โครงการสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข


เป้าหมาย : เพื่อแนะนำให้นักศึกษารู้ถึงวิธีการเตรียมพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจก่อนสอบโดยไม่ให้เกิดความเครียด และรู้ถึงการเรียนที่ถูกวิธี เพื่อเป็นการป้องกันนักศึกษาที่อาจจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี อันเนื่องมาจากความเครียด เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และใช้ยาเสพติด

โครงการสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข

 

1.      คำสำคัญ : การรณรงค์ ,สุขภาพจิตดี,สุขภาวะ

 

2.      จังหวัด : กรุงเทพมหานคร

 

3.      กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และกลุ่มเพื่อนต่างสถาบันที่ไม่พอใจในผลการเรียนของตนเองจนเกิดความเครียด หรือมีผลการเรียนที่ไม่ดี โดยคัดเลือกจากแบบสอบถาม และแบบสำรวจความเครียด

 

4.      เป้าหมาย : เพื่อแนะนำให้นักศึกษารู้ถึงวิธีการเตรียมพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจก่อนสอบโดยไม่ให้เกิดความเครียด  และรู้ถึงการเรียนที่ถูกวิธี เพื่อเป็นการป้องกันนักศึกษาที่อาจจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี อันเนื่องมาจากความเครียด เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และใช้ยาเสพติด

 

5.      สาระสำคัญของโครงการ : จุดเริ่มของโครงการเริ่มจากชมรมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่มี นพดล สมยานนทนากุล นักศึกษาสัตวแพทย์ ชั้นปีที่ 5 เป็นประธาน และมีประสบการณ์ที่เคยทำโครงการร่วมกับ สสส.มาแล้วครั้งหนึ่ง (โครงการมหานครสดใส เยาวชนห่างไกลบุหรี่ปี2547) เล็งเห็นว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาหันมาสูบบุหรี่  และดื่มเหล้าคือ ความเครียด ซึ่งความเครียดส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเรียน ที่หนัก และเป็นปัญหาสำหรับบางคนโดยเฉพาะนักศึกษาที่มุ่งเน้นผลเลิศทางวิชาการเพียงอย่างเดียว เมื่อหาทางออกไม่ได้  ทางออกหนึ่งสำหรับการคลายเครียดคือ บุหรี่ เหล้า ซึ่งนภดลมองว่า จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่สิ่งเสพติดอย่างอื่นต่อไปได้ การลดความเครียดอย่างถูกวิธีคือ ทางออกของปัญหาดังกล่าว ดังนั้น โครงการสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุขจึงเกิดขึ้น ซึ่งการการทำโครงการในครั้งนี้จึงเป็นเสมือนโครงการที่เสริมแรงอีกทางหนึ่ง ไม่ยาก และไม่ง่าย เกินความสามารถสำหรับเขา และเพื่อนพ้องน้องพี่ที่มีแนวร่วมความคิดเดียวกันในการทำงาน

 

6.      เครื่องมือที่ใช้ :การทำกิจกรรมแบบการมีส่วนร่วม โดยมีการออกแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลายให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย ให้มากที่สุด เช่น กิจกรรมกีฬา กิจกรรมดนตรี กิจกรรมติวเข้มก่อนสอบ กิจกรรมค่ายคลายเครียด เป็นต้น โดยแต่ละกิจกรรมจะสอดแทรกทั้งกระบวนการให้ความรู้เรื่องของสุขภาพจิตที่ดี และความสนุก

                  โดยทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะมีการวางแผนหรือออกแบบให้เข้ากับความสนใจของ           นักศึกษาเป็นประการแรก และสามารถเข้าถึงให้ได้มากที่สุด

 

7.      การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน : โครงการนี้เป็นโครงการที่ให้ความสำคัญในการออกแบบโดยเน้นการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจัดกิจกรรมให้ได้ตรงความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ได้มากที่สุด

 

8.      ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :  นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร  ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2548

 

9.      การประเมินผลและผลกระทบ : ในโครงการมีการออกแบบการประเมินผลในรูปการประเมินสุขภาวะจิตก่อน และหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยดูจากแบบวัดความเครียดสวนปรุง โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข  และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ส่วนผลกระทบด้านอื่นจากการลงศึกษาพื้นที่แสดงผลไม่ชัดเจน

 

10.  ความยั่งยืน : จากการลงพื้นที่ศึกษาพบว่าเนื่องจากเป็นโครงการเพียงปีเดียวเมื่อจบโครงการไม่ได้ขอต่อ กิจกรรมแบบในโครงการไม่ปรากฏ

 

11.  จุดแข็ง และอุปสรรค : จุดแข็งของโครงการอยู่ที่มีการออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายให้กลุ่มเป้าหมายได้เลือกทำ  และมีการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนอุปสรรคยังคงเป็นเรื่องงบประมาณของโครงการที่เบิกจ่ายที่ไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมที่เกิดขึ้น

 

12.  ที่ติดต่อ : นายนพดล สมยานนทนากุล  081-8026605

 _
หมายเลขบันทึก: 71621เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุขภาพจิตดีชีวีมีสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท