ประชุมสัมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 2/2549 "มหกรรมสุขภาพชุมชน"


การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

The Participation of the community in Prevention of cervical cancer

นิพัธ  กิตติมานนท์ 1  วว.ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์, สุนันทา  ภักดีอำนาจ 1  ป.พส ,ปฏิพิมพ์  อยู่คง 1ป.พส , นิตยา  สุราษฎร์มณี 2สบ. , คันธรส  แขวงเมืองณรงค์ 2 ป.พส , กิตติยา  วิจิตรพฤกษ์ 3 สม.

1กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

2ศูนย์สุขภาพชุมชนดอนทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก

3สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพิษณุโลก

บทคัดย่อ :  มะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาสาธารสุขที่สำคัญ และมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดของสตรีไทย จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามมากกว่าระยะเริ่มแรก จึงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ครอบครัว และเศรษฐกิจ เพราะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง และจากรายงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปี 2547 สามารถคัดได้เพียง   ร้อยละ 45.5  สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสตรีกลุ่มเป้าหมายขาดความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและหารูปแบบวิธีการเพื่อใช้ในการควบคุมป้องกันมะเร็งปากมดลูก และแนวทางแก้ไขปัญหา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำชุมชน และอาสาสมัครในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนดอนทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก  ประกอบด้วยหมู่ที่  1, 2, 3 ,4, 5, 6,7 และ12   การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา โดยใช้แบบสำรวจและกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาแบบมีส่วนร่วม(AIC) โดยทีมวิจัยร่วมกับชุมชนวิเคราะห์สภาพปัญหา ร่วมกันกำหนดมาตรการและแนวทางแก้ไข เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม  ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ ตุลาคม 2547 ถึง ตุลาคม 2548 ผลการศึกษาพบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 40 45 50 55 60 ปี  เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปี 2547 และ 2548  คิดเป็นร้อยละ 82.6  และร้อยละ 100  ตามลำดับ มีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4  มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก 3 ราย ผู้ป่วยระยะลุกลาม 2 ราย ขาดการรักษาต่อเนื่อง 1 ราย และผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกไม่ไปรับการรักษาต่อ 1 ราย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีความรู้ความเข้าใจไม่ถูกต้อง ความอาย กลัวเจ็บ ไม่ทราบว่าศูนย์สุขภาพชุมชนดอนทองตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ และชุมชนได้รวมอาสาสมัครเพื่อควบคุมป้องกันและหาแนวทางแก้ไขปัญหามะเร็งปากมดลูกขึ้นโดยมีอาสาสมัครจำนวน 165 คนและได้ร่วมกันสร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหาขึ้น และเมื่อปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ พบว่าปัญหาลดลง สตรีกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกคน ผู้ที่พบความผิดปกติและผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ : การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, อาสาสมัคร , ศูนย์สุขภาพชุมชน, สตรีกลุ่มเป้าหมาย

จาก : ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยานเรศวรการประชุมสัมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 2/2549 "มหกรรมสุขภาพชุมชน" 14 July 2006, ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยานเรศวร, หน้า 55

รางวัลยอดเยี่ยมการนำเสนอด้วยวาจา (The best of Oral presentation)

หมายเลขบันทึก: 71853เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอแสดงความยินดีและชื่นชมผลงานของทีมด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์วัลลา

นวรินทร์ ตอบแทนคุณ

ขอชื่นชมในผลงานและขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ ทำงานอยู่โรงพยาบาลและรับผิดชอบเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสนใจในงานวิจัยนี้มากไม่ทราบว่าถ้าจะขอดูรายละเอียดงานวิจัยเพื่อจะนำมาพัฒนาใช้กับพื้นที่ของตนเอง จะดูได้ไหมและสามารถเข้าไปดูได้ที่ไหนคะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท