สัญญาณแห่งพญารุ้ง : ระบบจารึกและตำรานอกวิทยาการลายลักษณ์ สิ่งแสดงพหุปัญญายุคแรกของโลก ณ สุวรรณภูมิ เอเชียอาคเนย์ และโลกแดนใต้ มีเค้าโครงเนื้อหาและแบบแผนประพันธศิลป์ว่าด้วยสุขภาวะมูลฐานคุณภาพแห่งชีวิตของสังคมแบบพลวัตยั่งยืน


รากฐานและพหุปัจจัยเชิงระบบเบื้องหลังของวัฒนธรรมมุขปาฐะ ระบบพหุปัญญา ระบบการพลวัตและการวิวัฒน์ตนเองของสังคมอย่างสืบเนื่องด้วยภูมิพหุปัญญาก่อนวิทยาการลายลักษณ์ ซึ่งมีแนวโน้มความสอดคล้อง เอื้อต่อความสามารถเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เปิดรับ ประกอบสร้าง พลวัตภูมิชีวิตและฐานชีวิตภายในตนเอง บูรณาการผสานพหุลักษณ์สังคม เอื้อต่อความงอกงามยั่งยืนในการวิวัฒน์ตนเองของสังคมพหุปัญญา จรรโลงระบบพหุปัจจัยสุขภาวะมูลฐานคุณภาพแห่งชีวิต และหลายสิ่งจากอารยธรรมต่างๆของโลก ที่เน้นการอยู่อาศัย ยึดโยง พึ่งพากัน มากกว่าการสงครามและโครงสร้างกำกับทางอำนาจความรุนแรง

Artifact Illustration of Suvanbhumi ASEAN Regional Global South Wellbeing-Healthy Aesthetic Manifestation  ระบบการจารึกและขนบตำราสิ่งแสดงพหุปัญญายุคแรกของโลก ณ แดนสุวรรณภูมิ เอเชียอาคเนย์ และโลกแดนใต้ มีเค้าโครงสารัตถะเนื้อหาและแบบแผนประพันธศิลป์ว่าด้วยสุขภาวะมูลฐานคุณภาพแห่งชีวิตของสังคมแบบพลวัตยั่งยืนแดนสุวรรณภูมิ

 

  • อายุคาดประมาณข้อมูลข้อเท็จจริง (Artifact) ศิลปอุปลักษณ์ ก่อนและหลังวิทยาการลายลักษณ์ ภาพเขียนสี ศิลปะถ้ำ ศิลปะบนภูผา ที่พบในประเทศไทย ล้านนา หริภุญชัย 3000-6000 ปี และสุลาเวสี ชวาโบราณ 40000-50000 ปี ซึ่งเป็นสิ่งแสดงการปรากฏของมนุษย์โฮโมซาเปียนที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
     
  • ร่วมยุคสมัย ใกล้เคียง แหล่งอารยธรรมหลักของโลก ดังเช่น อารยธรรมเมโสโปเตเมีย สุเมเรียน แห่งลุ่มน้ำไทกริส อารยธรรมอียิปต์โบราณ ภาพเขียนสีถ้ำลาสโกยุโรป ประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งมีแบบแผนการวิวัฒน์ด้านประพันธศิลป์คล้ายกัน ในขณะที่เป็นการยากที่จะติดต่อสื่อสารถึงกันและก่อเกิดกระบวนการทางสังคมร่วมกันได้ จึงเป็นไปได้ว่า สิ่งแสดงและการเป็นที่ปรากฏขึ้นของ 'ศิลปกรรมหัตถศิลป์’ องค์ประกอบรากฐานสุนทรียปัญญา ‘ศิลปวิทยวัฒนธรรม’ ก่อนและหลังยุคสมัยวิทยาการลายลักษณ์ ดังที่ปปรากฏให้เห็นในพื้นถิ่นหลากหลายของสังคมต่างๆ ทั่วโลกนั้น มีฐานรากการพลวัตก่อเกิด แสดงความเจริญงอกงามขึ้นจากภูมิชีวิต ฐานชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของปัญญาปฏิบัติ สะท้อนกระบวนการวิวัฒน์ จากสุนทรียปัญญาและความละเอียดอ่อนลึกซึ้งของมนุษย์โฮโมซาเปียน ซึ่งหยั่งสะท้อนยึดโยงถึงภูมิชีวิต อันมีความลึกซึ้ง ซาบซึ้ง ผูกผสานพหุปัจจัย ขึ้นจากภาวะภายในของชีวิตอันสมบูรณ์พร้อมอยู่ในตนเอง เมื่อพหุปัจจัยและองค์ประกอบเงื่อนไขต่างๆ มีความถึงพร้อมเพียงพอ  พลวัตแห่งปัญญาปฏิบัติต่างๆ ดังกล่าว ก็ปรากฏขึ้นได้แบบเดียวกัน ประหนึ่งเป็นคุณลักษณ์เชิงวิวัฒนาการและเป็นองค์ประกอบพื้นฐานอย่างหนึ่ง มีความสำคัญต่อธรรมชาติชีวิตอันงอกงามด้วยปัญญาปฏิบัติได้ของมนุษย์โฮโมซาเปียน 
     
  • แบบแผนองค์ประกอบภาพและการสร้างทัศนภาพในแหล่งต่างๆของโลก มีลักษณะสอดคล้องกัน คือ การใช้สีแดง การสร้างทัศนภาพมิติเดียว การใช้สีแสงเงาเอกรงค์ การใช้เส้นแสดงความหมาย สร้างผลกระทบอารมณ์ความรู้สึกให้การสดับชมใช้มวลประสบการณ์ภายในอย่างยืดหยุ่นหลากหลาย การแบ่งหน่วยและแบ่งส่วนประกอบเนื้อหาเป็นชุดย่อย การสร้างแบบอุปลักษณ์สะท้อนยึดโยงกับชุดพหุปัญญาทางตรงต่อธรรมชาติและภูมิชีวิตตามบริบทจำเพาะของสังคม ภาพเขียนสีในถ้ำลาสโก ฝรั่งเศส ผาแต้ม อุบลราชธานี และประตูผา นครลำปาง พบการจัดระยะ การบัง การจัดองค์ประกอบช่องไฟ การจัดองค์ประกอบให้สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ พื้นผิวของหน้าผา และโครงสร้างของถ้ำ การสร้างขนาดและวางตำแหน่งให้บังเกิดผลจากการมมอง ซึ่งเป็นวิธีการขั้นสูงอย่างได้ผลของศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ของโลกยุคใหม่ ณ ยุโรป คริสต์ศตวรรษ 13-17 
     
  • ความแตกต่างหลักที่สำคัญ เมื่อพิจารณาด้วยองค์ประกอบด้านเค้าโครงเนื้อหา สารัตถสังคมเคราะห์ และแบบแผนประพันธศิลป์ คือ การนิพนธ์ศิลปอุปลักษณ์ ทุกแหล่งภาพเขียนสีในเอเชียอาคเนย์ ไม่พบเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามและภาพเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจทางชนชั้นหรืออาณาจักรการครอบครองเลย โดยเมื่อวิเคราะห์ด้วยหลักเกณฑ์ประพันธศิลป์ สามารถจัดกลุ่มสิ่งแสดงเนื้อหา โดยสรุปคือ (1) แผนที่แสดงภูมิประเทศการสำรวจและการค้นพบแหล่งความผาสุกอุดมสมบูรณ์ของถิ่นฐาน เช่น ผาแต้ม ถ้ำผีหัวโต กระบี่ แหลมไฟไหม้ พังงา (2) การทำมาหากิน การผลิตกสิกรรม การล่าสัตว์ การทำประมงหาปลา (3) ลักษณะการดำเนินชีวิต สิ่งของเครื่องใช้ เช่น มีดคาดเอว ภาพเขียนสีเขาปลาร้า อุทัยธานี (4) ปรัชญา ระบบวิธีคิด ชุดมโนทัศน์ ต่อความสูงส่ง ความยิ่งใหญ่ (5) ภาวะผู้นำความผาสุก จรรโลงสร้างความอุดมสมบูรณ์ (ปลาบึกใหญ่เท่าผืนฟ้า) ความแกล้วกล้าเอาชนะความยากลำบากของมนุษย์ (ผู้อยู่เหนือขุนเขาและผืนฟ้าดังเลียงผา) (6) การออกแบบและจัดองค์ประกอบสื่อความหมาย แสดงชุดมโนทัศน์ สร้างศิลปอุปลักษณ์ (7) การปรากฏขึ้นของการออกแบบสร้างสรรค์ ลายใบกล้วย (เขาปลาร้า อุทัยธานี) ประจุความหมาย ปรัชญาโลกและชีวิต (ผาแต้ม) นับว่าก้าวหน้า เก่าแก่ มากที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก (8) การปรากฏขึ้นของ แผนที่การสำรวจ และจารึกแสดงภูมิชีวิต เช่น ภูมิถิ่นชีวิตลุ่มน้ำโขง (ผาแต้ม) แหล่งน้ำจืด ถ้ำผีหัวโต กระบี่ (ข้อพิจารณาโดยผู้เขียน) (9) การปรากฏขึ้นของปัญญาปฏิบัติการประมง ชุมชนแผ่นดินมหาสมุทร (ภาพเขียนสี แหลมไฟไหม้ พังงา) เหล่านี้เป็นต้น 
     
  • การวิเคราะห์ ประเมิน จำลองสถานการณ์ พิจารณาสิ่งสะท้อนยึดโยงเชิงระบบ เกี่ยวกับ เทคนิคทางศิลปะ สีและการผลิตสี แหล่งแร่และแหล่งวัตถุดิบการผลิตสีตามข้อสันนิษฐานต่างๆ ตำแหน่งความสำคัญ อรรถประโยชน์ การใช้สอย และบทบาทสำคัญที่เป็นไปได้ ทั้งจากการศึกษารายงาน การวิจัย และการสะท้อนข้อสังเกตของนักโบราณคดี นักวิชาการ ผู้รู้หลายสาขา ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการลงสำรวจพื้นที่ ตลอดจนการศึกษา พิจารณาร่วมกับเหตุการณ์โดยรอบที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อเห็นน้ำหนักความสำคัญต่างๆประกอบกัน ก็มีแนวโน้มว่า แหล่งภาพเขียนสีต่างๆ เป็นแหล่งที่อาจมีการยึดโยงเคลื่อนไหวถ่ายเทถึงกันของสังคมขนาดใหญ่ ครอบคลุมเครือข่ายเชิงพื้นที่โดยรอบในระยะ 20-300-500 กิโลเมตร โดยแหล่งพบภาพเขียนสีและเนื้อหาการจารึกถ่ายทอด มีบทบาทเป็นมณฑลและมหาสถานแห่งการพลวัตทางปัญญาปฏิบัติเอนกประสงค์ บูรณาการอรรถประโยชน์หลายด้าน ใช้ระบบการสื่อสาร บอกเล่า บอกกล่าว สร้างวัฒนธรรมปัญญาปฏิบัติฐานมุขปาฐะ ปฏิสัมพันธ์ทางความหมายสองทางแบบพลวัต สร้างอรรถาธิบายเป็นรายบริบท สิ่งจารึกบนภูผาและในถ้ำ มีความยืนนานคู่โลก ฟ้าดิน ขุนเขา แต่การใช้ประโยชน์มีลักษณะหมุนเวียน พลวัตประกอบสร้างสิ่งจำเป็นอเนกประสงค์ ยึดโยงกับการสร้างความผาสุกและการทำอยู่ทำกิน เคลื่อนไหวถ่ายเทระหว่างกันของสังคม หมุนเวียนสลายไปกับวงจรธรรมชาติ เหลือเพียงมหาสถานมณฑลแห่งการพลวัตทางปัญญาปฏิบัติเอนกประสงค์ ยืนยาว ยืนนาน คู่ขุนเขา แต่การพึ่งพาอาศัยพหุปัจจัยต่างๆของมนุษย์ สามารถย่อยสลายกลับสู่วงจรธรรมชาติ วิวัฒนาการสืบเนื่องในอีกแบบแผนหนึ่ง 
     
  • ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นสัญญาณชีพภูมิชีวิตสังคม อันจัดได้ว่าเป็นรูปแบบจารึกและตำราสิ่งแสดงพหุปัญญายุคแรกของโลก ณ สุวรรณภูมิ เอเชียอาคเนย์ และโลกแดนใต้ มีเค้าโครงเนื้อหาและแบบแผนประพันธศิลป์ อันว่าด้วยสุขภาวะมูลฐานคุณภาพแห่งชีวิตของสังคมแบบพลวัตยั่งยืน 
     
  • มีความเก่าแก่กว่าแหล่งวัฒนธรรมเมืองปราสาทหิน วัฒนธรรมขอมกัมโพช ดังปรากฏในประติมากรรมหินนครธม นครวัด

 



ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท