โครงการครัวชุมชน


เป้าหมาย : การพึ่งตนเองได้ของชุมชน (โดยเฉพาะทางด้านอาหารและสุขภาวะ) การตระหนักถึงปัญหาในชุมชนของตน ความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-เห็นคุณค่าของเกษตรอินทรีย์-มีอาหารปลอดภัยไว้รับประทาน และจัดตั้งครัวชุมชนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการจัดการอาหารของชุมชน
โครงการครัวชุมชน
 
1.คำสำคัญ :อาหารปลอดภัย,  เกษตรอินทรีย์, พึ่งตนเอง
 
2.จังหวัด: นครราชสีมา
 
3.กลุ่มเป้าหมาย: ชาวบ้านใน 2 หมู่บ้านของตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ หมู่ 8 บ้านสระตะเฆ่ และหมู่ 15 บ้านสระตะเฆ่หิน
 
4.เป้าหมาย : การพึ่งตนเองได้ของชุมชน (โดยเฉพาะทางด้านอาหารและสุขภาวะ) การตระหนักถึงปัญหาในชุมชนของตน ความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-เห็นคุณค่าของเกษตรอินทรีย์-มีอาหารปลอดภัยไว้รับประทาน และจัดตั้งครัวชุมชนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการจัดการอาหารของชุมชน 
 
5.สาระสำคัญของโครงการ : สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่หมู่ 8 บ้านสระตะเฆ่ และหมู่ 15 บ้านสระตะเฆ่หิน ตำบลบัลลังก์ เป็นที่ราบและที่ราบสูง มีรูปร่างกว้างเป็นแนวยาวจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ภูมิประเทศโดยรวมเหมาะแก่การทำไร่ทำนา และอาชีพหลักของชาวบ้านก็คือ การทำนา แต่ในทางปฏิบัติกลับได้ผลผลิตไม่มากนักจนต้องหันมาให้ความสำคัญกับอาชีพเสริมอันได้แก่ ค้าขายและรับจ้างมากขึ้น ... ที่ผลผลิตไม่ดีเป็นเพราะขาดแคลนน้ำสะอาดเนื่องจากบริเวณใกล้เคียงเป็นแหล่งทำนาเกลือ และโดยรอบบริเวณยังใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อการทำเกษตรและกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้อาหารและน้ำที่มีน้อยอยู่แล้วยิ่งไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค ชาวบ้านมีปัญหาในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพ และต้องพึ่งพาอาหารจากภายนอก ความเข้มแข็งในการพึ่งตนเองด้านอาหารและสุขภาวะยังไม่ค่อยมี โครงการต่างๆ ที่เข้ามาในพื้นที่ก็มักจะทำให้ชาวบ้านเป็นหนี้มากกว่าจะส่งเสริมให้พึ่งตนเองได้
 
6.เครื่องมือที่ใช้: การจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาปัจจัยแวดล้อม พัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชน
·       การฝึกอบรมหลักสูตร สัจธรรมชีวิต  4 คืน 5 วัน ที่สีมาอโศก จ.นครราชสีมา
·       อบรมสมาชิกในชุมชน เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
·       การทำแปลงรวมเกษตรอินทรีย์ 2ไร่ ในพื้นที่สาธารณะ
·       การปลูกพืชปลอดภัยจากสารเคมี ,การเลี้ยงสัตว์ 
·       การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในการจัดการอาหารของชุมชน  
·       กองทุนครัวชุมชน
·       อาหารเพื่อหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน   ,อาหารกับโรงเรียน
·       สร้างแกนนำผู้มีจิตสาธารณะและการยอมรับ
 
7.การจัดระบบ โครงสร้างกระบวนการทำงาน : แกนนำคนสำคัญคือคุณดามธรรม จินากูล ชักชวนผู้ใหญ่บ้าน ประจวบ มีสุวรรณ เริ่มดำเนินโครงการ มุ่งแก้ปัญหาในท้องที่อย่างแท้จริง โดยอาศัยการพูดคุย ปรับวิธีคิด ที่เริ่มต้นจากการให้ความสำคัญกับการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  คิดร่วมกันว่าจะจัดการกับอาหารในชุมชนอย่างไร จึงจะได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย  และเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเกิดครัวชุมชน ก็จะมีเรื่องที่ต้องรู้หลักอยู่ 3 เรื่อง คือ การเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมี  และการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนของชุมชน
 
8.ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :1 ปี 2548
 
9.การประเมินผลและผลกระทบ
·       แกนนำครัวชุมชนจำนวนหนึ่งยังคงทำอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนต่อไป
·       แม่ครัวเกิดการพัฒนาในเรื่องการวางแผนการทำอาหาร  เรียนรู้ที่จะพัฒนาสูตรอาหาร และยอมรับฟังความเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้บริโภค 
·    แม่ครัวแต่ละคนจะเสียสละนำน้ำฝนจากบ้านมาปรุงอาหาร เพราะถ้าใช้น้ำประปาหมู่บ้านอาหารอาจบูดได้  (น้ำประปานำมาจากการสูบน้ำที่ขังตามแหล่งต่างๆมาผ่านกระบวนการประปาหมู่บ้าน ซึ่งก็ไม่สะอาดพอ ชาวบ้านอาบน้ำแล้วยังรู้สึกคันตามตัว  และน้ำประปามีรสเค็ม)
·    เกิดการ กำหนดกติการ่วมกันในชุมชน เรื่องงานเลี้ยงลดเหล้า จากเดิมการจัดงานแต่ละงาน จะมีค่าใช้จ่ายเรื่องเหล้า 20,000 บาท ขึ้นไป เพราะเน้นความมีหน้ามีตาของเจ้าภาพ ปัจจุบันลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเหล้าลง เหลือไม่เกิน 10,000 บาทต่องาน
·       วัดสระตะเฆ่ประกาศเป็นวัดปลอดสุรา
 
10.ความยั่งยืน : ในปีแรกนี้ การดำเนินโครงการฯ ยังมีลักษณะเป็นเพียงการจุดประกายให้ชุมชนเรียนรู้ความสำเร็จและความล้มเหลวของการใช้ชีวิตในแบบที่ผ่านมา แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีสิ่งที่เกิดขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมคือ ครัวชุมชน โดยแม่ครัวจิตอาสา ที่อยากให้ชุมชนได้กินอาหารปลอดภัยและประหยัด
 
11.จุดแข็ง  :การมีแกนนำที่เข้มแข็ง กลุ่มแม่ครัวมีความมุ่งมั่น ,สร้างความมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ,ทำให้ครัวชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องการจัดการอาหารร่วมกับโรงเรียน บูรณาการโดยให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องครัวชุมชน,ประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก เน้นว่าอาหารปลอดภัย ราคาประหยัด,การเชื่อมประสานความร่วมมือกับเครือข่าย / หน่วยงาน / ผู้นำพื้นที่ และนอกพื้นที่ ,การติดตามประเมินผล มีการติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียนกันเองในเวทีของชุมชน
อุปสรรค: พื้นที่ทำการเกษตรพืชเชิงเดียว เช่น พริก ข้าวโพด ซึ่งไม่เพียงพอต่อการพึ่งตนเองของชุมชน เพราะพืชอื่นๆ หายไปจากชุมชนเกือบหมด จึงต้องเตรียมการปลูกพืชใหม่,ชุมชนยังต้องพึ่งพิงวัตถุดิบจากภายนอก ,น้ำในชุมชนไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ ,ครัวชุมชนยังไม่เกิดรายได้มากพอที่จะจูงใจให้สมาชิกดำเนินการต่อ
 
12.ที่ติดต่อ
อาศรมความรู้นครราชสีมา
335/131 หมู่9 ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000  โทรศัพท์ (044)465-289 โทรสาร (044)465-289 
1. นายดามธรรม จินากูล ผู้รับผิดชอบโครงการ / หัวหน้าโครงการครัวชุมชน  06-9389075 
2. ผู้ใหญ่ประจวบ มีสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8  แกนนำโครงการ 07-9663800                        
3. นางทวย จุใจล้ำ แกนนำแม่ครัว เป็นอสม. และอีกหลายตำแหน่งในชุมชน 07-2460879  
4. นางละม่อม ใจสูงเนิน แกนนำแม่ครัว เป็นอสม. และอีกหลายตำแหน่งในชุมชน 07-2475657
                               

 

หมายเลขบันทึก: 71609เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท