การวิเคราะห์ฐานยึดโยงสิ่งแสดงเชิงประจักษ์ร่วมกันขององค์ประกอบสุนทรียปัญญาและระบบประพันธศิลป์ ทั้งจากบริบทปรากฏการณ์จริงและจากพหุลักษณ์ปัญญาวิทยาการ หยั่งสะท้อนภูมิถิ่น ทรัพยากร และระบบสุขภาวะมูลฐานภูมิชีวิต เป็นฐานแนวคิดเชิงทฤษฎีและฐานร่วมปัญญาปฏิบัติของการพัฒนาการเรียนรู้มวลชนในยุคใหม่หลังความก้าวหน้าทางวิทยาการ เทคโนโลยี และความสำเร็จในการจัดการการศึกษาสมัยใหม่แก่พลเมือง และในภาคสุนทรียปัญญาทุกแขนง ของสื่อ ศิลปกรรม ตลอดจนระบบต่างๆในทุกภาคส่วนของสังคม ที่ยึดโยงกับองค์ประกอบชีวิตและธรรมชาติพื้นฐาน อันมีองค์ประกอบด้านอารมณ์จิตใจ สติ ปัญญา ตลอดจนความละเอียดอ่อนต่างๆของมนุษย์ ซึ่งแตกต่างหลากหลาย มีพลวัตสูง ระบบความหมายการยึดโยงในชุดใหม่หลายทิศทางจะไม่เคยมีมาก่อนในอดีตของทุกสังคมทั่วโลก แต่เป็นพลวัตความงอกงามสืบเนื่องในวิวัฒนาการภูมิชีวิต ซึ่งวิทยาการลายลักษณ์และระบบภูมิปัญญาพหุวิทยาการหนึ่งใดเพียงลำพัง จะไม่ทัดเทียมเพียงพอต่อการบรรลุถึงสุขภาวะมูลฐานคุณภาพแห่งชีวิตเต็มศักยภาพในห้วงชีวิตหนึ่งของมนุษย์
คำตอบหนึ่งจะพบจากการมุ่งสะท้อนปัญญาปฏิบัติขึ้นจากสิ่งที่มีภายในตนให้ลึกซึ้งแยบคาย เห็นความเป็นตัวของตัวเอง แลกเปลี่ยนเกื้อหนุนกันและกันได้ด้วยสุขภาวะสังคมที่ดีกว่าเดิมในเงื่อนไขแวดล้อมใหม่ การประเมินเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นแนวคิดและชุดมโนทัศน์อย่างใหม่ จากพหุลักษณ์ข้อมูลและพัฒนาวิธีเข้าถึงความหมายเชิงอุปลักษณ์ของแหล่งภูมิปัญญาก่อนวิทยาการลายลักษณ์ จากภูมิชีวิตฐานรากในทุกสังคมทั่วโลก เพื่อเสริมสร้างการเห็นโลกแห่งความเป็นจริงจากระเบียงทรรศน์และทรรศนวิถีอย่างใหม่ นำไปสู่การสร้างปัญญาความรู้ที่พอเพียงอย่างใหม่อีกในหลายขอบเขตของสังคม โดยเฉพาะจากภูมิชีวิตและสิ่งที่มีอยู่ในสังคมแต่ขาดวิธีบูรณาการการเข้าถึงแหล่งภูมิปัญญาก่อนวิทยาการลายลักษณ์ที่ยึดโยงวงจรความงอกงามในชีวิต ซึ่งหลายอย่างเป็นประจุความรุ่งเรืองสว่างไสวทางปัญญาปฏิบัติของมนุษยชาติ ที่รอการเข้าถึงและสร้างสรรค์พลวัตตนเองที่ดีกว่าเหมาะสมกว่าในเงื่อนไขแวดล้อมอย่างใหม่
'ประตูผา' 'ทวารวดี' ประตูกำกับการส่งผ่านและสร้างจังหวะพลวัตของโลก กับระเบียงทรรศน์และชุดมโนทัศน์ 'ผู้ยิ่งใหญ่แห่งขุนเขา' 'ผู้มีบารยิ่งใหญ่แผ่ความอุดมสมบูรณ์ไพศาล' สู่การปรากฏ 'ราชวงศ์ไศเลนทร' 'ขุนเจือง' 'อาณาจักรกัมโพช' 'ทวารวดีศรีวิชัย' 'ขุนผาเมือง' 'พ่อขุนบางกลางหาว' 'วัดบรมพุทโธ หรือ โบโรบูดูร์’ อุปลักษณ์ประตูและการกำกับพหุภูมิสามโลกธาตุ และความเกรียงไกรของราชอาณาจักรชาวพุทธชวาโบราณยุคราชวงศ์ไศเลนทร์ เชี่ยวชาญการสงครามและค้าขายทางเรือแผ่ความสัมพันธ์ถึงอาณาจักรขอมกัมโพช อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรจามปา และอีกหลายพัฒนาการในสังคมโบราณสองฟากมหาสมุทรของโลกแดนใต้
‘ไศเลนทร’ ราชวงกษัตริย์ชวาโบราณ ผู้สร้างวัดพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ‘บรมพุทโธ’ ด้วยเจดีย์แสดงความหมายสารัตถะสำคัญในแก่นพุทธธรรมด้วยอุปลักษณ์ประตูและการกำกับพหุภูมิสามโลกธาตุ ชื่อ ‘ไศเลนทร’ มีความหมายว่าราชาแห่งขุนเขา ในชวาโบราณมีตำนาน ‘มังกรโคโดโม’ แห่งเกาะภูเขาไฟ ที่เกินมนุษย์จะพิชิตได้ มี ‘ภาพเขียนมือ’ สีแดง แสดงอารยธรรมของมนุษย์โฮโมซาเปียนที่เก่าแก่ที่สุดของโลก อายุ 39,000 ปี บนเกาะสุลาเวสี เกาะแห่งเหล็ก และมีความสัมพันธ์กับแหล่งตะกอนเหล็กซึ่งเป็นรงควัตถุอย่างหนึ่งที่สามารถใช้ผลิตสีได้ จากทะเลสาบมาตาโน และกับอีกหลายแหล่ง
มังกร ตำนานราชาแห่งขุนเขาและมหาสมุทร เป็นอุปลักษณ์การก่อตั้งพระนครของขอมกัมโพชโบราณ การปรากฏสัญลักษณ์มังกรแห่งขุนเขาหรือตะกวดหรือเหี้ย ในงานศิลปกรรมหัตถศิลป์ต่างๆของยุคโบราณ จะมีความหมายแสดงถึงความสัมพันธ์กับขอมกัมโพช ทวารวดี และราชวงกษัตริย์‘ไศเลนทร’ ของชวาโบราณ ในทางใดทางหนึ่ง เช่นเดียวกับการปรากฏอยู่บนภาพเขียนสีประตูผา นครลำปาง
‘ขุนเจือง’ ตำนานผู้นำสังคมอารยธรรมลุ่มน้ำโขงและโลกแดนใต้ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก มีความหมายอุปลักษณ์ว่า ‘ผู้มีบารมียิ่งใหญ่ดังผืนฟ้าแผ่ความผาสุกอุดมสมบูรณ์ทั่วแหล่งหล้า’
ภาพเลียงผา 2 ตัว ประหนึ่งอริยาบทแห่งมิตรสหาย บนภูผา ในแง่ประพันธศิลป์และการสร้างสัณฐานเชิงอุปลักษณ์ให้สามารถประจักษ์ได้ต่อองค์ประกอบนามธรรมและจักรวาลแห่งการอรรถาธิบายถึงความสำคัญและมีความยิ่งใหญ่ ครอบคลุมในทุกรายบริบท มีความหมายร่วมอุปลักษณ์เดียวกับ ‘ผู้ยิ่งใหญ่แห่งภูผาและราชาแห่งขุนเขา’ ซึ่งอุปลักษณ์ก่อนวิทยาการลายลักษณ์ดังกล่าวนี้ ต่อมาก็ปรากฏขึ้นในตำนานและการจารจารึกด้วยวัฒนธรรมลายลักษณ์ ดังในพระนาม ‘พ่อขุนผาเมือง’ อีกทั้ง ภาพมือจำนวนมากมายบนภูผาและขุนเขา กระทั่งเบาบางเลือนหายไปกับผืนฟ้า ในการสร้าง Manifestation Forms for Creative Conceptualization Aspect ตามที่ปรากฏในข้อมูลอีกหลายด้าน
ในทางเวชนิทัศน์ศิลปกรรมและการคิดสร้างสรรค์ของนักศิลปะ สำหรับสร้างสัณฐานเชิงประจักษ์รูปธรรมนามธรรมทางตรงแก่อารมณ์จิตใจ ก็ไม่เกินจริงที่จะคิดได้ว่าภาพเหล่านี้มีความหมายเชิงอุปลักษณ์ว่า ‘ผู้ยิ่งใหญ่บารมีดังผืนฟ้าแผ่ความผาสุกอุดมสมบูรณ์ไพศาลทั่วหล้า’ ดังเช่น ‘พ่อขุนบางกลางหาว’ ‘ขุนเจือง’ ซึ่งในบางยุคสมัยก็ปรากฏบนภูผา ณ ‘มณฑลประตู’ และ ‘ทวารวดี’ ภูมิถิ่นอันมีองค์ประกอบดังประตู ดังเช่นประตูผา ผาแต้ม แดนสุวรรรณภูมิ ณ เขาปลาร้า อุทัยธานี และอีกหลายแห่งของไทย ชวา ลาว ขอมกัมโพช นครจามปา อาณาจักรฟูนัน และอีกทั่วโลก
เมื่อนำกรอบแนวคิดประพันธศิลป์และแนวให้สมมุติฐานต่อการสร้างสัณฐานอุปลักษณ์อย่างมีความหมายกับระบบความสัมพันธ์ต่างๆ ให้กลไกพลวัตการจัดการภาวะผู้นำหมู่ด้วยพหุปัญญาสถานบนภูผา ของพหุลักษณ์สังคมและเครือข่ายคูหานคร เป็นแนวการสำรวจ ประมวนภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลผสานยึดโยงสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสัมพันธ์กันในสารัตถะการประกอบสร้าง บริบทการก่อเกิดภาพเขียนสี บริบทของประตูผาและอาณาบริเวณของภูผาและเครือข่ายมณฑลคูหาของสังคมโบราณ รวมทั้งสังเคราะห์สร้างประเด็นนัยสำคัญทางแนวคิดและชุดมโนทัศน์ การวิเคราะห์แผนที่ภูมิศาสตร์ศิลปกรรมหัตถศิลป์ การสร้างระเบียงทรรศน์สำรวจพลวัตสังคมก่อนและหลังวิทยาการลายลักษณ์ ก็ทำให้เห็นภาพหลายอย่างที่สอดคล้องและเสริมความหนักแน่นให้กัน
รวมทั้งหลายอย่างก็ไม่เคยปรากฏต่อการรับรู้ และขาดหายไปจากสังคมในยุควิทยาการลายลักษณ์ แต่เป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการร่วมกันในเงื่อนไขแวดล้อมใหม่ของสังคมโลก ที่ก่อเกิดพลวัตและมีวิวัฒนาการอย่างสืบเนื่องในภูมิชีวิตของพหุลักษณ์สังคม ที่ต้องอาศัยพหุปัญญาอย่างใหม่ผสมผสานบูรณาการและต่างเป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันของ ‘ศิลปวิทยวัฒนธรรมวิวัฒน์’ ของภูมิพหุลักษณ์ปัญญาสังคม ภายในและภายนอกวิทยาการลายลักษณ์ ที่สามารถเสริมศักยภาพปัญญาปฏิบัติให้กระจายตัวขึ้นจากพหุลักษณ์ความหลากหลายจากภายในตนเองและก่อเกิดพลวัตความหมาย ยกระดับหลักแห่งการยึดโยง หยั่งสะท้อนภูมิชีวิตและวิวัฒนาการภูมิปัญญาฐานชีวิตของมนุษย์ บนการร่วมกันสร้างขึ้นด้วยกระบวนการเชิงสังคมวัฒนธรรมตามบริบทความเป็นจริงของยุคสมัย เป็นอีกด้านหนึ่งในต่างมิติกับการกำกับรวมศูนย์ให้เกิดการกระจาย ที่เกิดขึ้นได้ยากหรืออาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งวงจรเชิงพลวัตดังกล่าว ทำให้สุขภาวะนิเวศและศานติภาวะพหุลักษณ์สังคมในภูมิภาคซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งในทุกด้านของโลกสามารถจรรโลงความงอกงาม รวมทั้งเป็นเบื้องหลังวิวัฒนาการสิ่งก่อเกิดหลายอย่างอันเป็นที่มุ่งหมายของสังคมโลก ไม่สามารถบังเกิดขึ้นจากเงื่อนไขแวดล้อมอื่นของโลก แต่มีให้ประจักษ์ได้อยู่จากพหุลักษณ์สังคมโลกแดนใต้ ดังสะท้อนยึดโยงสิ่งอันพอจะประจักษ์ได้ผ่านภาพเขียนสีและภูมิถิ่นวิวัฒนาการชีวิต อีกแหล่งหนึ่งนี้นั่นเอง.
ไม่มีความเห็น