การจัดระบบการดำเนินการยาความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs) ในโรงพยาบาลกระบี่


ปิยะเนตร พรสินศิริรักษ์, ศิริรัตน์ ไสไทย
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลกระบี่

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ยากลุ่มดังกล่าว สำหรับโรงพยาบาล

วิธีการศึกษา
- เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและความเป็นไปได้ในการจัดการดำเนินการต่างๆ กลุ่มเป้าหมาย คือแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพทุกคน นำข้อมูลที่ได้เสนอกลุ่มเป้าหมาย เพื่อหาข้อสรุปว่าเรื่องใดทำได้หรือไม่ได้ เรื่องใดควรทำก่อนหรือหลัง ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลกระบี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ

ผลการศึกษา
- จากบุคลากรทั้งหมด 242 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 205 ชุด (ร้อยละ 84.7) จากกลุ่มแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ร้อยละ 37.5, 92.9 และ 89.7 ตามลำดับ แพทย์ให้ความเห็นว่า ควรจัดการในเรื่องการเก็บรักษายา คือให้ระบุสถานที่และวิธีเก็บรักษามากที่สุด (ร้อยละ 92.6) เภสัชกรให้ความเห็นเกี่ยวกับการรับคำสั่งใช้ยา คือ ผู้รับควรเป็นเภสัชกรหรือพยาบาลเท่านั้น และควรตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง มากที่สุด (ร้อยละ 92.4) ในด้านความเป็นไปได้ การรับคำสั่งใช้ยา เป็นหัวข้อที่มีการให้คะแนนมากที่สุดในทุกกลุ่ม เมื่อนำเสนอผลการศึกษา ทั้งสามกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องที่จะทำก่อนคือ ถ้าชื่อยาคล้ายกันควรซื้อบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน เรื่องที่ควรทำภายหลังคือ การจัดซื้อยาเพียงความแรงเดียว การสำรองไว้เฉพาะ ICU และ ER เท่านั้น ยาชื่อคล้ายกันไม่ให้ไว้ที่หอเดียวกัน

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 71958เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท