โครงการ สจพ.ปลอดควันบุหรี่


เป้าหมาย : สร้างนักศึกษาแกนนำ และแนวร่วมในการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคยาสูบ รวมถึงกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรื่องพิษภัยของควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่แก่นักศึกษาทั่วไป และผู้ติดบุหรี่ทั่วไป
โครงการ สจพ.ปลอดควันบุหรี่ 

1.      คำสำคัญ : การรณรงค์ ,ลดปัจจัยเสี่ยง,บุหรี่

 

2.      จังหวัด : กรุงเทพมหานคร

 

3.      กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และกลุ่มเพื่อนต่างสถาบัน

 

4.      เป้าหมาย : สร้างนักศึกษาแกนนำ และแนวร่วมในการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคยาสูบ รวมถึงกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรื่องพิษภัยของควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่แก่นักศึกษาทั่วไป และผู้ติดบุหรี่ทั่วไป

 

5.      สาระสำคัญของโครงการ : เกิดจากนักสร้างเสริมสุขภาพมือใหม่ที่ชื่อ  นวพล สมยา

      นนทนากุล  สาขาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระ            จอมเกล้าพระนครเหนือ   ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมเข้าร่วมโครงการมหานครสดใส เยาวชนรุ่น         ใหม่ ห่างไกลบุหรี่ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่มีพี่ชายของเขา นพดล  สมยา

      นนทนากุล เป็นแกนนำ เมื่อปี 2547  หลังจากกลับจากการเข้าร่วมโครงการ ก็ได้มี        ความคิดที่อยากจะทำบ้าง เพราะสภาพแวดล้อมที่เรียนอยู่ ก็มีสภาพไม่แตกต่างกันคือ      ภาพของเพื่อนนักศึกษาที่มีการสูบบุหรี่กันมาก ประกอบกับมีพื้นฐานทางครอบครัว     ที่          พ่อ แม่ ไม่สูบบุหรี่ และดื่มเหล้า เช่นเดียวกับพี่ชาย ทำให้เกิดความคิดว่าทำอย่างไรถึง   จะแก้ปัญหานี้ได้ ทั้งที่ตัวเองไม่มีประสบการณ์ในการทำโครงการใดมาก่อน การได้เห็น   และได้รับรู้ถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการจึง เป็นแรงเสริมให้มีความคิดเรื่องการขอ        ทุน ปรึกษาเพื่อนๆที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน การขอทุนจึงเกิดขึ้นโดยยึดรูปแบบที่พี่ชาย  วางไว้เป็นต้นแบบของโครงการคือ การคิดรูปแบบที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาที่          เป็นสิ่งที่สำคัญ

 

6.      เครื่องมือที่ใช้ : รูปแบบกิจกรรมที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย คือ ได้ทั้งความรู้ และความสนุก ในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ 1. การจัดกระบวนการให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ และแนวทางการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ เช่นมีการจัดการบรรยาย และออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่  2. การรณรงค์ และมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นการรณรงค์ เพื่อชักจูงให้เข้าโครงการ อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของพิษภัยการสูบบุหรี่

                  โดยทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะมีการวางแผนหรือออกแบบให้เข้ากับความสนใจของ           นักศึกษาเป็นประการแรก เน้นให้ความสนุก แล้วสอดแทรกวิชาการเข้าไป

 

7.      การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน : โครงการนี้เป็นโครงการที่เกิดจากการคิดของนักศึกษาเอง อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก และเป็นที่ปรึกษา ที่คอยช่วยประสานกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังประสานการทำงานไปยังเพื่อนต่างสถาบันอีกด้วย เพื่อเพิ่มความหลากหลาย โดยกระบวนการทำงานเน้นการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อชักชวนให้เข้าโครงการ โดยมีกิจกรรมที่ออกแบบให้ตรงวัย และตรงใจ กลุ่มนักศึกษาที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่

 

8.      ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :  นักศึกษานักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดำเนินการ 1 กันยายน-30 พฤศจิกายน 2548

 

 

9.      การประเมินผลและผลกระทบ : ในโครงการมีการออกแบบการประเมินผลในรูปการวัดความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของบุหรี่ก่อน และหลังเข้าโครงการพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ และความเข้าใจที่มากขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับผู้สูบบุหรี่ และยังส่งผลถึงผู้ใกล้เคียงอีกด้วย ซึ่งบางพฤติกรรมได้จากการสังเกต และนอกจากนี้ยังมีผลต่อแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อเรื่องการสูบบุหรี่ของนักศึกษาอีกด้วย เช่น การกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ และห้ามสูบที่ชัดเจน

 

10.  ความยั่งยืน : จากการลงพื้นที่ศึกษาพบว่าเนื่องจากเป็นโครงการเพียงปีเดียวเมื่อจบโครงการไม่ได้ขอต่อ กิจกรรมแบบในโครงการจึงไม่ปรากฏ แต่ที่ยังคงอยู่คือเรื่องสถานที่ที่มีการกำหนดเขตการสูบบุหรี่ที่อย่างชัดเจน

 

11.  จุดแข็ง และอุปสรรค : จุดแข็งของโครงการอยู่ที่เป็นโครงการที่ออกแบบไว้ดีแล้ว และผู้รับผิดชอบโครงการคือนายนวพลพดล สมยานนทนากุล ได้มีโอกาสเข้าร่วมมาแล้วทำให้มีประสบการณ์ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าผลสำเร็จอาจแตกต่างกัน ส่วนเรื่องอุปสรรคยังคงเป็นเรื่องงบประมาณของโครงการที่เบิกจ่ายไม่พอดีกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น

 

12.  ที่ติดต่อ : นายนวพล สมยานนทนากุล  089-1367696

 

หมายเลขบันทึก: 71620เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท