ลายใบกล้วย : การวิเคราะห์ประพันธศิลป์และ Creative Design ร่วมกับการศึกษาข้อมูลรอบด้านจากแหล่งต่างๆ มีแนวโน้มว่าลวดลายบนภาพซึ่งมีลักษณ์เหมือนภาพวัวควายนั้น จะไม่ใช่ภาพแสดงเครื่องตบแต่ง หรือเป็นภาพที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์ประกอบความสวยงาม แต่เป็นภาพอันมีลักษณะการออกแบบจากธรรมชาติ ด้วยการคลี่คลาย ‘ลายใบกล้วย’ อย่างมีความหมายต่อลักษณะทางสังคม ถิ่นฐาน วัฒนธรรมเกษตรกรรม อารยธรรมข้าว วัฒนธรรมการเชิดชูกตัญญูบูชาวัวควาย
ลายใบกล้วย ที่ผู้เขียนนำมากล่าวถึงเป็นกรณีศึกษานี้ นำมาจากส่วนหนึ่งของภาพเขียนสี เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี เป็น ‘ภาพลายเส้นสร้างสรรค์ที่ปรากฏบนภาพสัตว์’ ลักษณะเหมือนวัวหรือควาย ซึ่งในทรรศนะผู้เขียนนั้นเห็นว่าเป็นภาพที่ได้ชุดแนวคิดการสร้างศิลปอุปลักษณ์ [1] จากธรรมชาติ บริบทสิ่งแวดล้อม พื้นฐานการดำเนินชีวิต การสัมพันธ์ของมนุษย์กับถิ่นฐาน ควาย เห็นมิติสังคม ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติ ถิ่นฐาน ภูมิชีวิต สะท้อนอยู่ในงานศิลปผกรรมหัตถศิลป์ได้อย่างดี เป็นสิ่งแสดงเชิงประจักษ์ต่อวิวัฒนาการและพลวัตสืบเนื่องรายรอบของสังคม ที่ปรากฏขึ้นในอีกมิติหนึ่งมานานนับ 2000-5000 ปีแล้ว ในกระบวนการพหุปัญญาของยุคสมัยก่อนวิทยาการลายลักษณ์ เชื่อมต่อยุคเหล็ก ยุคหิน และยุคก่อนประวัติศาสตร์อันยาวไกล ให้สามารถเห็นรากฐานระบบเหตุผลและพลวัตพหุปัจจัย อันสะท้อนยึดโยงสิ่งที่ยึดโยงกับบริบทความเป็นตัวของตัวเอง มีความสำคัญต่อการสร้างภูมิปัญญาจากฐานรากภูมิถิ่นสังคม ได้อย่างมีความหมายและถูกต้องต่อธรรมชาติหลากหลาย ได้ดียิ่งๆขึ้น
ภาพสัตว์ที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นภาพของควายนี้ ก็โดยพิจารณาจากการไม่มีหนอก หลังโค้งหนาด้วยกล้ามเนื้อ เขาโง้ง ลักษณะเด่นแตกต่างกันกับวัว ซึ่งเขาจะสั้น ไม่โง้ง ชี้ออกไปด้านหน้า มีหนอกบนหลังและมีเหนียงคอ หลังแอ่นรับหนอกแล้วค่อยโค้งลงด้านหลัง
ภาพอุปลักษณศิลป์บนภาพของควาย ผู้เขียนได้ให้ชื่อว่า ‘ลายใบกล้วย’ ทั้งด้วยลักษณะการออกแบบและด้วยการประมวลภาพจากข้อมูลรอบด้าน ของสังคมร่วมสมัยยุคก่อนวิทยาการลายลักษณ์ [2] และยุคก่อนประวัติศาสตร์ [3] และด้วยนิยามเชิงปฏิบัติการ ชุดมโนทัศน์บูรณาการ ผสานยึดโยงครอบคลุมพหุมิติของภูมิชีวิตปัญญาปฏิบัติของมนุษยชาติกับโลกและมวลธรรมชาติ ในแหล่งอารยธรรมและแหล่งก่อเกิดวิวัฒนาการฐานรากทางสุขภาวะพหุลักษณ์สังคม ที่ยาวนานและมีความพิเศษมากที่สุดหลายประการของสังคมโลก ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และโลกแดนใต้ รวมไปจนถึงอาณาบริเวณโดยรอบ [4]
ประกอบด้วยนิยามเชิงปฏิบัติการชุดมโนทัศน์บูรณาการ เพื่อแสดงองค์ประกอบอันแสดงให้เห็นถึงการส่องสะท้อน ยึดโยงกัน และแสดงให้เห็นได้ถึงนัยสำคัญของพลังทางศิลปะและมิติสุนทรียปัญญา ต่อพลวัตพหุมิติของสังคม โดยเฉพาะ ‘ศิลปวิทยวัฒนธรรมวิวัฒน์’ ของยุคศักยภาพใหม่ทางปัญญาปฏิบัติของพลเมืองและสังคมประชากรหลังการศึกษาทันสมัยก้าวหน้า [5] ที่สำคัญ คือ (1) เป็นสิ่งแสดงข้อมูลข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ด้วยศิลปกรรมหัตถศิลป์ (Artifacts) [6] และพหุลักษณ์ข้อมูล ก่อเกิดอีกแนวทางหนึ่งของการศึกษาวิจัย การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ การพัฒนาวิธีวิทยา ให้ระเบียงทรรศน์ชุดใหม่อีกชุดหนึ่ง อันเสริมพลังภาคปัญญาปฏิบัติในทุกระบบสังคม บูรณาการพหุมิติของระบบพหุปัญญาก่อนและหลังวิทยาการลายลักษณ์ (2) สิ่งแสดงรากฐานการออกแบบสร้างสรรค์และศิลปะประยุกต์ ที่ปรากฏให้เห็นได้ถึงมิติสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาวะนิเวศระบบธรรมชาติ ถิ่นฐาน หรือเป็นการปรากฏขึ้นของ ‘ศิลปะเชิงสังคม’ ของสังคมไทยและสังคมโลกจากฐานรากเอเชียอาคเนย์และโลกแดนใต้ ซึ่งจะทำให้สามารถประมวลภาพพหุปัญญาวิทยาการและหยั่งรากฐานเชิงบูรณาการ ให้เห็นแนวปัญญาปฏิบัติและยกระดับประเด็นร่วมการยึดโยงสร้างพลวัตด้านต่างๆของสังคมจากฐานรากภูมิชีวิตและฐานราก ด้านที่อยู่ใกล้ชิดกับองค์ประกอบพื้นฐานของมนุษย์กับระบบสังคมและธรรมชาติที่สุด รวมทั้งในระดับเป็นส่วนหนึ่งอันกว้างขวางในวิวัฒนาการของมนุษย์โฮโมซาเปียน เอื้อต่อการเปิดสู่การเป็นระบบสุขภาวะมูลฐานสังคมที่มีความหมายสมบูรณ์พร้อมอยู่ในตนเองและพัฒนาการเรียนรู้ก่อเกิดพลวัตความงอกงามเต็มอัตภาพเสมอกันทุกคนของมนุษย์ (3) สิ่งแสดงการประจักษ์สัจจการได้ต่อรากฐานสุขภาวะมูลฐานผสานยึดโยงกันในภูมิชีวิตและฐานชีวิตพหุลักษณ์สังคม มีความเป็นมณฑลสาธารณะของพหุลักษณ์สังคมอย่างไม่จำกัดอยู่ในตนเอง ได้แก่ สุขภาพ ศิลปะ การศึกษา สื่อ การสื่อสาร พุทธธรรมและศาสนธรรมในทุกศาสนาความเชื่อและปรัชญาต่อโลกและชีวิต การพัฒนาปัจจัยคนและสังคม สุขภาวะมูลฐาน สุขภาวะนิเวศ มิติสุนทรียพลานามัย องค์ประกอบศิลปะสุนทรียปัญญา ก่อเกิดแนวการยึดโยงสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงความหมายการบรรลุเป้าหมายและงอกงามร่วมกันหลายทิศทางของระบบมหภาคและระบบจุลภาค โครงสร้างพื้นฐานระบบส่วนบนและระบบโครงสร้างการพลวัตเชิงวัฒนธรรม ปัญญาปฏิบัติ และวิถีดำเนินชีวิตของสังคมส่วนฐาน ส่งผลต่อพลวัตรอบด้านได้ดียิ่งๆขึ้น (4) ปรากฏความหมายและนัยสำคัญต่อองค์ประกอบพหุปัจจัยการวิวัฒนาการอันยาวนานและมั่นคงในรากฐานของสังคม ที่มีพลังความหมายต่อการศึกษา ถอดบทเรียนเสริมพลังวงจรการพลวัตตนเอง จากฐานวิวัฒนาการและการก่อเกิดขึ้นจริง มีปรากฏการณ์และของจริงเป็นเครื่องรองรับ ให้พลเมืองประชากรและพหุลักษณ์สังคมสามารถเข้าถึงปัญญาปฏิบัติในบริบทอันแตกต่างหลากหลายกันให้ผสานยึดโยงกันด้วยรากฐานความงอกงามทางปัญญาการพลวัตรว่มกัน ด้วยการพิจารณาและนำเสนอในมิติสร้างความสมบุูรณ์และเป็นที่พึงประสงค์ร่วมกันอย่างไม่จำกัดของสังคมโลก ในกรณีที่เลือกสรรอันเป็นที่ยอมรับแพร่หลายดีอยู่แล้วของประเทศและสังคมโลกในระยะ 50-100-200 ปีที่ผ่านมา จากฐานระเบียงทรรศน์
แนวทางดังกล่าวนี้ ต้องการองค์ประกอบรอบด้านของสิ่งที่มีความหมายเชิงพลวัตจากมนุษย์อย่างไม่จำกัด ด้วยชุดแนวคิดปัญญาปฏิบัติ บูรณาการกระบวนการภายในและภายนอกของมนุษย์ นับแต่กิจกรรมชีวิต การพูด อ่าน คิด เขียน สดับฟัง สื่อสาร สนทนา สร้างศิลปกรรมหัตถศิลป์ สิ่งแสดงชีวิตจิตใจและปรากฏการณ์เกินสามารถเข้าถึงได้ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม อันก่อเกิดอุปสรรคในการเจริญงอกงามและสร้างสรรค์สุขภาวะสังคมการอยู่ร่วมกัน ให้ปรากฏผลขึ้นในทางปฏิบัติได้ นับแต่สิ่งพื้นฐานที่สุดในชีวิตของมนุษย์ทุกคน ตามเงื่อนไขทุกภาวะสุขภาพและบริบทสังคม ตลอดห้วงชีวิต รองรับการมีตนเองเป็นต้นทุนและสินทรัพย์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตามศักยภาพในตนได้ตลอดไปของทุกหน่วยชีวิต
กล้วยเป็นอาหารเลี้ยงเด็ก คนป่วยและคนชรา เมื่อประกอบเข้ากับภาพวัวควาย ให้ภาพลายใบกล้วยแสดงความหมายบนภาพวัวควาย ในทางศิลปะและประพันธศิลป์ ก็สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกและถ่ายทอดชีวิตจิตใจ ให้สัมผัสและหยั่งประมาณสิ่งนามธรรมอันยิ่งใหญ่ คือ อาหาร ความผาสุก ความอุดมสมบูรณ์ โอสถแห่งการเติบโตงอกงาม
นอกจากนี้ ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการสร้างสรรค์ลายใบกล้วยดังกล่าว เป็นการออกแบบอย่างมีองค์ประกอบภูมิชีวิต สะท้อนปัญญาปฏิบัติสิ่งสรร การมีกำลังความสว่างไสวทางปัญญา ลดทอน คลี่คลาย แสดงความอลังการแห่งประพันธศิลป์ และ Creative Design ยุคก่อนวิทยาการลายลักษณ์ ณ สุวรรณภูมิ เอเชียอาคเนย์ และโลกแดนใต้ อย่างชัดเจน.
ไม่มีความเห็น