สายธารความรู้สู่การเลี้ยงโคอย่างพอเพียง ตอนที่ 29 แปลงหญ้าที่เม็กดำ


การให้โคกินแต่ฟางแห้ง ๆ ในฤดูแล้งคงสู้การให้โคได้กินหญ้าสด ๆ ไม่ได้ เหมือนที่พ่อกว้าง สุวรรณทา ท่านพูดว่า คนเราไม่ชอบกินปลาตากแห้งรมควันค้างปีฉันใด โคก็คงไม่ชอบกินฟางตากแดดแห้ง ๆ ค้างปีฉันนั้น

       จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการปลูกหญ้าของเกษตกรที่เลี้ยงโคที่บ้านเม็กดำ  ที่ปลูกหญ้าในป่าผัก ป่ากล้วย ตามริมฝั่งลำพังชู 

แปลงหญ้ามฝั่งลำพังชู

       เนื่องจากเกษตรกรได้รับจัดสรรพื้นที่ครอบครัวละ  2  ไร่ เมื่อลูกหลานแต่งงานมีครอบครัวที่ก็แบ่งซอยที่ดินให้ทำกินเหลืออยู่ครอบครัวละ 1งาน ถึง  1  ไร่ โดยประมาณ  ส่วนใหญ่จึงใช้พื้นที่เหล่านี้ปลูกผัก และผลไม้บ้างตามแต่สะดวก

รถไถสูบน้ำ

     มีเกษตรกรบางรายใช้พื้นที่ที่ได้รับแบ่งสรรมาปลูกหญ้าทั้งแปลงและปลูกผสมผสานกับพืชผักล้มลุก  แต่ไม่มีแปลงหญ้าขนาดใหญ่  

     และที่พบอีกอย่างคือ  กองฟางที่มีเกือบทุกครอบครัวที่เลี้ยงโค โดยจะมีกองฟางสูงประมาณ 4  เมตร 3-4 กองทุกครอบครัว  แต่ในช่วงกลางวันไม่มีโคขังไว้ที่คอกแม่แต่ตัวเดียว มีแต่โคที่ปล่อยเลี้ยงตามทุ่งนา

     เหตุใดเกษตกรที่นี่ปลูกหญ้ากันน้อย ทั้งที่พื้นที่ปลูกก็อยู่ใกล้แหล่งน้ำและมีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี หรือเป็นเพราะว่า

    -   แหล่งที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่บนที่ราบลุ่มจนเกือบจะเป็นนาทาม ล้อมรอบด้วยแหล่งน้ำลำพังชูและคูคลอง พื้นดินมีความชุ่มชื้นสูง ทำให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของหญ้าที่เป็นอาหารหลักของโค  เพราะมีโคที่ปล่อยเลี้ยงตามทุ่งนามากมาย

   -   การเกี่ยวข้าวของเกษตกรในพื้นที่ใช้วิธีเกี่ยวด้วยมือหรือแรงงานคนเป็นหลัก  ทำให้ฟางข้าวไม่เสียหายและเก็บไว้เป็นอาหารโคได้เพียงพอในแต่ละปี เพราะทุกบ้านที่เลี้ยงโคจะมีกองฟางทุกบ้าน

   -   จำนวนโคที่เกษตรกรเลี้ยงมีไม่มาก ประมาณ 3-5  ตัว  ซึ่งกินอาหารไม่มาก เพราะกลางวันปล่อยเลี้ยง  ตกเย็นกลับเข้าคอกก็กินฟางจึงไม่ต้องปลูกหญ้าและลงทุนเพิ่ม

   -   มีป่าใหญ่โคกจิกที่เป็นป่าสาธารณะที่ยังสมบูรณ์ที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญทั้งของคนและของโคในหมู่บ้าน  เพราะแม้แต่ในฤดูแล้งป่าก็ยังเขียวชะอุ่ม  ย่อมบ่งบอกถึงปริมาณอาหารที่มากพอสำหรับโคในฤดูแล้งได้

   -   มีแหล่งอาหารอื่น ๆ ตามฤดูการผลิต  เช่น ต้นข้าวโพด ต้นแตงกวา แตงร้าน ใบกล้วย ที่ปลูกกันมากในชุมชนนี้ ซึ่งสามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงโคได้   

แปลงข้าวโพด

    แต่ยังนึกเสียดาย เพราะยังมีพื้นที่ริมฝั่งลำพังชูอีกหลายแปลงที่ยังว่างเปล่าและน่าจะนำมาพัฒนาเป็นแปลงหญ้า หรือปลูกพืช ผักอื่น ๆ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตกรได้อีกเป็นจำนวนมาก 

พื้นที่ว่างเปล่า

    โดยเฉพาะการปลูกหญ้าเลี้ยโค ถ้าทำได้ จะทำให้โคของเกษตรกรได้รับอาหารและสารอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของโคได้มากขึ้น  เพราะการให้โคกินแต่ฟางแห้ง ๆ ในฤดูแล้งคงสู้การให้โคได้กินหญ้าสด ๆ ไม่ได้ เหมือนที่พ่อกว้าง  สุวรรณทา ท่านพูดว่า  คนเราไม่ชอบกินปลาตากแห้งรมควันค้างปีฉันใด  โคก็คงไม่ชอบกินฟางตากแดดแห้ง ๆ  ค้างปีฉันนั้น

    ทำอย่างไร พี่น้องชาวเม็กดำที่เลี้ยงและไม่เลี้ยงโคจะใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์จากการปลูกหญ้ามากขึ้น  เพราะนอกจากได้หญ้าสด ๆ คุณภาพดีเลี้ยงโคแล้วยังสามารถสร้างรายได้จากการขายหญ้าได้อีกด้วย

    โจทย์นี้คงต้องหาคำตอบจากพี่น้องชาวเม็กดำ ท่าน ผอ.ศักดิ์พงษ์และทีมงานอีกหลายรอบ  จริงไหมค่ะ

หมายเลขบันทึก: 71961เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • คงต้องแนะนำ
  • ผมเริ่มปลูกหญ้าลูซี่ ชาวบ้านเริ่มปลูกบ้างแล้วครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
ขอบคุณค่ะ อาจารย์ขจิต  บางครั้งแนะนำอย่างเดียวไม่ค่อยเชื่อค่ะ  คงต้องทำให้ดูให้เห็นผลกันมั้งค่ะ
ต้องตามใจแฟนเพลงครับ อ.พันดา กลุ่มลำพังชูเขาชอบปลูกข้าวโพด ก็ใส่โจทย์ จะปลูกข้าวโพดอย่างไรจะได้ทั้งข้าวโพดและ ข้าววัวครับ
ขอบคุณค่ะ พี่พงษ์  โจทย์ข้าวโพดอาหารคนและข้าวโพดอาหารสัตว์นี่น่าลุ้นสำหรับเม็กดำมาก เพราะปัจจัยเรื่องพื้นที่เหมาะสมทั้งด้านการเพาะปลูกและการตลาด เพราะมีตลาดนัดโค - กระบือ อยู่ใกล้เคียงและเส้นทางคมนาคมสะดวกในการส่งออกข้าวโพดหมักไปต่างพื้นที่ เป็นไปได้ค่ะ

ข้อมูลยังไม่ค่อยมีชีวิต เข้าใจยากครับ

คิดตามแล้วสมองแฮ้งค์เลยครับ

ดูๆเหมือนสถิติของทางราชการซะมากกว่าครับ

ดีมากครับอาจารย์ที่ให้ความรู้แก่ทุกๆคนที่เข้ามาอ่านและโพสข้อความ

ต้องขอบคุณอาจารย์จริงๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท