โครงการการศึกษาและฟื้นฟูสมุนไพรชนเผ่าอาข่า


เป้าหมาย : ศึกษาชนิดยา สรรพคุณ และการใช้สมุนไพรชนเผ่าอาข่า รวมทั้งการจัดกระบวนการเรียนรู้สมุนไพรชนเผ่าอาข่าแก่เด็ก เยาวชน และชาวบ้านผู้สนใจ ทั้งในระดับชุมชนและระหว่างชุมชน

โครงการการศึกษาและฟื้นฟูสมุนไพรชนเผ่าอาข่า

 

๑.  คำสำคัญ :          

 

๒.  จังหวัด :           เชียงราย

 

๓.  กลุ่มเป้าหมาย :  

            กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชน    กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ชาวบ้านทั่วไปในชุมชน โดยดำเนินการในพื้นที่ ๖ ชุมชน ได้แก่ บ้านแสนเจริญเก่า บ้านห้วยน้ำกรืน บ้านผาแดงหลวง บ้านขุนสรวย บ้านอาเค่อ และบ้านแม่จันใต้

 

๔.  เป้าหมาย :  

            ศึกษาชนิดยา สรรพคุณ และการใช้สมุนไพรชนเผ่าอาข่า รวมทั้งการจัดกระบวนการเรียนรู้สมุนไพรชนเผ่าอาข่าแก่เด็ก เยาวชน และชาวบ้านผู้สนใจ ทั้งในระดับชุมชนและระหว่างชุมชน

 

๕.  สาระสำคัญของโครงการ :

               สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับสมุนไพรของชาวอาข่า สามารถสรุปได้ ๓ ประเด็น คือ การพึ่งพาด้านการรักษาพยาบาลของชุมชน, การขาดกระบวนการสืบทอดที่ดี และขาดการรักษาสมุนไพรที่ดีเพื่อให้มีใช้ตลอดไป  ในขณะที่ชุมชนยังมีหมอยาและผู้รู้สมุนไพรอยู่จำนวนหนึ่งที่พร้อมจะสืบทอดความรู้ อีกทั้งในผืนป่าก็ยังมีสมุนไพรหลงเหลืออยู่ เป็นศักยภาพที่สามารถนำมาใช้ทำงานได้

 

๖.  เครื่องมือที่ใช้ :

               การดำเนินงานประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อย ๖ กิจกรรม ๆได้แก่ การประชุมทีมงาน, การศึกษาและทบทวนความรู้เรื่องสมุนไพร, การจัดกระบวนการเรียนรู้สมุนไพรแก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา, การจัดเวทีเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน, การสร้างสวนสมุนไพรในชุมชน และเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องสมุนไพรระหว่างชุมชน

               ทั้งนี้โครงการได้กลยุทธการทำงานที่สำคัญ ๒ ประการ คือ การสร้างความเชื่อมั่นหมอยาและศรัทธาต่อสมุนไพรของชาวบ้าน และการสร้างเงื่อนไขใหม่ที่ช่วยเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ของชุมชน

๗.  การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน :

               ประสานงานโดยหัวหน้าโครงการ และในแต่ละหมู่บ้านจะมีผู้ประสานงานแห่งละ ๒ ๓ คน

 

๘.  ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :

               ระยะเวลาดำเนินงาน ๑ ปี ระหว่าง ๑ กันยายน ๒๕๔๖ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗

 

๙.  การประเมินผลและผลกระทบ :

               โครงการไม่มีการประเมินผลหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบผลการดำเนินงานที่สำคัญของโครงการ ได้แก่ การเพิ่มช่องการถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพร, ความเชื่อมั่นในการรักษาแบบพื้นบ้าน, ลดช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่, เอกสารรวบรวมความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรอาข่า

 

๑๐. ความยั่งยืน

               หลังโครงการสิ้นสุดลง ในพื้นที่ทำงานมีความต่อเนื่องต่อ ได้แก่การดูแลป่าเพื่อรักษาสมุนไพรของชาวบ้านในชุมชน, การปลูกสมุนไพรที่ใช้บ่อยบางชนิดในพื้นที่แปลงผักสวนครัวข้างบ้าน, มีการเผยแพร่และขยายผลความรู้สมุนไพรอาข่าที่ได้จากการศึกษาของโครงการ ฯลฯ

 

๑๑. จุดแข็งและอุปสรรค

               ความตั้งใจและเอาจริงเอาจังของผู้ประสานงานและแกนนำ รวมทั้งการออกแบบโครงการที่มีการวิเคราะห์ทั้งส่วนที่เป็นปัญหาและศักยภาพของชุมชน เป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานโครงการประสบความสำเร็จ

 

๑๒.                 ที่ติดต่อ :

               ศูนย์กลางการเรียนรู้และฟื้นฟูวัฒนธรรมชนเผ่าอาข่า

               ตู้ ปณ ๓๒ ต.แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

 

คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพร
หมายเลขบันทึก: 71625เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท