โครงการ สร้างเสริมสุขภาพ “การเรียนรู้สู่สุขภาวะ”


เป้าหมาย : เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะนิสัยด้านการดูแลรักษาสุขภาพ พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลใกล้ตัวของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง

โครงการ สร้างเสริมสุขภาพ การเรียนรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้า

โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบ Walk Rallyสาระวิชาสุขศึกษา และพลศึกษา

1.      คำสำคัญ : การเรียนรู้, Walk Rally,สุขภาวะ

2.      จังหวัด : สุโขทัย

3.      กลุ่มเป้าหมาย : เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้า อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย

4.      เป้าหมาย : เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะนิสัยด้านการดูแลรักษาสุขภาพ พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลใกล้ตัวของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง

5.      สาระสำคัญของโครงการ : เป็นโครงการที่มีการพัฒนาสืบเนื่องมาจากโรงเรียนบ้านตาลพร้ารับแนวนโยบายทำโรงเรียนที่เชื่อมโยงระหว่างหลักการโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพกับมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2544 มาปฏิบัติโดดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน ตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเน้นให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่สามารถส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่เด็ก ครอบครัว ชุมชน และบุคลากรของโรงเรียน แต่การดำเนินการดังกล่าวยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจานักเรียนยังขาดความรู้ทักษะเจตคติในการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาวะที่ดี

                        จากการประชุมหารือกันของคณะครู 7 คนซึ่งมีอาจารย์สาทิต มากมี ผู้อำนวยการ         โรงเรียนเป็นคนต้นคิด และอาจารย์พัชนี รสลือชา อาจารย์ฝ่ายวิชาการ เป็นคนรับลูก ให้ ทดลองจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ Walk Rally ขึ้นโดยได้แนวคิด  มา        จากการเดินทางไกลของลูกเสือ ทั้งนี้เพิ่อต้องการตอบการสนองตอบต่อการเรียนการ     สอนแบบบูรณาการ  โดยคิดถึงกระบวนการเรียนรู้  5 ลักษณะ คือ การเรียนรู้อย่างมี            ความสุข ,การเรียนรู้แบบองค์รวม, การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง ,การเรียนรู้           ร่วมกับบุคคลอื่น ,การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง

            เมื่อรูปแบบ Walk Rally ที่ได้ทดลองกับนักเรียนเริ่มเห็นผลและได้พัฒนาสู่สาระ           วิชาต่างๆมากขึ้นทั้งสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ศิลปะ  หลังจากนั้นจึงเสนอขอทุน   สนับสนุนจากสสส. (ปี2547)หวังเป็นเชื้อเพลิงในการจุดไฟด้านสุขภาพให้ลุกโชติช่วง         โดย       ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Walk Rally  เป็นสื่อ

6.      เครื่องมือที่ใช้ : การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้รูปแบบ Walk Rally ซึ่งกิจกรรมของโครงการที่เกิดขึ้นมีหลักใหญ่อยู่ที่ผลของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นโดยที่เด็กได้รับความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติแบบไม่รู้สึกว่าเป็นการบังคับ เป็นการเรียนแบบ play + learn โดย ผ่านการเรียนรู้บูรณาการแบบ Walk Rally โดยใช้การเข้าฐานของลูกเสือมาประยุกต์ใช้ โดยมีหลักอยู่ว่า ต้องมีภาคความรู้ และภาคของการการปฏิบัติ  ภาคความรู้ได้จากการทำ walk rally  ส่วนภาคปฏิบัติเกิดจากการออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรืประเด็นที่ผู้สอนกำหนดไว้ เช่น ไข้เลือดออก โรคเอดส์ อุบัติเหตุ.ออกกำลังกาย,สุขอนามัยในช่องปาก เป็นต้น

7.      การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน : กิจกรรมหลักจะดำเนินการโดยคณะครูภายในโรงเรียน ซึ่งจะทำอย่างต่อเนื่อง 1-2 ครั้งต่อเดือน ซึ่งการทำ walk really นั้นเป็นเพียงกิจกรรมเสริม การเรียนการสอนซึ่งยังคงมีอยู่ ตามปกติ ในการทำแต่ละครั้งคณะครูต้องวางแผน และกำหนดขอบเขตเนื้อหาร่วมกันไปในทิศทางเดียว แล้วประสานไปยังชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนภาคปฏิบัติที่ต้องมีการออกไปเรียนรู้นอกสถานที่

8.      ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ : 1 ตุลาคม 2547 ถึง 31 มีนาคม 2548

9.      การประเมินผลและผลกระทบ : การประเมินผลของโครงการนั้นสามาวัดได้จาก ใบงาน หรือใบคะแนนของนักเรียน ซึ่งมีการวางแผนการวัดผลไว้ก่อนแล้ว พบว่าโดยสรุปนักเรียนมีผลคะแนนที่ดีขึ้น หลังจากผ่านขบวนการทำ walk really ซึ่งเป็นการประเมินผลที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนระดับหนึ่ง ส่วนด้านที่เกี่ยวกับการพัฒนาการด้านอารมณ์ หรือการเรียนรู้ด้านการนำไปใช้ ก็มีผลสะท้อนออกมาในแนวทางที่ดีจากผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านอื่นเช่น เจ้าหน้าที่พยาบาลที่นักเรียนไปดูงาน

10.  ความยั่งยืน : หลังจากโครงการจบแล้วพบว่า ในปัจจุบันโรงเรียนยังคงใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ walk really อยู่ ถึงแม้จะไม่ได้รับทุนจาก สสส. ก็ตาม และปัจจุบันก็กลายเป็นโรงเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนรู้แบบนี้ไปแล้ว

11.  จุดแข็ง และอุปสรรค : พบว่าโครงการนี้มีจุดเด่น 3 หัวข้อคือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์/สร้างนวัตกรรม คือการคิดรูปแบบของ walk rally  และแบบใบงานในแต่ละฐานซึ่งต้องใช้หลายความรู้มาประมวล การสร้างองค์ความรู้ คือรูปแบบ ซึ่งสรุปออกมาเป็นแผน ซึ่งหลายโรงเรียนนำไปปฏิบัติตามและ การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และสำหรับข้อจำกัดคงเป็นเรื่องของงบประมาณที่ทำโครงการเพราะต้องใช้จ่ายเรื่องการเดินทาง และการทำสื่อการสอนชนิดต่างๆ

12.  ที่ติดต่อ : โรงเรียนบ้านตาลพร้า อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย

หมายเลขบันทึก: 71604เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท