โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อการไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราในกลุ่มวัยรุ่นในโรงเรียนเขตบางกอกน้อย


เป้าหมาย :วัยรุ่นทั้ง 10 โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายของบุหรี่และสุรา ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตในวัยเรียนให้เหมาะสม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และดื่มสุราหรือยาเสพติดอื่นๆรวมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อการไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราในกลุ่มวัยรุ่นในโรงเรียนเขตบางกอกน้อย

 

1.คำสำคัญ: ลดปัจจัยเสี่ยง ,การมีส่วนร่วม ,เยาวชน

 

2.จังหวัด :กรุงเทพฯ

 

3.กลุ่มเป้าหมาย :เยาวชนอาสาในโรงเรียนจำนวน 50 คนใน10 โรงเรียน และชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนจำนวน 10 ชมรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะศึกษา 10 แห่ง ในเขตบางกอกน้อย /นักเรียน 10 โรงเรียน ๆละ 500 คน รวม 5,000 คน ได้รับความรู้บริการข้อมูลข่าวสารและคำปรึกษาเรื่องการส่งเสริมสุขภาพเพื่อการไม่สูบบุหรี่และดื่มสุรา ตลอดจนการใช้เวลาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับตนเอง โรงเรียนและสังคม

 

4.เป้าหมาย :วัยรุ่นทั้ง 10 โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายของบุหรี่และสุรา ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตในวัยเรียนให้เหมาะสม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และดื่มสุราหรือยาเสพติดอื่นๆรวมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

 

5.สาระสำคัญของโครงการ : ด้วยเห็นว่าเยาวชนในวัยเรียนส่วนใหญ่ที่ติดยาเสพติดชนิดร้ายแรงจะเริ่มต้นจากสูบบุหรี่และดื่มเหล้าเบียร์มาก่อน อีกทั้งค่านิยมของเยาวชนต่อการสูบบุหรี่และดื่มเหล้าเบียร์มีแนวโน้มสูงจนน่าวิตก เพราะอายุยังน้อย ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตามมีความเชื่อมั่นว่าเยาวชนเป็นกำลังสำคัญต่อการแก้ไขและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มวัยรุ่นด้วยกันเอง  โครงการนี้ดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคลและหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียนทั้งชายหญิง

 

6.เครื่องมือที่ใช้ :รูปแบบการทำงานเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนได้ร่วมคิดร่วมทำและร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้วยตัวเยาวชนเองในด้านองค์ความรู้ แนวทางในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีกิจกรรมหลักคือประชุมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง และโรงเรียนในพื้นที่ดำเนินการ จัดทำคู่มือ เอกสาร สื่อเผยแพร่และจูงใจ คัดเลือกเยาวชนอาสา อบรมเยาวชนอาสาโดยเข้าค่าย 3 วัน สนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงานชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน การให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและรณรงค์โดยเยาวชนอาสา ประกวดโปสเตอร์พร้อมคำขวัญ การนิเทศและติดตามผล และการประเมินผล

 

7.การจัดระบบ โครงสร้างกระบวนการทำงาน :แกนนำเยาวชนอาสาสมัคร 10โรงเรียน , ทีมงานพี่เลี้ยงจากสมาคมฯ และวิทยากร และ เครือข่ายความร่วมมือจากโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์

 

8.ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ : 15 กุมภาพันธ์ 2547-31มกราคม 2548

 

9.การประเมินผลและผลกระทบ : ผลการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไม่สูบบุหรี่และดื่มสุรา พบว่าปัญหาการสูบบุหรี่และสุราในกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นยังคงอยู่และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิง แต่จากการรณรงค์และการให้ความรู้ของเยาวชนอาสาและชมรม มีผลทำให้นักเรียนเหล่านี้มีความยับยั้งต่อความคิดในการสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา และสามารถเลิกการสูบได้

 

10.ความยั่งยืน :หลังจบจากโครงการมูลนิธิฯไปทำงานเรื่องนี้กับพื้นที่อื่นๆต่อโดยได้ทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนอื่น(กระทรวงสาธารณสุข) ไม่ได้สานต่อกับพื้นที่เดิม

 

11.จุดแข็ง และอุปสรรค : มีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของโครงการ ได้แก่เยาวชน เยาวชนอาสาและคณะทำงานชมรมบางชมรมขาดความสนใจและการทุ่มเทในการทำงานด้านนี้ ทำให้ผลงานที่ทำได้ มีน้อย และไม่ต่อเนื่อง บางคนมีหน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากครูอาจารย์ค่อนข้างมาก(มีหมวกหลายใบ) ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาทำงานและการทำงานขาดความต่อเนื่องนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมบางคนไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับเยาวชนอาสาและชมรม เพราะถือว่าผู้ให้ความรู้และบริการเป็นกลุ่มเดียวกัน /สถานศึกษาโรงเรียนบางแห่งขาดสถานที่เหมาะสมในการจัดตั้งชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครู/อาจารย์ บางคนไม่ให้ความสำคัญกับการทำงานของเยาวชนอาสาและชมรมเท่าที่ควรทำให้การส่งเสริมสนับสนุนในลักษณะต่อเนื่องลดน้อยลง ในช่วงระยะเวลาเตรียมสอบและระหว่างสอบตลอดจนปิดภาคเรียนมีมากและกินเวลาหลายเดือนทำให้เวลาดำเนินการมีน้อยลง ส่งผลให้บางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้/ปัจจัยอื่นๆเจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินการมีภารกิจและงานประจำมากในบางครั้งไม่สามารถเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมที่จัดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและครบถ้วนซึ่งทางสมาคมฯแก้ปัญหาโดยทำการประสานงานและรายงานผลการดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบเป็นระยะๆ

12.ที่ติดต่อ :

-นายวิกรม วิภาดากุล หัวหน้าโครงการสมาคมอนามัยเจริญพันธุ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแห่งประเทศไทย 02-880-7084-5

-นางสาวไพรินทร์ เกิดทรัพย์  วิทยากร สมาคมอนามัยเจิญพันธุ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแห่งประเทศไทย 02-880-7084-5

องค์กร สมาคมอนามัยเจริญพันธุ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแห่งประประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 72092เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท