจะมีการวางระเบิด ทุกที่ที่มีการจัดงานต้องคอยระวังการวางระเบิด แต่สถานการณ์แบบนี้มันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และอีกประเด็นที่สำคัญคือทุกปีในวันเด็กแห่งชาตินายกรัฐมนตรีก็จะมอบคำขวัญวันเด็ก อย่างปีนี้หลักใหญ่ใจความคือว่าให้เด็กมีคุณธรรม ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง แต่บทเรียนที่ผ่านมาในแต่ละปีไม่เคยมีการติดตามว่าคำขวัญที่มอบให้เด็กไปมีกระบวนการเรียนรู้อะไรบ้างที่รัฐบาลสร้างหรือจัดการให้เด็กไปสู่คำขวัญที่มอบให้ไม่มีใครไปติดตามเลย ก็ทำแบบนี้เรื่อยมาพอปีต่อไปก็มอบให้อีกทำเป็นพิธีกรรมของทุกปี แต่ความหมายของการจัดการงานวันเด็กและคุณค่าของวันเด็กไม่ได้รับคำอธิบาย และมีข่าวที่น่าอดสูของเมืองไทยใครได้ฟังแล้วก็อึ้งคือข่าวที่เด็กไทยที่กำลังเรียนอุ้มท้องระหว่างเรียนจากสถิติโลกเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย เป็นอันดับที่สามของโลก ภาพตรงนี้มันสะท้อนการศึกษาไทยว่าระบบการศึกษาไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เป็นแค่แหล่งนัดพบของวัยรุ่นเท่านั้นซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวเพราะมันจะนำไปสู่การเกิดปัญหาสังคมไม่ว่า ปัญหาเด็กกำพร้า ปัญหาการทำแทงค์ ซึ่งมันจะตกเป็นภาระสังคมต่อไปในอนาคตอันใกล้ เราคิดว่าถึงคราวแล้วสังคมต้องแก้วิกฤติการศึกษาให้สามารถสร้างคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นเรื่องที่มาเป็นอันดับต้นๆ พอข่าวไปอีกสักพักจิมมี่และพี่บราวน์ก็พร้อมที่จะไปทำงานก็ออกเดินทาง งานของเราในวันนี้คือถอดวอยล์ที่ 5 การประชุมคณะกรรมการ Km วันที่ 26 ธันวาคม 2549 ที่ห้องประชุมศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งคุณภาพเสียงส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ยินต้องฟังหลายครั้ง และบางครั้งต้องข้ามไปก่อน และเนื้อสาระในวันนี้ก็จะเป็นเรื่องการเรียนรู้กระบวนการทำค่ายของกลุ่มพี่เลี้ยงเยาวชนเขาแผงม้า ที่เริ่มจากเป็นผู้ช่วยค่ายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบครูพักรักจำ แต่ก็สามารถพัฒนายกระดับตนเองสามารถเป็นผู้จัดกระบวนการเอง และมีวิธีการกลยุทธ์ในการดึงคนเข้าร่วมคือถ้าจะดึงเด็กที่อยู่ในโรงเรียนต้องสามารถดึงครูในโรงเรียนนั้นให้ได้ก่อน และเป็นที่น่าสังเกตว่าครูที่เป็นหัวหอกคือครูที่ผ่านการทำกิจกรรมในช่วงที่เป็นนักศึกษามาก่อนทำให้ต่อได้ง่าย และกระบวนการที่ใช้ในพัฒนาเด็กทางด้านความคิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการให้เด็กได้มีจิตนาการร่วมในการทำกิจกรรมเชื่อมโยงกับฐานทรัพยากรธรรมชาติ และประโยคหลายประโยคที่น่าเอาไปคิดต่อเช่นอาจารย์ปรีชาใช้ย้ำว่าการเรียนรู้ที่นี่มันอาจจะแตกต่างจากที่อื่นที่เคยเรียนมา เพราะฟังอย่างเดียวผ่านครูพูด ครูสอน และก็อ่าน เขียน แต่ตรงนี้มันใช้วิธีการว่าให้ประสาทสัมผัสมากกว่าหูและตา และก็มีประเด็นที่สนใจที่อาจารย์บัญชรพูดไว้คือกระบวนการเรียนรู้ของเด็กมีอยู่ 3 ประเด็น คือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นตัวฟื้นให้เยาวชนมีกิจกรรมทำที่ต่อเนื่องยั่งยืนและในแต่ละประเด็นก็ขึ้นอยู่กับคงวามเหมาะสมของพื้นที่ว่ามันมีลักษณะเด่นอะไรบ้างใน 3 ประเด็นนี้และแต่ละพื้นที่ก็มีจัดกิจกรรมให้มันสอดคล้องกับทุนเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ และที่สำคัญลุงโชคก็เสนอว่ากิจกรรมที่ทำมันน่าจะมาเปลี่ยนมาเน้นเรื่องจิตวิญญาณโดยมาเน้นเรื่องจิตและกระบวนการสร้างเด็กให้มีจิตสำนึกในการรู้จักคุณค่า รู้จักบุญคุณของธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องขยับต่อ แต่วันนี้ก็ยังถอดไม่เสร็จเพราะไม่ค่อยได้ยินพรุ่งนี้ก็ค่อยมาถอดต่อ
หมายเลขบันทึก: 72560เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท