วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ (KM) งานวิชาการ ปีการศึกษา 2566 ประเด็น “การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล”


การแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้  (KM) งานวิชาการ ปีการศึกษา 2566 ประเด็น
“การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทาง จริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล” 

วันที่ 18 มกราคม 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ. ห้อง ห้องประชุมพวงผกา อาคารเรียน 1 ชั้น 6

วิทยากร

ผศ.ดร.กมลพร แพทย์ชีพ

ผศ.ดร.นงนุช วงศ์สว่าง

ผศ.กัลยา ศรีมหันต์

อาจารย์กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ 

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ “การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล” โดย ผศ.ดร.อัศนี วันชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช กล่าวถึงทิศทางในการนำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลเพื่อให้วิทยาลัยพยาบาลได้รับรางวัลระดับสถาบัน ต่อไป

ประเด็นที่ 1 แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ผศ.ดร.กมลพร  แพทย์ชีพ กล่าวถึงแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางจริยธรรม 6+4  ได้แก่

หลักจริยธรรม 6 ข้อ ได้แก่  

  1. Autonomy  (เอกสิทธิ์)
  2. Beneficence  (ประโยชน์เกื้อกูล)
  3. Nonmaleficence  ( ไม่ทำอันตราย)
  4. Justice  (ยุติธรรม)
  5. Veracity  (บอกความจริง)
  6. Fidelity  (ชื่อสัตย์)

แนวคิดจริยธรรม 4 ข้อ ได้แก่

  1. Advocacy (การทำหน้าที่แทน)
  2. Responsibility (ความรับผิดชอบ)
  3. Cooperation (ความร่วมมือ)
  4. Caring (ความเอื้ออาทร)

     โดยมีแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกจริยธรรมเพื่อขับเคลื่อนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี สู่การเป็นองค์กรคุณธรรม ภายใต้แนวคิด SRI BCNR Model มี 5 แนวทางคือ   
    1. การพัฒนาบรรยากาศจริยธรรมในการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิด SRI BCNR  โดยการอบรมให้ความรู้สมรรถนะจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลให้แก่ อาจารย์  อาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก อาจารย์พี่เลี้ยงใหม่ และบุคลากร  ได้แก่ 
         1.1 อาจารย์  ผ่านการอบรมและมีความรู้สมรรถนะจริยธรรมทางการพยาบาล สมรรถนะการสอนจริยธรรม และ SRI BCNR  ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้จริยธรรมให้กับอาจารย์ เช่น ให้อาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมอบรมคุณธรรมกับโครงการ “ แก้วกัลยาสิกขาลัย” สร้างสมรรถนะจริยธรรมให้กับอาจารย์ก่อน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักศึกษามีจริยธรรม  
        1.2 อาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก จัดอบรมและให้ความรู้สมรรถนะจริยธรรมทางการพยาบาล เพื่อให้พี่เลี้ยงแหล่งฝึก (หลักสูตร 5 วัน)  เพื่อให้ อาจารย์พี่เลี้ยงมีสมรรถนะจริยธรรมและสามารถร่วมสอนในการพัฒนาจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพยาบาล ให้มีพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาล 
        1.3 อาจารย์พี่เลี้ยงใหม่ มีแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาอาจารย์ใหม่ จัดอบรมและให้ความรู้สมรรถนะจริยธรรมทางการพยาบาล เพื่อให้พี่เลี้ยงแหล่งฝึกสามารถร่วมสอนและพัฒนาจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพยาบาล ให้มีพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาล 
        1.4  บุคลากร จัดอบรมการความรู้ด้ายจริยธรรมให้บุคลากร มีความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์คุณธรรม  SRI BCNR   
    2. พัฒนาบรรยากาศจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนภายใต้หลักจริยธรรมแนวคิดจริยธรรมทางการพยาบาล ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์กรณีศึกษาทางจริยธรรม ให้แก่นักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี  ดังนี้

  • ชั้นปีที่ 1 ให้ความรู้พื้นฐาน ด้านจริยธรรม ทั่วๆไป
  • ชั้นปีที่ 2 ส่งเสริมจริยธรรม (3Rs = Right thought, Right speech, Right action)
  • ชั้นปีที่ 3 ส่งเสริมพฤติกรรม (3Rs)  และตัดสินใจประเด็จจริยธรรมไม่ซับซ้อน
  • ชั้นปีที่ 4 พฤติกรรมจริยธรรม (3Rs)  และตัดสินใจประเด็จจริยธรรมไม่ซับซ้อน และ SRI BCNR  (จริยธรรมประจำสถาบัน

     3. การพัฒนาหน่วยงานสีเขียวด้วยหลักจริยธรรมสิ่งแวดล้อมและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     4. จัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมในหลักสูตร  โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ในแต่ละเนื้อการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา โดยการแบ่งเป้าหมายของแต่ละชั้นปี โดยตั้งวัตถุประสงค์ของรายวิชา (PLOs ) ให้บรรลุจุดประสงค์การพัฒนาจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี 
      5.จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรูปแบบกิจกรรมครอบครัวคนดี BCNR ,สโมสรนักศึกษา,และพัฒนาแกนนำจริยธรรม

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน มี 4 กลยุทธ์ ได้แก่

  • กลยุทธ์ที่ 1 สร้างเสริมสมรรถนะจริยธรรมของอาจารย์ และบุคลากร สายสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนระบบและกลไกจริยธรรมของวิทยาลัย 
  • กลยุทธ์ที่ 2 สร้างเสริมพฤติกรรมและสมรรถนะจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล 
  • กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างบรรยากาศจริยธรรมในวิทยาลัย
  • กลยุทธ์ที่ 4 ยกระดับคุณภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยด้วยหลักจริยศาสตร์  สิ่งแวดล้อม และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล มี 4 กระบวนการและ ใช้หลัก PDCA ทุกกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้

  1. Input ให้ความรู้ด้านสมรรถนะจริยธรรมทางการพยาบาล, สมรรถนะการสอนจริยธรรม และอัตลักษณ์คุณธรรม
  2. Process การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอนเสริมหลักสูตร
  3. Output สมรรถนะจริยธรรมทางการพยาบาลเพียงพอต่อการปฏิบัติการพยาบาล , อัตลักษณ์คุณธรรม
  4. Impact คุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล และความพึงพอใจไม่มีข้อร้องเรียน

เป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะจริยธรรมนักศึกษาพยาบาลของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  ราชบุรี คือ SRI  ให้มีอัตลักษณ์ติดตัวนักศึกษา  ได้แก่ 
S=Service mind  มีจิตบริการ 
R=Responsibility and Accountability รับผิดชอบต่อหน้าที่และรับผิดชอบต่อผลของการปฏิบัติหน้าที่
I= Integrity ชื่อสัตย์และยึดมั่นในความดี

จัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมในหลักสูตรพยาบาลศาสตบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ ส่งเสริมจริยธรรม ดังตัวอย่างด้านล่าง

PLO1: ประยุกต์ความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการให้บริการสุขภาพทุกช่วงวัยในภาวะปกติและเจ็บป่วย 

  • SubPLO1.1: ใช้ความรู้ทางการพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการแบบองค์รวมด้วยหัวใจความ เป็นมนุษย์ตามเกณฑ์มาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ 
  • SubPLO1.2: ใช้ความรู้ทางการผดุงครรภ์ในการดูแลผู้รับบริการแบบองค์รวมด้วยหัวใจความ เป็นมนุษย์ตามเกณฑ์มาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ 
  • SubPLO1.3: ใช้ความรู้พื้นฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้รับบริการ

PLO2: ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการพยาบาล บนหลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงความปลอดภัย การใช้ยา สมเหตุผล ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภายใต้กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
PLO3: แสดงออกถึงพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติที่ดีต่อ วิชาชีพ และการปกป้องสิทธิผู้รับบริการ 

  • SubPLO 3.1: แสดงออกถึงพฤติกรรม ด้านคุณธรรม ตามอัตลักษณ์คุณธรรมของสถาบันพระบรมราชชนก :  วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที

PLO4: แสดงออกถึงการคิดขั้นสูงในการตัดสินใจ แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ 
 

         จากตัวอย่างวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล  ทางกลุ่มงานวิชาการได้นำมากำหนดเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะจริยธรรมนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ ระดับสมรรถนะและอัตลักษณ์สำหรับนักศึกษาพยาบาล  คือ 

1. ระดับสมรรถนะจริยธรรม 3 ระดับ 

1.1 พฤติกรรมจริยธรรม 3 R (right thought, Right speech and right action 
1.2 สมรรถนะการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ทั้งซ้อนและไม่ซับซ้อน 
1.3 สมรรถนะจริยธรรมของผู้นำในการพยาบาล
2. อัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาล
2.1 อัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลบัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก ให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับของ สบช ได้แก่ วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ กตเวที
2.2 มีอัตลักษณ์ติดตัวนักศึกษา SRI  ได้แก่ 
S=Service mind มีจิตบริการ 
R=Responsibility and Accountability  รับผิดชอบต่อหน้าที่และรับผิดชอบต่อผลของการปฏิบัติหน้าที่
I= Integrity ชื่อสัตย์และยึดมั่นในความดี

เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนจริยศาสตร์ทางการพยาบาล ปีการศึกษา 2565 และ 2566 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี มีแนวทางแยกเป็นแต่ละชั้นปีดังนี้
ชั้นปีที่ 1:  ให้ความรู้เกี่ยวกับ คุณธรรม จริยธรรมพื้นฐาน Ethical Concern และ SRI BCNR
ชั้นปีที่ 2:  ให้บอกถึงพฤติกรรมจริยธรรม (3Rs) และ SRI BCNR
ชั้นปีที่ 3: ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมจริยธรรม (3Rs) การตัดสินใจ ประเด็นจริยธรรมไม่ซับซ้อน และ SRI BCNR
ชั้นปีที่ 4: ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมจริยธรรม (3Rs) การตัดสินใจ ประเด็นจริยธรรมไม่ซับซ้อน และ SRI BCNR

การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่นักศึกษาแต่ละชั้นปี จำแนกกิจกรรมการให้ความรู้ดังนี้ 

  • ชั้นปีที่ 1 สร้างรัก ศรัทธาในวิชาชีพ
  • ชั้นปีที่ 2 สร้างแรงบันดาลใจพัฒนาจริยธรรม
  • ชั้นปีที่ 3 นำพาสู่เป้าหมายการเรียนพยาบาล
  • ชั้นปีที่ 4 เสริมพลังใจเตรียมความพร้อมวัยทำงาน

ประเด็นที่ 2 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทาง จริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลในสาขาวิชาต่างๆ 

ผศ.ดร นงนุช วงศ์สว่าง ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วยเครื่องมือและสื่อ/แบบประเมิน  

  1. กรณีศึกษาที่ไม่ซับซ้อน จากการปฏิบัติการพยาบาล
  2. แบบบันทึกผลการสรุปวิเคราะห์สมรรถนะทางการพยาบาล

ตัวอย่างแนวทางในการจัดกิจกรรมวิชาทฤษฎีและทดลองทางการพยาบาล
หลักคิด : กำหนดหัวข้อการสอนที่นักศึกษามีโอกาสพบได้บ่อย ในการขึ้นฝึกปฏิบัติงาน และสอดคล้องกับบริบทรายวิชา

ตัวอย่างวิชา: การพยาบาลพื้นฐาน
CLO: 1.1.6 อธิบายกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิผู้ป่วย 
1.1.9 ฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จำ ลองแบบองค์รวมตามเกณฑ์ มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
กำหนดหัวข้อการสอน: “จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล” 
ประเด็นจริยธรรม: หลักจริยธรรม และแนวคิดจริยธรรมทางการพยาบาล (6+4) 
วิธีการสอน: Interactive Lecture/ Case Based Learning (ทฤษฎี) Demonstration (ทดลอง)
การวัดและประเมินผล: การสอบ/การสอบทักษะในสถานการณ์จำลอง

ตัวอย่างวิชา: สูติศาสตร์ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 1 
CLO: ปฏิบัติการพยาบาลมารดา และทารกในระยะคลอดได้อย่างมีจริยธรรม 
หัวข้อการสอน: จริยธรรมกับการพยาบาลมารดา และทารกในระยะคลอด 
ประเด็นจริยธรรม: Respect for Autonomy/Beneficence/Non-maleficence 
วิธีการสอน: Case study 
การวัดประเมินผล: ประเมินกรณีศึกษา
ดร.เบญจมาภรณ์  นาคามดี กล่าวถึงแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของสาขาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ โดยการยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่พบในแผนกฝากครรภ์และให้นักนึกศึกษาช่วยการวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรม 

ตัวอย่างวิชา: ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน 2 
CLO: ปฏิบัติกระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชนร่วมกับชุมชนได้อย่างมี จริยธรรม 
กำหนดหัวข้อการสอน: จริยธรรมกับการทำ งานร่วมกับชุมชน 
ประเด็นจริยธรรม: Respect for Autonomy/Beneficence/ Advocate/Co operation 
วิธีการสอน: Ethical Reflection 
การวัดประเมินผล: ประเมินการสะท้อนคิด
อาจารย์ศุภวรรน ยอดโปร่ง กล่าวถึงประเด็นการจัดกิจกรรมของภาควิชาโดยการวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรม การจัดการความเสี่ยงทางจริยธรรม เมื่อนักศึกษาได้พบขณะฝึกภาคปฏิบัติจากนั้นนำมาสะท้อนคิดทางจริยธรรม  โดยให้ใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายและถอดบทเรียนภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม

อาจารย์กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ ตัวอย่างแนวทางในการจัดกิจกรรมวิชาจิตเวชและสุขภาพจิต
วิชา: ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวช 
CLO: ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชได้อย่างมีจริยธรรม 
กำหนดหัวข้อการสอน: จริยธรรมในการผูกยึดผู้ป่วยจิตเวช 
ประเด็นจริยธรรม: Respect for Autonomy/Beneficence/ Non-maleficence/Caring 
วิธีการสอน: Case Study 
การวัดประเมินผล: ประเมินกรณีศึกษาทฤษฏีและทดลองทางการพยาบาล
ดร.สุภาณี คลังฤทธิ์ นำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ การบอกความจริง การพยาบาลไม่รู้สึกตัว การฟื้นคืนชีพ การวิกฤต มะเร็ง และในรายวิชาการพยาบาลสูงอายุ เจตคติในการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ ระยะสุดท้าย

ผศ.กัลยา ศรีมหันต์ ยกตัวอย่าง การดำเนินกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรูปแบบกิจการนักศึกษา  โดยจัดกิจกรรมจำแนกในแต่ละชั้นปี ดังนี้ 

  • ชั้นปี 1: สร้างรัก ศรัทธาในวิชาชีพ
  • ชั้นปี 2: สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาจริยธรรม
  • ชั้นปี 3: นำ พาสู่เป้าหมาย การเรียนพยาบาล
  • ชั้นปี 4: เสริมพลังใจ เตรียมความพร้อมวัยทำงาน

ประเด็นที่ 3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางจริยธรรมของ นักศึกษาพยาบาล

เป้าหมายสู่ความสำเร็จในการสิ่งเสริมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพยาบาล

  1. ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันเห็นความสำคัญ  กำหนดนโยบายชัดเจนและผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณะจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพยาบาล    
  2. ในสถาบันมีแกนนำหรือคณะกรรมการ มีความมุ่งมั่นช่วยเหลือขับเคลื่อนองค์กรในการส่งเสริม    คุณลักษณะแนวคิดในการแสดงความคิดเห็นเชิงจริยธรรม
  3. จัดกิจกรรมขับเคลื่อนทั้งองค์กรในการส่งเสริมคุณลักษณะจริยธรรมให้แก่นักศึกษาพยาบาล
  4. การเลือกขับเคลื่อนทั้งองค์กร เกิดการมีส่วนร่วม
     

ดร.ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี  กล่าวถึงระบบกลไกของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ได้จัดระบบและกลไกในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จโดยผ่านการทำงานในรูปแบบของคณะกรรมจริยธรรมของวิทยาลัยที่มีคณะอนุกรรมการแต่ละด้าน คือ วิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ บริหารและกิจการนักศึกษา

ผศ.ดร. กมลพร แพทย์ชีพ ได้กล่าวถึง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
วิทยากรกล่าวว่าในช่วงแรกๆ พบอุปสรรคในการดำเนินงานเกิดจาก ปัจจัย 2 ประเด็นคือ 

  1. ขาดความรู้ ความเข้าใจ จริยธรรมทางการพยาบาล การจัดการเรียนการสอนจริยธรรม
  2. ทัศนคติต่องานจริยธรรม: Comfort Zone การสอนแบบเดิม/เป็นภาระที่เพิ่มขึ้น
หมายเลขบันทึก: 717478เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2024 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2024 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
ดร.เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

การแลกเปลี่ยนกับวิทยากร ในประเด็น “การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะทาง จริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล” ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้เกือบทุกกิจกรรม ผู้สอนสามารถทำหน้าที่ facilitator ได้ตามหลักของDECID MODEL ที่พุทธชินราชใช้อยู่ และเพื่อให้มีพื้นฐานของจริยธรรม6+4 ในการนำไปใช้วิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมในกิจกรรม/สถานการณ์ต่างๆเบื้องต้นควรเผยแพร่ในรูป infograhic หรือควรบรรจุไว้ในคู่มือภาคปฏิบัติในทุกรายวิชาเพื่อให้ เห็นบ่อย ทำบ่อย จนเป็นนิสัยได้

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

ได้เเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมให้เกิดกับนักศึกษา โดยยึกหลักจริยธรรม 6 ข้อ และแนวคิดจริยธรรม 4 ข้อ อีกทั้งได้เห็นบทบาทของครูผู้สอนที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีความไวทางจริยธรรม และการตัดสินใจปฏิบัติทางจริยธรรมที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังได้เห็นรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่นักศึกษาแต่ละชั้นปีที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ดียิ่งขึ้น

ได้แนวปฏิบัติการนำคุณธรรมจริยธรรมไปสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เห็นบทบาทของอาจารย์ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาบรรลุผลลัพธ์และเกิดคุณธรรมจริยธรรมในการตัดสินใจขณะปฏิบัติงานมากขึ้น

อ.จิตตระการ ศุกร์ดี

มีความชัดเจนในการนำประเด็นคุณธรรม จริยธรรมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เพิ่มมากขึ้น

ได้เเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมให้เกิดกับนักศึกษา โดยยึกหลักจริยธรรม 6 ข้อ และแนวคิดจริยธรรม 4 ข้อ ซึ่งได้ทบทวนอีกครั้ง และได้เห็นบทบาทของครูผู้สอนที่ชัดเจนมากขึ้นว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นหลักจริยธรรม 6+4

ได้เเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักจริยธรรม 6 ข้อ แนวคิดจริยธรรม 4 ข้อ รวมทั้งอัตลักษณ์คุณธรรมของวิทยาลัย และที่สำคัญผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนรวมทั้งปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาได้เห็นและเลียนแบบ เพื่อให้นักศึกษามีความไวทางจริยธรรม และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เหมาะสม

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

ได้เเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมให้เกิดกับนักศึกษา โดยยึกหลักจริยธรรม 6 ข้อ และแนวคิดจริยธรรม 4 ข้อ ได้ตัวอย่างแนวทางวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณธรรมจริยธรรม

จันทร์จิรา อินจีน

เป็นกิจกรรมที่ดี ส่งผลให้เกิดการเข้าใจในการพัฒนาจริยธรรมในนักศึกษาเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถเป็นแนวทางในการนำมาพัฒนาการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบต่อไป

ได้เเนวปฏิบัติทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในคลินิกแก่นักศึกษาพยาบาล โดยยึดหลักจริยธรรม 6 ข้อ และแนวคิดจริยธรรม 4 ข้อ และตัวอย่างแนวทางวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ชัดเจนขึ้น

เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ดีทำให้เห็นภาพชัดเจนในการที่จะนำ การพัฒนาจริยธรรมสอดแทรกเข้าไปในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท