โครงการค่ายพัฒนาสุขภาพชีวจริต “ยุวชนโพธิสัจ”


เป้าหมาย : ต้องการให้เยาวชนเรียนรู้และทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการใช้ความคิดและจินตนาการ ในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง (active learning) โดยมีการสอดแทรกเนื้อหาสาระ ที่เป็นศีลธรรมจรรยา วิถีชีวิตที่ห่างไกลยาเสพติด ทั้งเหล้า บุหรี่ อาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งฝึกให้เด็กเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม ฝึกทำงานเป็นทีม และการเป็นคนดี เสียสละเพื่อสังคม
 โครงการค่ายพัฒนาสุขภาพชีวจริต ยุวชนโพธิสัจ 

1.      คำสำคัญ        : ค่าย เด็กและเยาวชน รณรงค์ต้านบุหรี่

 

2.      จังหวัด : มหาสารคาม

 

3.      กลุ่มเป้าหมาย  : เด็กและเยาวชนระดับชั้น ประถม 4 – มัธยม 2

 

4.   เป้าหมาย        : ต้องการให้เยาวชนเรียนรู้และทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการใช้ความคิดและจินตนาการ ในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง (active learning) โดยมีการสอดแทรกเนื้อหาสาระ ที่เป็นศีลธรรมจรรยา วิถีชีวิตที่ห่างไกลยาเสพติด ทั้งเหล้า บุหรี่ อาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่าง ๆ  รวมทั้งฝึกให้เด็กเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม ฝึกทำงานเป็นทีม และการเป็นคนดี เสียสละเพื่อสังคม

 

5.   สาระสำคัญของโครงการ  : มูลนิธิมหาญาณโพธิสัจ มีการจัดค่ายมาก่อนหน้าที่จะขอทุน สสส. เป็นการเข้าค่ายแบบ 3 วัน และมาค้างคืนที่วัด รวมทั้งค่ายแบบไปกลับ เรียกว่า ค่ายชีวจริต คือค่ายที่พูดถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงได้ ชีวิตที่แก้ปัญหาได้ด้วยความคิด (ชีวะ คือร่างกาย จริต คือ จิต + ความคิด) เมื่อมาค่ายจะเป็นการจำลองชีวิตที่เปลี่ยนแปลงได้ (ในช่วงที่อยู่ค่าย) คือก่อนมาค่ายจะเป็นอย่างไรมาก็ช่าง มาแบบโล่ง ไม่มีอะไรติดตัวมา แต่มาที่นี่ทุกคนจะอยู่แบบเดียวกัน มาเรียนรู้จากที่นี่ จากสิ่งที่มี ให้หัดฝืนใจตัวเอง เน้นการกินอยู่อย่างเรียบง่าย เช่น สมุนไพร ไม่กินอาหารแปลกปลอม ฝึกสมาธิ เป็นต้น โดยที่มาของการจัดค่ายแบบนี้มาจากการที่ญาปู่เคยเป็นเด็กเกเร และไม่อยากให้เด็กรุ่นใหม่หลงไปกับอบายมุข จึงมุ่งให้เด็กคิดได้ก่อนที่จะเสียคน หรือเด็กที่เสียคนไปแล้วก็สามารถกลับตัวได้ โดยญาปู่จะเล่าประสบการณ์พฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเองเป็นตัวอย่าง และทำให้เห็นว่าทุกคนสามารถปรับตัวเป็นคนดีได้

เมื่อได้รับทุนจาก สสส. ได้มีการปรับกิจกรรมมาเป็นค่ายแบบวันเดียว ไป กลับ เรียกว่า ร้อง เล่น ละเลง เล่า สอดแทรกมิติเรื่องสุขภาพ และให้เด็กห่างไกลยาเสพติด โดยเฉพาะบุหรี่ และเพิ่มกิจกรรมการณรงค์เรื่องบุหรี่ เช่น จัดบอร์ด ทำแผ่นพับ ทำป้ายผ้า ใบปลิวเพื่อจัดนิทรรศการในวันงดสูบบุหรี่โลกด้วย

6.   เครื่องมือที่ใช้ : กิจกรรมหลักคือให้ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเข้าค่าย แต่จะมีกิจกรรมและจัดกระบวนการเรียนรู้กับเด็ก เรื่องของสุขภาพ ยาเสพติด สมุนไพร สมาธิ เรียกว่า ร้อง เล่น ละเลง เล่าทุกครั้งเมื่อจะสอนอะไรญาปู่จะปรับเนื้อหาโดยทำเป็นเพลง (ร้อง) เพื่อให้เขาฝึกร้องให้ติดปากก่อน แม้กระทั่งบทสวดมนต์ก็ยังแต่งเป็นกลอน เด็กร้องเป็นเพลงได้ เพราะฉะนั้นจะจำง่าย พัฒนาง่าย ติดปาก จากนั้นก็จะคิดเกม (เล่น) เพราะธรรมชาติของเด็กคือชอบเล่น พอได้เล่นแล้วจะสนุก สิ่งที่เป็นเนื้อหาก็ถ่ายทอดผ่านการเล่น จะค่อย ๆ ซึมซับไปเอง นอกจากนั้นแล้วยังมีกิจกรรมให้เด็กไประบายสี ทำเป็นภาพ (ละเลง) เพราะจะได้ผลดีกว่าให้เขาเขียนเป็นตัวหนังสือ ส่วนสุดท้าย คือการพูดคุยสิ่งที่เป็นเนื้อหาหนัก ๆ (เล่า) โดยส่วนนี้จะเอาไว้หลังสุด เพราะเด็กชอบน้อยที่สุด

 

7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : ค่าย 1 วันแบ่งเป็น 3 ช่วง คือเรียนรู้สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติวิทยา และพูดคุยก่อนกลับ จะมีเด็กหลายรุ่นที่มาร่วมกิจกรรม บางคนก็มาแล้วมาอีก หลังผ่านการอบรมแล้ว เด็กทุกคนจะได้รับประกาศนียบัตร เอกสารต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้เป็นสมาชิกยุวชนโพธิสัจและเครือข่าย ASMK ทำงานต้านภัยบุหรี่จากทั่วโลก

 

8.      ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการ 1 ปี (15 มกราคม 2548 – 14 มกราคม 2549)

 

9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : โครงการไม่มีการประเมินผลอย่างเป็นทางการ แต่มีการประเมินผลจากการพูดคุยกับผู้ปกครอง ว่าเด็กเปลี่ยนไปหลังมาอยู่ค่าย เป็นเด็กเรียบร้อยขึ้น และปฏิเสธที่จะสนับสนุนผู้ปกครองในการเสพอบายมุข เช่น ไม่ไปซื้อเหล้า / บุหรี่ให้ ร้องเพลงเตือนว่าการสูบบุหรี่/ ดื่มเหล้าเป็นสิ่งไม่ดี เป็นต้น นอกจากนี้มีการพูดคุยกับครูพบว่า เด็กที่เป็นเด็กค่ายจะมีกริยามารยาทเรียบร้อย มีความเป็นผู้นำ และมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนและต่อการดำเนินชีวิต

 

10. ความยั่งยืน     : ปัจจุบันยังคงมีกิจกรรมค่ายอย่างต่อเนื่อง เป็นค่ายครึ่งวันบ้าง 1 วันบ้าง (ซึ่งมีหลักสูตรที่แตกต่างกัน)  และขยายไปทำงานกับเด็กระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น สิ่งที่เป็นความยั่งยืนคือวิธีคิด วิธีมองโลก และการอยู่ร่วมและทำงานกับคนอื่น ๆ ที่ติดตัวเด็กไป เด็กค่ายหลายคนเป็นผู้นำจัดกิจกรรมในโรงเรียนด้วย บางคนเป็นพี่เลี้ยงชวนรุ่นน้องมาเข้าค่ายที่มูลนิธิฯ โดยมีการปรึกษาเนื้อหาของกิจกรรมกับญาปู่ เพราะอยากให้รุ่นน้องมีประสบการณ์อย่างที่ตนเองเคยผ่าน

 

11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : ญาปู่หรือแกนนำคือจุดแข็งของโครงการเพราะมีประสบการณ์และวิธีคิดที่แตกต่าง สามารถเอาปัญหาที่ตนเองเคยประสบมาถ่ายทอดในรูปแบบที่น่าสนใจและดึงให้เด็กเกิดความรู้สึกที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง การออกแบบกิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของเด็ก อีกทั้งยังมีลูกศิษย์ลูกหามาก ทำให้มูลนิธิฯ ได้รับการสนับสุน และมีเครือข่ายที่จะทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนอุปสรรคสำคัญก็คือตัวญาปู่เองซึ่งเป็นแกนนำ เนื่องจากไม่มีใครสามารถทำได้แบบนี้หรือดึงดูดเด็กได้แบบนี้ เพราะต้องมีประสบการณ์และเทคนิคการดึงความสนใจจากเด็กแบบเฉพาะตัว โดยเฉพาะการพูดเรื่องการกลับตัวของเด็กที่มีปัญหา ดังนั้นหากไม่มีญาปู่ ก็อาจจะไม่สามารถทำกิจกรรมต่อได้

 

12.  ที่ติดต่อ   :       มูลนิธิมหาญาณโพธิสัจ อาคารมหาญาณ 2546 ถ.จุฑางกูร อ.เมือง จ.มหาสารคาม

โทรศัพท์ 043-711-369

ติดต่อญาปู่ ผ่าน ร.อ.สมทรง ระวิโรจน์ 07-228-3682 , 043-712-783

ติดต่อญาปู่ทาง e-mail : [email protected]

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 71619เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท