โครงการรณรงค์ไม่บริโภคสุราและยาสูบ นครศรีธรรมราช


เป้าหมาย : สร้างทัศนคติที่ถูกต้องกับคนที่กินเหล้าสูบบุหรี่ คือเน้นที่การตระหนักถึงโทษ หรือพิษภัยของยาเสพติดทั้ง 2 ชนิด และมีกิจกรรมเสริมเพื่อนำไปสู่การเลิก

โครงการรณรงค์ไม่บริโภคสุราและยาสูบ นครศรีธรรมราช

 

1.      คำสำคัญ        : สุรา บุหรี่ การรณรงค์

 

2.      จังหวัด : นครศรีธรรมราช

 

3.      กลุ่มเป้าหมาย  : ชาวบ้านที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา ชุมชนบ้านห้วยระย้า ต.นาพรุ องพระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

 

4.   เป้าหมาย        : สร้างทัศนคติที่ถูกต้องกับคนที่กินเหล้าสูบบุหรี่ คือเน้นที่การตระหนักถึงโทษ หรือพิษภัยของยาเสพติดทั้ง 2 ชนิด และมีกิจกรรมเสริมเพื่อนำไปสู่การเลิก

 

5.   สาระสำคัญของโครงการ  : หัวหน้าโครงการเห็นว่า การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอย่างอื่นอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดร้ายแรง อุบัติเหตุ เมาแล้วขับ เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์ของวัยรุ่นที่อยู่ในภาวะดังกล่าวในเขต อ.พระพรหม มีเป็นจำนวนมาก หลายคนเมาแล้วแข่งรถซิ่งจนเสียชีวิต หลายคนติดบุหรี่ ยอดผู้เสียชีวิตจากเมาแล้วขับสูง ฯลฯ ปัญหาต่าง ๆ เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความสนใจที่จะทำงานรณรงค์เรื่องสุขภาพ โดยหาแนวทางที่จะแก้ปัญหานี้ และจากการที่เป็นอาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี มีวิชาที่ต้องพานักเรียนเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งได้ดำเนินการที่หมู่บ้านห้วยระย้ามาระยะหนึ่งจนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่อนามัย และชาวบ้านแกนนำหลายคนในพื้นที่ ทั้งยังเคยลงไปทำโครงการห้วยระย้าบ้านน่าอยู่ จนหมู่บ้านได้รับรางวัล จึงสานต่อด้วยการทำงานด้านรณรงค์ไม่บริโภคสุราและยาสูบกับชุมชนห้วยระย้าต่อเนื่องจากโครงการเก่า

 

6.   เครื่องมือที่ใช้ : กิจกรรมหลักมี 3 ส่วน คือ (1) การให้ข้อมูลข่าวสารความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่และสุรา พร้อมกับสำรวจปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน (2) กิจกรรมกลุ่มที่นำไปสู่การเลิกบุหรี่และสุรา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (2.1) การเข้ากลุ่มแกนนำ เอาเฉพาะแกนนำที่อยากเลิก และที่เลิกบุหรี่แล้วมาคุยกันถึงิธีที่จะนำไปสู่การเลิก (2.2) การขยายฐาน เป็นการขยายจากกลุ่มที่ต้องการเลิกไปสู่คนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวที่บริโภคสุราและยาสูบ ให้มาร่วมกันเลิก (2.3) การแตกหน่อ เป็นการนำเอาผู้ที่ยังเลิกไม่ได้จากการเข้ากลุ่มแกนนำและกลุ่มขยายฐานมาทำอีกครั้งพร้อมกับคนอื่น ๆ ที่ต้องการเลิกเพิ่มเติม (3) กิจกรรมเสริม คือการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการอบรมนวดแผนโบราณ

 

7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : หลังจากมีการประชาสัมพันธ์โครงการแล้ว ก็วางแผนการทำงานร่วมกับทีมงาน คัดเลือกแกนนำที่ไม่สูบบุหรี่ / ไม่ดื่มสุรา กับที่สูบบุหรี่ / ดื่มสุรา มาร่วมกิจกรรมเข้ากลุ่มครั้งแรก ให้คนที่เลิกได้แนะนำคนที่อยากเลิกถึงวิธีการต่าง ๆ พร้อมทั้งพูดคุยในกลุ่มให้กำลังใจซึ่งกันและกัน (โดยรวมทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ดื่มสุราเข้ากลุ่มด้วยกัน เพราะเห็นว่าเป็นยาเสพติดที่มีความใกล้ชิดกัน) ตลอดโคงรการจะมีการบันทึกจำนวนบุหรี่และความรู้สึกที่ต้องการสูบ / ดื่มเอาไว้ด้วย หลังจากทำงานไป 3 เดือนก็จะมีทั้งผู้ที่เลิกได้ และเลิกไม่ได้ (ดูตารางข้อ 8) จากนั้นทำกิจกรรมขยายฐานด้วยการให้คนที่ยังเลิกไม่ได้ ชักชวนญาติพี่น้องที่สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าในครอบครัวมาเข้ากลุ่มด้วยกัน เพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และชักชวนกันเลิกดื่ม / เลิกสูบ โดยทำกิจกรรมแบบเดียวกับกลุ่มแรก โดยใช้เวลา 3 เดือน เช่นเดียวกับกลุ่มแรก หลังจากการขยายฐาน ยังจัดกิจกรรมกลุ่มอีกครั้งหนึ่งคือกิจกรรมแตกหน่อ คือรวบรวมเอาคนที่ยังเลิกไม่ได้จากกลุ่มแรก และกลุ่มขยายฐาน รวมทั้งคนที่อยากเลิกที่เหลืออยู่ในหมู่บ้านมาร่วมกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับกิจกรรมเสริม โครงการได้เลือกการอบรมนวดแผนโบราณ เพื่อให้ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าเอาเวลาไปใช้กับการอบรมนวด เพื่อนวดให้ตัวเองและคนในครอบครัว แทนที่จะเสียเวลาไปกับการสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า

 

8.   ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการ 1 ปี (1 ธันวาคม 2546 ถึง 31 ธันวาคม 2547) โดยมีผู้เข้าร่วมเลิกบุหรี่ 43 คน เลิกได้ 12 คน เลิกเหล้า 24 คน เลิกได้ 8 คน (ตารางข้อ 9)

 

9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : หัวหน้าโครงการประเมินว่าผลที่ออกมาน่าพอใจ เพราะตั้งเป้าไว้ที่การทำให้คนตระหนักถึงพิษภัยขอบเหล้า บุหรี่ แต่หลังจากทำโครงการก็มีคนที่ลดและเลิกได้ จากการทำงาน 3 ระยะ มีคนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเลิกบุหรี่ทั้งหมด 43 คน) มีคนเลิกได้เด็ดขาด 14 คน โดย 2 คน ตัดสินใจเลิกตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ (ยังไม่ได้ร่วมกระบวนการใด ๆ) เนื่องจากเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดี อีก 12 คนผ่านกระบวนการกลุ่ม ส่วนที่ลดได้มี 25 คน แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า หลังหมดโครงการแล้ว จะกลับไปสูบเท่าเดิมหรือไม่ ส่วนเหล้า มีคนเข้าร่วม 24 คน เลิกได้ 8 คน) ลดได้ 10 คน

 

10.  ความยั่งยืน     : มีผู้ที่เลิกบุหรี่และเหล้าได้อย่างเด็ดขาดจำนวนหนึ่ง

 

11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นอย่างดีในกิจกรรมนี้อาจเนื่องมาจากความสำเร็จในการทำงานครั้งก่อน ทำให้ได้รับความร่วมมือ นอกจากนี้ทีมงานก็ยังมีการสำรวจสุขภาพคนในชุมชนทุกครัวเรือน ทำให้ทราบปัญหาและมีการระดมความคิดในหมู่ชาวบ้าน (ทำประชาคม) ถึงปัญหาที่ชาวบ้านต้องการแก้ไข ซึ่งโครงการได้เข้าไปกระตุ้นความรู้สึกในส่วนนี้ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างของการที่ภาครัฐเข้าหาและร่วมมือกับชุมชนในการแก้ปัญหาสุขภาพ โดยใช้ความต้องการของชุมชนเป็นหลัก ส่วนจุดอ่อน / อุปสรรคอยู่ที่กลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังไม่ได้ต้องการเลิกบุหรี่ / เหล้าอย่างแท้จริงทำให้การทำงานออกมาไม่สำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีสังคมอยู่นอกหมู่บ้านทำให้มีโอกาสที่จะกลับไปสูบหรือดื่มได้อีก นอกจากนี้การออกแบบกิจกรรมที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ มีผลให้การทำงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร (ต้องการให้ความรู้ / รณรงค์ แต่ทำกิจกรรมเน้นการเลิกบุหรี่ / เหล้า)

 

12.  ที่ติดต่อ   :       วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000

นายสุทัศน์  เหมทานนท์ อายุ  38 ปี   04-183-5613

 

หมายเลขบันทึก: 72093เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท