โครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ


เป้าหมาย: ติดตามการทำงานของเครือข่ายเดิม และการขยายเครือข่ายใหม่คลองคลุมพื้นที่ 14 เขต ทั้งในพื้นที่เขตชั้นในและชั้นนอก ประกอบด้วย ลาดกระบัง ลาดพร้าว สวนหลวง ป้อมปราบฯ บึงกุ่ม บางเขน ราชเทวี พระนคร คันนายาว วังทองหลาง ปทุมวัน สะพานสูง วัฒนา และห้วยขวาง เพื่อให้ทั้งเครือข่ายเดิมและเครือข่ายที่จะเกิดขึ้นใหม่ที่มีสมาชิกอยู่ในชุมชนสายคลองแสนแสบ ช่วยกันรับผิดชอบคืนความสะอาดให้กับคลองแสนแสบ ด้วยการช่วยกันหมักน้ำสกัดชีวภาพ และเทลงในสายคลองอันเป็นพื้นที่รับผิดชอบ
โครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

 

1.คำสำคัญ: การขยายเครือข่าย การสร้างผู้นำ การมีส่วนร่วม

 

2.จังหวัด: กรุงเทพมหานคร

 

3.กลุ่มเป้าหมาย: ชุมชนที่อาศัยอยู่ตามสายคลองแสนแสบ ทั้งเขตพื้นที่ชั้นนอกและพื้นที่ชั้นใน โดยมีสายคลองทั้งที่เชื่อมต่อและเชื่อมตรงประมาณ 236 สายคลอง

 

4.เป้าหมาย: ติดตามการทำงานของเครือข่ายเดิม และการขยายเครือข่ายใหม่คลองคลุมพื้นที่ 14 เขต ทั้งในพื้นที่เขตชั้นในและชั้นนอก ประกอบด้วย ลาดกระบัง ลาดพร้าว สวนหลวง ป้อมปราบฯ บึงกุ่ม บางเขน ราชเทวี พระนคร คันนายาว วังทองหลาง ปทุมวัน สะพานสูง วัฒนา และห้วยขวาง เพื่อให้ทั้งเครือข่ายเดิมและเครือข่ายที่จะเกิดขึ้นใหม่ที่มีสมาชิกอยู่ในชุมชนสายคลองแสนแสบ ช่วยกันรับผิดชอบคืนความสะอาดให้กับคลองแสนแสบ ด้วยการช่วยกันหมักน้ำสกัดชีวภาพ และเทลงในสายคลองอันเป็นพื้นที่รับผิดชอบ

 

5.สาระสำคัญของโครงการ:สภาพปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองแสนแสบดำรงมาอย่างช้านาน ทุกวันนี้คลองแสนแสบถูกรังเกียจเพราะความเน่าเสียของน้ำในคลอง ดร.แตงอ่อน มั่นใจตรง ผู้อำนวยการโครงการภาคพิเศษ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบันฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพัฒนาสังคม (ปี พ.ศ.2546 ) ปรารถนาที่จะเห็นคลองแสนแสบกลับคืนสู่ความใสสะอาดเหมือนในอดีต เนื่องจากเห็นว่า ถ้าไม่เริ่มทำเสียแต่วันนี้ก็ไม่คิดว่าจะมีใครมาเริ่มทำ เพราะทุกวันนี้คนส่วนใหญ่มักคิดกันว่า เป็นไปไม่ได้ที่คลองแสนแสบซึ่งมีสภาพทั้งดำและเน่าเหม็นจะใสสะอาดเหมือนเดิมขึ้นมาได้ ประกอบกับม.นิด้าตั้งอยู่ติดกับคลองแสนแสบ ทุกวันพอชะโงกหน้าออกไปก็จะเห็นแต่น้ำคลองสีดำๆ โชยกลิ่นเน่าเสียของน้ำขึ้นมาให้คนที่อาศัยอยู่ติดคลองได้สูดดม

            ขณะเดียวกัน ดร.แตงอ่อนซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการสอนวิชาการพัฒนา จึงให้ความสนใจงานทางด้านการพัฒนาเป็นพิเศษ โดยมองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่าย รวมทั้งจากประสบการณ์การสอนที่ต้องลงพื้นที่ทำให้รับรู้ว่าปัจจัยที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนและการพัฒนาคนได้ ต้องมีผู้นำ ดังนั้นต้องสร้างผู้นำเพื่อมาดูแลคลองแสนแสบ

 

6.เครื่องมือที่ใช้:จัดกิจกรรมหลักๆ คือ 1.1จัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการหมักน้ำสกัดชีวภาพเพื่อเทลงในคลองแสนแสบ 1.2 การรณรงค์ร่วมกันรักษา/ฟื้นฟูคลองอย่างต่อเนื่อง ในวันหรือโอกาสต่างๆ เช่น งานมหกรรมรวมใจเพื่อสายน้ำ วันสิ่งแวดล้อมโลก และวันเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม เพื่อจัดกิจกรรมเทน้ำสกัดชีวภาพลงคลองแสนแสบ หรือการเก็บขยะในคลอง 1.3 ติดตามการทำงานของเครือข่าย และการขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น

            ทุกกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อปรับทัศนคติและกระตุ้นเตือนสมาชิกของชุมชนที่อาศัยอยู่ตามสายคลอง มีจิตสำนึกในการดูแลความสะอาดของคลองแสนแสบ โดยการอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นความรู้ที่จะไปดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และการสร้างผู้นำที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การทำงานเกิดความต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะการแก้ไขปัญหาความสะอาดในคลองแสนแสบเป็นเรื่องที่ต้องที่ใช้เวลายาวนาน จำเป็นต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

 

7.การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน:เป็นโครงการฯ ที่ออกแบบ บริหารจัดการ และการประสานงานโดย ดร.แตงอ่อน โดยมอบหมายให้นักศึกษาคณะพัฒนาสังคมลงสำรวจพื้นที่คูคลอง ตามชุมชนต่างๆ ในอาศัยอยู่บริเวณสายคลองแสนแสบ เพื่อค้นหาชุมชนที่มีความเข้มแข็ง เมื่อได้ชุมชนที่พร้อมก็จะนำไปสู่กระบวนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อปรับทัศนคติและสร้างเครือข่าย เนื้อหาหลักๆ ของการประชุมเชิงปฏิบัติการคือ การให้ความรู้ในการทำน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกระบวนการในพื้นที่จะดำเนินการโดยแกนนำเครือข่ายและสมาชิกในชุมชน ตั้งแต่ขั้นตอนหมักน้ำชีวภาพ รวมไปจนถึงการกำหนดวันเทน้ำสกัดชีวภาพลงในคลองแสนแสบ  นอกจากนี้แกนนำเครือข่ายที่ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการต้องนำความรู้ที่ได้ ด้วยการทำหน้าที่วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการน้ำหมักชีวภาพแก่เครือข่าย ภาคี และชุมชนที่สนใจซึ่งจะเกิดขึ้นใหม่ด้วย

 

8.ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ:ดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 – ตุลาคม 2548 โดยการดำเนินการกับเครือข่ายเดิม และชุมชนที่อาศัยอยู่ตามสายคลองเพื่อขยายเครือข่ายใหม่ครอบคลุมพื้นที่ 14 เขตการปกครองของกทม.

 

9.การประเมินผลและผลกระทบ: โครงการฯ นี้ไม่มีการประเมินผลตามหลังเสร็จสิ้นโครงการฯ เนื่องจากยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในลักษณะของกิจกรรมแบบเดียวกัน โดยงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นต่อจากงบของสสส. อย่างไรก็ดี ระหว่างที่ดำเนินโครงการฯ ได้เกิดเครือข่ายเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง แต่เจ้าของโครงการฯ ไม่สามารถระบุให้เด่นชัดลงไปได้ว่า เกิดจากงบประมาณของสสส. เนื่องจากเป็นโครงการฯ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นมาก่อน ส่วนงบของสสส.เพียงมาสานต่อให้โครงการฯ เกิดความต่อเนื่อง

 

10.ความยั่งยืน: ปัจจุบันทั้งเครือข่ายเดิม และเครือข่ายที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในโครงการฯ

 

11.จุดแข็งและอุปสรรค: เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ตั้งแต่หน่วยราชการ และสมาชิกชุมชน ประกอบกับโครงการฯ ได้เปรียบตรงที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ เป็นหน่วยงานทางด้านการศึกษา ซึ่งใช้หลักวิชาลงไปนำและขับเคลื่อนโครงการฯ ถือเป็นจุดแข็งที่ได้รับการยอมรับนับถือ จากทุกฝ่าย ขณะเดียวกัน สมาชิกในชุมชนเองเกิดความตระหนักและเกิดสำนึกขึ้นได้เองว่า จะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา รวมทั้งเกิดกำลังใจที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อไป ปัจจุบันกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นภารกิจหลักของชุมชน ส่วนคณะพัฒนาสังคม ดร.แต่งอ่อน และนักศึกษาคณะพัฒนาสังคม เพียงทำหน้าที่ช่วยจัดกระบวนการให้กับชุมชน

 

12.ที่ติดต่อ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า)  

 

หมายเลขบันทึก: 71612เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท