GotoKnow

วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙)  ๑๗๘. Research Consortium 

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2568 09:47 น. ()

          

วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๘ ช่วงเช้า มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาพัฒนาระบบ ววน. ของ สอวช. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๘   โดยที่ทั้งครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘   และครั้งนี้ มีการนำเรื่องการใช้กลไก Research Consortium หนุนการวิจัยด้านที่ลำดับความสำคัญสูงของประเทศ    โดยยกเรื่อง “อาหารแห่งอนาคต” (Future Food) ขึ้นมาเป็นกรณีตัวอย่าง   

เป้าหมายของ Research Consortium คือ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระดับประเทศ ตั้งแต่ระดับนโยบาย (สภานโยบาย อววน.   และ สอวน.)   ระดับกระจายทุน ววน. ภาครัฐ (สกสว.)   ระดับจัดสรรทุนวิจัย (PMU)   และระดับดำเนินการวิจัย (สถาบันและหน่วยวิจัยทั้งในภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม)    เกิดการทำงานอย่างมีความคล้องจอง (alignment) กัน    ไม่หลงตกอยู่ในสภาพต่างหน่วยต่างทำ (fragmented  หรือ silo) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   

สำหรับการประชุมวันที่ ๒๕ เมษายน เรื่องที่นำมาเสนอขอคำแนะนำคือเรื่อง สถานภาพของงาน ววน. ด้าน Plant-Based Protein Ingredients ในประเทศไทย    คือลงลึกและแคบเรื่อง “อาหารแห่งอนาคต”   ที่เมื่อเห็นเรื่อง   คำถามที่แวบขึ้นมาในสมองผมคือ   เรื่องนี้คู่แข่งยักษ์ใหญ่เก่งกว่าเราไหม    เราควรเน้น Plant-Based Ingredients แบบอื่นไหม   เช่นเป็น Health Promoting Ingredients สำหรับคนเมืองที่มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่   เราจะมี competitive advantage มากกว่าไหม     

ในการประชุม ทีมงานของ สอวช. ทำวิจัยมาละเอียดมาก  เพื่อหาลู่ทางส่งเสริมงานวิจัยที่ประเทศไทยเรามีข้อได้เปรียบ คือเรามีวัตถุดิบ  แล้วหาทางพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง   คณะกรรมการตั้งข้อสังเกตและให้คำแนะนำที่หลากหลายมาก   

จุดอ่อนคือ ยังมีข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจน้อย   

วิจารณ์ พานิช

๓ พ.ค. ๖๘

 

สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย