ฉบับที่ 4


จดหมายข่าวจาก RMUTI_KM Team ฉบับที่ 4 ธันวาคม 2549

ความรู้ (Knowledge) คือ อะไร?  ความรู้  คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ  เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง  ความคิดเห็น  ทฤษฎี  หลักการ รูปแบบ  กรอบความคิด  หรือข้อมูลอื่นๆ ที่มีความจำเป็น และเป็นกรอบของการผสมผสานระหว่างประสบการณ์  ค่านิยม  ความรอบรู้ในบริบท     สำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน

ชั้นของความรู้เป็นอย่างไร?ข้อมูล  (Data)  เป็น ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือเป็นกลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

สารสนเทศ  (Information)  เป็น ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลโดยรวบรวมและสังเคราะห์เอาเฉพาะข้อมูลที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่องานที่ทำ

ความรู้  (Knowledge)  เป็น  ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศ โดยมีการจัดระบบความคิด  เสียใหม่ให้เป็น  ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง

ความเฉลียวฉลาด  (Wisdom)  เป็น การนำเอาความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ     

เชาวน์ปัญญา  (Intelligence)   เป็น ผลจากการปรุงแต่งและจดจำความรู้และใช้ความเฉลียวฉลาดต่าง ๆในสมอง    ทำให้เกิดความคิดที่รวดเร็วและฉับไว สามารถใช้ความรู้และความเฉลียวฉลาดโดยใช้ช่วงเวลาสั้นกว่า หากนำเอามาจัดลำดับเป็นขั้นตอนของการเรียนรู้สำหรับมนุษย์แต่ละบุคคลจะได้ดังนี้

 ประเภทของความรู้มีอะไรบ้าง?  

1. ความรู้ในตัวของมนุษย์หรือความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge)    หมายถึง   ความรู้เฉพาะตัวที่เกิดจากประสบการณ์ การศึกษา การสนทนา การฝึกอบรม เจตคติของแต่ละบุคคล  เป็นความรู้บวกกับสติปัญญาและประสบการณ์  

2.  ความรู้เชิงประจักษ์ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit Knowledge)   หมายถึง  ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลออกมาในรูปของการบันทึกตามรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นสารสนเทศนั่นเอง   

3.  ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม (Culture Knowledge)  หมายถึง  ความรู้ที่เกิดจากความเชื่อ ความศรัทธา ซึ่งเกิดจากผลสะท้อนกลับของความรู้  และสภาพแวดล้อมทั่วไปขององค์กร

ประเภทความรู้ในตัวคนมีอะไรบ้าง?                ความรู้ในตัวคนเป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในแต่ละบุคคล   การที่ความรู้จากใครคนหนึ่งจะถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นได้นั้นเป็นเรื่องที่ยากหากเจ้าตัวไม่ยินยอม  ดังนั้นการขอรับการถ่ายทอดความรู้จากบุคคลผู้รู้เหล่านี้  จะทำได้ดังนี้               

1. การสนทนา (Face-to-face  Conversation) 

2.  การนำทีมและฝึกอบรม (Mentoring & Training)   

3.   อบรมเข้มข้น  (Coaching)   

4.   การแนะนำ  (Customer  Knowledge) 

5. การเข้ากลุ่ม  (Staff  Knowledge) 

6.  การใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก  (Outside  Expert) 

7.  การสั่งการ (Top  Manager / Top Management  Support )  

8.  การเผยแพร่สู่สาธารณะหรือทุนทางสังคม     (  Social  Capital)

ประเภทความรู้เชิงประจักษ์มีอะไรบ้าง?               

ความรู้เชิงประจักษ์เป็นความรู้ที่ได้จากสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ   ความรู้แบบนี้จะถ่ายทอดจากใครคนหนึ่งไปยังบุคคลอื่นได้โดยไม่ยากนัก        การขอรับการถ่ายทอดความรู้เชิงประจักษ์ที่ปรากฏชัดเจนเหล่านี้  อาจเรียนรู้ได้จากสื่อดังนี้               

1.  ข้อมูลข่าวสาร (Transaction  Data)

2. รายงาน ( Internal  Reports, Memos) 

3.  การจดบันทึก (Record   Management)

4. แผนงานและนโยบาย (Plan  and  Policies)

5.หนังสือพิมพ์ (Newspaper)  

6. หอสมุด (Data  Warehouse)      

7. ฐานข้อมูล (External / Internal  Databases   

8. อีเมล์ (E-Mail)

ลักษณะความรู้จำแนกอย่างไร?

การจำแนกลักษณะของความรู้นั้นมีหลายทฤษฎี  ในที่นี้จะจำแนกตามระดับการใช้งานของบุคลากรในหน่วยงานว่า อะไรที่บุคลากรคือต้องรู้  อะไรที่ควรรู้เพื่อการแข่งขันและนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กร  แบ่งได้ คือ  

1.   Core  Knowledge   เป็นความรู้ในระดับพื้นฐานที่ทุกคนในองค์กรต้องการหรือต้องรู้  

2.   Advanced  Knowledge   เป็นความรู้ที่ทำให้องค์กรไปสู่จุดของการแข่งขันได้  เป็นความรู้ที่มี           ความเฉพาะเจาะจงซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งขัน  

3.   Innovative  Knowledge   เป็นความรู้ที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ  สามารถเป็นผู้นำทางการตลาดได้

การจัดการความรู้ในองค์กรทำเพื่ออะไร?

ปัจจุบันส่วนใหญ่ในแต่ละองค์กรมีความรู้อยู่มากมายแต่ไม่ได้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบทำให้ความรู้กระจัดกระจาย ยากต่อการนำมาใช้งาน ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการจัดการความรู้ขึ้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อ การรวบรวมความรู้  ที่อยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวคนหรือเอกสารมาพัฒนาเป็นองค์ความรู้  และมี การถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถ เข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายของการจัดการความรู้

1.  พัฒนางานให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น    

2.  พัฒนาคน  คือ การพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน    

3.  พัฒนาฐานความรู้ขององค์กร

การบริหารจัดการความรู้ทำอย่างไรได้บ้าง?

1.  การจัดการความรู้ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ                             

1.1 Best  Practices              

1.2  Lessons  Learned              

2.  การจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และมิติทางวัฒนธรรม                     

2.2 Tacit  Knowledge          

2.2  Community  of  Practices

3.  การจัดการความรู้ที่เน้นความสำคัญของเนื้อหา                       

3.1  Content  Management  

3.2  Taxonomy   

3.3  Retrieval  Ability

กระบวนการจัดการความรู้มีขั้นตอนอย่างไร?

1.  การบ่งชี้ความรู้    

2. การสร้างและแสวงหาความรู้    

3.  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้    

5.  การเข้าถึงความรู้      

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้       

7. การเรียนรู้

การบ่งชี้ความรู้  เป็นกระบวนการค้นหา หรือกำหนดว่าองค์กรมีความรู้อะไรบ้าง  อยู่ในรูปแบบใด  และอยู่ที่ใคร  มีประเด็นประกอบการพิจารณาดังนี้             

1.  สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ / พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของหน่วยงานหรือไม่            

2.  เป็นความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อกระบวนการทำงานขององค์กรหรือไม่            

3.  เป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้เพื่อการแก้ปัญหาการดำเนินงานขององค์กรหรือไม่                 

4.  เป็นความรู้ที่สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จและความเป็นเลิศได้หรือไม่

การสร้างความรู้           

ความรู้ทั้งในตัวคนและความรู้เชิงประจักษ์  สามารถถ่ายเทไปมา ตามแผนผังข้างล่างนี้

 

 การแสวงหาความรู้ (Knowledge  Acquisition)  

1.  การจัดหา  (Acquisition)        

1.1  การไปเรียนรู้หรือลอกเลียนมาจากองค์การอื่น  แล้วนำความรู้นั้นมาปรับใช้ภายในองค์กร       

1.2  การเข้าไปซื้อหรือควบกิจการ          

1.3 ว่าจ้างบุคลากรที่มีความรู้ที่ต้องการเข้ามาทำงานภายในองค์กร 

2.  การเช่า  (Rental)  หรือการเช่าความรู้        

2.1 การให้ทุนสนับสนุนแก่สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ที่ต้องการ       

2.2 การจ้างที่ปรึกษาเข้ามาให้คำปรึกษาในเรื่องที่ต้องการ 

3.  การพัฒนา  (Development)          เป็นการพัฒนาความรู้ขึ้นมาภายในองค์การเองโดยอาจ จะมีการลงทุนในด้านของการวิจัยและพัฒนา  

4.  การหลอมรวมกัน  (Fusion)          เป็นการนำบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกันเข้ามาประชุม หรือทำงาน   ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้น

การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)

การจัดเก็บ (Storage)         เป็นการกำหนดสิ่งสำคัญที่จะจัดเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ขององค์กร  ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงวิธีการในการเก็บและการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความต้องการ  

ข้อคำนึงในการจัดเก็บ             

1.  โครงสร้างและการจัดเก็บความรู้  ควรเป็นระบบที่สามารถค้นหาและ ส่งมอบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว             

2.  จัดให้มีการจำแนกรายการต่าง ๆ  เช่น   ข้อเท็จจริง  นโยบาย  หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่อยู่บนพื้นฐานความจำเป็นในการเรียนรู้             

3.  การจัดการที่สามารถส่งมอบให้กับผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน  กระชับ   ถูกต้อง  ทันเวลา  และเหมาะสมตามที่ต้องการ

การค้นคืน (Retrieval)   

เป็นลักษณะของการเข้าถึงสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป  องค์กรควรทำให้บุคลากรทราบถึงช่องทางหรือวิธีการสำหรับการค้นหาความรู้ต่างๆ ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ   

การประมวลและกลั่นกรองความรู้  (Knowledge Refinement / Verification)

 

 การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)    

1.  Knowledge Push  เป็นการส่งมอบความรู้ไปยังผู้รับโดยผู้รับไม่ได้ร้องขอหรือมีความต้องการ เป็นการส่งมอบในลักษณะ  Supply-based หรือ  SDI   (Selective  Dissemination of Information / Knowledge)    

2.   Knowledge Pull   เป็นการส่งมอบความรู้ไปยังผู้รับ ตามความต้องการ หรือตามความสนใจ เป็นการส่งมอบในลักษณะ Demand-based

การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)

ชุมชนนักปฏิบัติ  (Communities  of  Practice - COP)  เป็น  กลุ่มคนที่มีความสนใจร่วมกันมารวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแบ่งปันความรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน   ซึ่งก่อให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ขององค์กรหรือชุมชน

การเรียนรู้  (Learning)

 

 สรุป

จากที่ได้กล่าวถึง  ความรู้  ชั้นและประเภทของความรู้   วัตถุประสงค์และกระบวนการจัดการความรู้   ขั้นตอนการดำเนินการจัดการความรู้   หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยบ้างตามสมควร   ฉบับหน้าโปรดติดตามข่าวและสาระของ การจัดการความรู้ จาก RMUTI_KM Team ได้ใหม่ในปีใหม่   ขออวยพรให้ทุกท่านจงโชคดีปีใหม่                                                               

สวัสดีปีใหม่  2550

RMUTI_KM  Team

 

หมายเลขบันทึก: 71906เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท